(ลาภสักการสังยุตต์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เรื่อง หน้าที่ ๒๔๘-๒๕๕)
พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. ๑๖/๒๗๘-๙/๕๗๓-๕๗๖,๕๗๙, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตะวัน ใกล้นครสาวัตถี ชุด 5 เล่มจากพระโอษฐ์)
โลกธรรม ๘ (โดยย่อ 12 นัยยะ)
ฤทธิเดชของลาภสักการะ.. อันตรายทารุณเผ็ดแสบ
1. ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณ แสบเผ็ด หยาบ
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณ แสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า
2. ลาภสักการะ และเสียงเยินยอนี้ก็ฉันนั้นมันย่อมจะบาดผิวหนัง
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะ และเสียงเยินยอนี้ก็ฉันนั้นมันย่อมจะบาดผิวหนัง
ครั้นบาดผิวหนังแล้ว ย่อมจะบาดหนัง
ครั้นบาดหนังแล้ว ย่อมจะบาดเนื้อ
ครั้นบาดเนื้อแล้ว ย่อมจะบาดเอ็น
ครั้นบาดเอ็นแล้ว ย่อมจะบาดกระดูก
ครั้นบาดกระดูกแล้ว ย่อมจะเข้าจดอยู่ที่เยื่อกระดูก
3. อุปมาหมือนสุนัขขี้เรื้อน
ภิกษุ ท. ! พวกเธอเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวที่อาศัยอยู่เมื่อตอนยํ่ารุ่ง แห่ง ราตรีนี้ไหม ?
“เห็น พระเจ้าข้า”
ภิกษุ ท. ! สุนัขจิ้งจอกตัวนั้น เป็นโรคหูชัน (โรคเรื้อนสุนัข) วิ่งไป บนแผ่นดินก็ไม่ สบาย ไปอยู่ที่โคนไม้ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้งก็ไม่สบาย. มันไปในที่ใด มันยืนใน ที่ใด มันนั่งในที่ใด มันนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับ ทุกข์ทรมาน ในที่นั้น ๆ
4. อุปมาเหมือนเต่าติดชนัก
อุปมา เต่าตัวหนึ่งไปหากินในถิ่น ทั้งๆที่ถูกเตือนจากเต่าด้วยกัน ถูกชาวประมงแทง ด้วยชนัก แถมมีเชือกสายชนัก ติดหลังมาด้วย จนถูกเพื่อนเต่าสมนํ้าหน้า
คำว่า “ชาวประมง” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “มารผู้มีบาป”
คำว่า “ชนัก” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “ลาภสักการะและ เสียงเยินยอ”
คำว่า “เชือกด้าย” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “นันทิราคะ (ความกำหนัดยินดีเพราะเพลิน)”
5. อุปมาเหมือนปลากลืนเบ็ด
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนพรานเบ็ด ซัดเบ็ดที่มีเหยื่อลงไปในห้วงนํ้าลึก. ปลาที่เห็นแต่จะกินเหยื่อตัวหนึ่ง ได้กลืนเบ็ดนั้นเข้าไป. ปลาที่กลืนเบ็ด ตัวนั้น ย่อมได้รับทุกข์ถึงความพินาศ แล้วแต่พรานเบ็ดผู้นั้น ใคร่จะทำ ประการใด.
คำว่า “พรานเบ็ด” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “มารผู้มีบาป”
คำว่า “เบ็ด” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “ลาภสักการะและเสียง เยินยอ”.
6. อุปมาเหมือนผู้กินคูถ
เปรียบเหมือนตัว กังสฬกะ(สัตว์กินคูถชนิดหนึ่ง) ซึ่งกินคูถเป็นอาหาร อิ่มแล้ว ด้วยคูถ ท้องป่องด้วยคูถ อนึ่ง กองคูถใหญ่ก็มีอยู่ตรงหน้าของมัน เพราะเหตุนั้นมันจึงนึกดูหมิ่น กังสฬกะ ตัวอื่นว่า “เราผู้มีคูถเป็นภักษา อิ่มแล้ว ด้วยคูถ ท้องป่องด้วยคูถ. อนึ่ง กองคูถใหญ่ตรงหน้าของเราก็ยังมี. กังสฬกะตัวอื่น มีบุญน้อย มีเกียรติน้อย ไม่รวยลาภด้วยคูถ” ดังนี้.
7. อุปมาเหมือนผู้ติดเซิงหนาม
ภิกษุ ท. ! แกะชนิดมีขนยาว เข้าไปสู่เซิงหนาม มันข้องอยู่ในที่นั้น ๆ ติดอยู่ในที่นั้น ๆ พัวพัน อยู่ในที่นั้น ๆ ได้รับทุกข์พินาศอยู่ในที่นั้น ๆ
8. อุปมาเหมือนถูกสายฟ้าฟาด
ภิกษุ ท. ! จักรแห่งอสนีบาต(สายฟ้า)อันลุกโพลง ตกลงถูกกระหม่อมของใครกันนะ?
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ จะตามติดภิกษุผู้ยังต้อง ศึกษา ยังไม่ลุถึงขั้นสุดแห่งสิ่งที่ตนจำนงหวัง.
ภิกษุ ท. ! คำว่า “จักรแห่งอสนีบาตอันลุกโพลง” เป็นคำชื่อ แทนคำว่า “ลาภสักการะและเสียงเยินยอ”
9.เหมือนถูกพายุร้ายพัดไปในอากาศ
ภิกษุ ท. ! ลมชื่อว่า เวรัมภา (พายุร้าย)พัดอยู่แต่ในอากาศเบื้องบน. นกตัว ใดบินเหินลมขึ้นไปถึงที่นั้น ลมเวรัมภา ก็ซัดเอานกตัวนั้นให้ลอยปลิวไป. เมื่อนกถูก ลมเวรัมภา ชัดเอาแล้ว เท้าของมันขาดไปทางหนึ่ง ปีกของมันขาดไป ทางหนึ่ง ศีรษะของมันขาดไปทางหนึ่ง ตัวของมันขาดไปทางหนึ่ง.
10. เหมือนลูกสุนัขดุถูกขยี้ด้วยดีสัตว์(ดุกว่าเดิม)
ภิกษุ ท. ! ใครขยี้ดีสัตว์เข้าที่จมูกของลูกสุนัขตัวดุร้าย ลูกสุนัข ตัวนั้น ก็จะกลับดุยิ่งกว่าเดิม ด้วยการกระทำอย่างนี้. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาที่ พระเจ้าอชาตสัตตุกุมาร ยังไปบำรุง พระเทวทัต ด้วยรถ ๕๐๐ คัน ทั้งเช้าทั้งเย็น และอาหารที่นำไปมีจำนวนถึง ๕๐๐ สำรับ อยู่เพียงใด ตลอด เวลาเพียงนั้น พระเทวทัต หวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม ทั้งหลาย อย่างเดียว หวังความเจริญไม่ได้ ฉันนั้น.
11.ความฉิบหายของผู้หลงสักการะ จิตย่อมติดแน่นในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! พระเทวทัต ถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่น อยู่ในสิ่งนั้นๆ
- จึงทำลายสงฆ์
- รากเหง้าแห่งธรรมอันเป็นกุศลของเธอ จึงถึงความขาดสูญ
- ธรรมอันเป็นตัวกุศลของเธอ จึงถึงความขาดสูญ
- ธรรมอันขาวสะอาดของเธอ จึงถึงความขาดสูญ
12.เหมือนต้นไม้ออกผลเพื่อฆ่าตนเอง
อุปมาเหมือนต้นกล้วย ไม้อ้อ และนางม้าอัสดี ที่ออกผล ออกลูก เพื่อฆ่าตนเอง)
ภิกษุ ท. ! กล้วย เมื่อจะออกผล ก็ออกผลเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความฉิบหาย ของมันเอง
ภิกษุ ท. ! ไม้อ้อ เมื่อจะออกผล ก็ออกผลเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อ ความฉิบหายของมันเอง
ภิกษุ ท. ! นางม้าอัสดร ย่อมตั้งครรภ์เพื่อความตายของตนเอง เพื่อความฉิบหายของ
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียง เยินยอ เกิดขึ้นแล้วแก่ พระเทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความฉิบหายของตนเอง ข้อนี้ก็ฉันนั้น. ธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะ และเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภ สักการะ และเสียง เยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”
|