เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 พระสูตร เรื่องมนุษย์ในโลกธาตุ มี 3 พระสูตร 1057
 

1.ฐานสูตร (มนุษย์ในโลกธาตุนี้มี 2 กลุ่ม)
ได้แก่
๑.ชาวชมภูทวีป
มีคุณสมบัติที่แตกต่างกับกลุ่มอื่น 3 อย่าง
     1.เป็นผู้กล้า
     2.เป็นผู้มีสติ
     3.เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม

๒.ชาวอุตรกุรุทวีป
มีคุณสมบัติที่แตกต่างกับกลุ่มอื่น 3 อย่าง
    1.ไม่มีทุกข์
    2. ไม่มีความหวงแหน
    3. มีอายุแน่นอน (เช่นเดียวกับเทวดา)

(ครั้งหนึ่งชาวเวรัญชาอดอยาก พระโมคคัล- ขอ พ.พาสงฆ์ไปบิณฑบาตที่อุตรกุรุ แต่ทรงห้าม)
๓.เทวดา (ชั้นดาวดึงส์)
   1.อายุทิพย์
   2.วรรณะทิพย์
   3.สุขทิพย์

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

2.จูฬนีสูตร (มนุษย์ในโลกธาตุนี้มี 4 กลุ่ม)
พระสูตรนี้กล่าวถึง จักรวาล

โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น
   มี พระจันทร์พันดวง
   มี อาทิตย์พันดวง
   มี ขุนเขาสิเนรุพันหนึ่ง

 * มี ชมพูทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
 * มี อปรโคยานทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
 * มี อุตตรกุรุทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
 * มี ปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)

   ......
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

3. โกศลสูตรที่๑ (มนุษย์ในโลกธาตุนี้มี 4 กลุ่ม)
โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น
   มี พระจันทร์พันดวง
   มี อาทิตย์พันดวง
   มี ขุนเขาสิเนรุพันหนึ่ง

 * มี ชมพูทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
 * มี อปรโคยานทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
 * มี อุตตรกุรุทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
 * มี ปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)

  
 ......

สรุป มนุษย์ในโลกธาตุ มี 4 กลุ่ม
    1. ชมพูทวีป
(เป็นผู้กล้า เป้นผู้มีสติ ประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม)
    2. อปรโคยานทวีป
(ไม่มีรายละเอียด
    3. อุตตรกุรุทวีป
(ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวงแหน มีอายุแน่นอน)
    4. ปุพพวิเทหทวีป
(ไม่มีรายละเอียด


  เรื่องมนุษย์ทั้ง ๔
  ฐานสูตร
(มนุษย์ในโลกธาตุนี้
มี 2 กลุ่ม)
จูฬนีสูตร
(มนุษย์ในโลกธาตุนี้
มี 4 กลุ่ม)
โกศลสูตรที่๑
(มนุษย์ในโลกธาตุนี้
มี 4 กลุ่ม)
1 *ชาวชมภูทวีป ชาวชมภูทวีป ชาวชมภูทวีป
2 **ชาวอุตรกุรุทวีป ชาวอุตรกุรุทวีป ชาวอุตรกุรุทวีป
3 - อปรโคยานทวีป
(ไม่มีรายละเอียด)
อปรโคยานทวีป
(ไม่มีรายละเอียด)
4 - ปุพพวิเทหทวีป
(ไม่มีรายละเอียด)
ปุพพวิเทหทวีป
(ไม่มีรายละเอียด)
  * เป็นผู้กล้า เป็นผู้มีสติ เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม
** ประเสริฐกว่า มนุษย์ชุมภูทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไม่มีทุกข์
ไม่มีความ หวงแหน มีอายุแน่นอน
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๓๑๙

1) ฐานสูตร

             [๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีป ประเสริฐกว่าเทวดา ชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
      ไม่มีทุกข์ ๑
      ไม่มีความหวงแหน ๑
      มีอายุแน่นอน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปประเสริฐกว่าพวกเทวดาชั้นดาว ดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุ ทวีป และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉนคือ
       อายุทิพย์ ๑
       วรรณะทิพย์ ๑
       สุขทิพย์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุ ทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาว อุตรกุรุ ทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉนคือ
     เป็นผู้กล้า ๑
      เป็นผู้มีสติ ๑
      เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม ๑


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ชาวอุตร กุรุทวีป และพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร หน้าที่ ๒๑๕

2) จูฬนีสูตร

             [๕๒๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับฟังมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

ดูกรอานนท์ สาวกของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีนามว่า อภิภู* ยืนอยู่ใน พรหมโลก ให้พันแห่งโลกธาตุ รู้แจ้งได้ด้วยเสียง พระเจ้าข้า ส่วนพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าเล่า ทรงสามารถที่จะทำโลกธาตุเท่าไร ให้รู้แจ้งได้ด้วย พระสุรเสียง พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ นั้นสาวก ส่วนพระตถาคต นับไม่ถ้วน ฯ
* (พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือย้อนไป 31 กัป ยุคมนุษย์อายุ ๗๐,๐๐๐ ปี มีพระอภิภู เป็นอัครสาวกเบื้องขวา มีพระสัมภวะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ดูตาราง )

ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

ดูกรอานนท์ สาวกของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีนามว่า อภิภู ยืนอยู่ในพรหมโลก ทำให้พ้นแห่งโลกธาตุรู้แจ้งได้ด้วยเสียง พระเจ้าข้า ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าเล่า ทรงสามารถที่จะทำโลกธาตุเท่าไรให้รู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง ฯ

พ. ดูกรอานนท์ นั้นเป็นสาวก ส่วนพระตถาคตนับไม่ถ้วน

ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคแม้เป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ สดับรับฟังมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

ดูกรอานนท์ สาวกของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีนามว่า อภิภู สถิตอยู่ใน พรหมโลก ทำให้พันแห่งโลกธาตุ รู้แจ้งได้ด้วยเสียง พระเจ้าข้า

ส่วนพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเล่า ทรงสามารถที่จะทำโลกธาตุ เท่าไรให้รู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง ฯ

พ.  ดูกรอานนท์ เธอได้ฟังเรื่องพันโลกธาตุเพียงเล็กน้อยฯ (ตถาคตรู้ มากกว่านั้น)

อา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลเวลาแห่งเทศนาที่พระองค์จะ พึง ตรัส ภิกษุทั้งหลายได้สดับ ธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พ.  ดูกรอานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรอานนท์ จักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับโอกาสที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์

โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น
มี พระจันทร์พันดวง
มี อาทิตย์พันดวง
มี ขุนเขาสิเนรุพันหนึ่ง
มี ชมพูทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
มี อปรโคยานทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
มี อุตตรกุรุทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)
มี ปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง (แดนมนุษย์)

มี มหาสมุทรสี่พัน
มี ท้าวมหาราชสี่พัน
มี เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง
มี เทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง
มี เทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง
มี เทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง
มี เทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง
มี เทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสตีพันหนึ่ง
มี พรหมโลกพันหนึ่ง

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุ อย่างเล็ก มีพันจักรวาล
โลกคูณโดยส่วนพันแห่ง โลกธาต อย่างกลาง มีล้านจักรวาลนั้น
นี้เรียกว่า โลกธาตุ อย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาล

ดูกรอานนท์ตถาคตมุ่งหมายอยู่ พึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณ แสนโกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งได้ด้วยเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่มุ่งหมาย ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคพึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณ แสนโกฏิ จักรวาล ให้รู้แจ้งด้วยพระสุรเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่พระองค์ ทรงมุ่งหมายอย่างไรฯ

พ.  ดูกรอานนท์ พระตถาคตในโลกนี้ พึงแผ่รัศมีไปทั่วโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณ แสนโกฏิ จักรวาลเมื่อใด หมู่สัตว์พึงจำแสงสว่างนั้นได้ เมื่อนั้นพระตถาคตพึงเปล่ง พระสุรเสียง ให้สัตว์ เหล่านั้นได้ยิน พระตถาคตพึงทำให้โลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณ แสนโกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งได้ ด้วยพระสุรเสียง หรือพึงทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่พระองค์ ทรงมุ่งหมาย ด้วยอาการ เช่นนี้แล ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่าเป็นลาภ ของ ข้าพระองค์ หนอ ข้าพระองค์ได้ดีแล้วหนอที่ข้าพระองค์มี พระศาสดา ผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก อย่างนี้ เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี ได้กลาว กะท่าน พระอานนท์ว่า

ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ท่านจะได้ประโยชน์อะไร ถ้าศาสดาของท่านมีฤทธิ์ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่าน พระอุทายีว่า

ดูกรอุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะเช่นนี้ พึงทำกาละไป เธอพึงเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่เทวดา ๗ ครั้งพึงเป็นเจ้าจักรพรรดิในชมพูทวีป นี้แหละ ๗ ครั้ง เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น

ดูกรอุทายี ก็แต่ว่าอานนท์จักปรินิพพานในอัตภาพนี้เอง ฯ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้าที่ ๕๓

3) โกศลสูตรที่ ๑

              [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาสีและโกศลชนบทมีประมาณเท่าใด แว่นแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศล ประชาชนกล่าวว่าเป็นผู้เลิศในกาสีและโกศลชนบท และแว่นแคว้นประมาณนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่โดยแท้ความแปรปรวน มีอยู่แม้แก่พระเจ้า ปเสนทิโกศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน ความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น เมื่อหน่ายในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น ย่อมคลายกำหนัด ในความเลิศแห่งสมบัติ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งเลวเล่า ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนส่องทิศให้ ไพโรจน์อยู่ ในที่มีประมาณเท่าใด โลกธาตุพันหนึ่งมีอยู่ในที่มีประมาณเท่านั้น
ในโลกธาตุพันหนึ่งนั้น
มีดวงจันทร์พันดวง
ดวงอาทิตย์พันดวง
ขุนเขาสิเนรุหนึ่งพัน
ชมพูทวีปพันทวีป
อมรโคยานพันทวีป
อุตตรกุรุพันทวีป
ปุพพวิเทหะพันทวีป

มหาสมุทรสี่พัน
เทวโลกชั้นมหาราชสี่พัน
ชั้นจาตุมหาราชิกาหนึ่งพัน
ชั้นดาวดึงส์หนึ่งพัน
ชั้นยามาหนึ่งพัน
ชั้นดุสิตหนึ่งพัน
ชั้นนิมมานรดีหนึ่งพัน
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีหนึ่งพัน
ชั้นพรหมโลกหนึ่งพัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พันโลกธาตุมีประมาณเท่าใด ท้าวมหาพรหม โลกกล่าวว่าเป็นเลิศ ในพันโลกธาตุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายความเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ความแปรปรวนก็มีอยู่ แม้แก่ท้าวมหาพรหม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย แม้ในพันโลกธาตุนั้น เมื่อหน่ายในพันโลกธาตุนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่โลกนี้พินาศมีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในพรหมโลก ชั้นอาภัสสรโดยมาก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้สำเร็จ แล้วด้วยใจ มีปีติ เป็นภักษา มีแสงสว่างในตัวเอง เที่ยวไปได้ในอากาศ มีปรกติดำรง อยู่ได้ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่ใน พรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้นตลอดกาลยืนยาวนาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกพินาศอยู่อาภัสสรเทพทั้งหลาย โลกกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ความแปรปรวน ก็มีแม้แก่อาภัสสรเทพ ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน พรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น เมื่อหน่ายในพรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น ย่อมคลายกำหนัด ในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ

(เมื่อโลกพินาศ สัตว์ทั้งหลายไปเกิดในชั้น อภัสรพรหม มีแสงในตัว มีปิติเป็นอาหาร เที่ยวไปในอากาศ)



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์