เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการ ศึกษาโดยลำดับ (12 ขั้นตอน) 1032
 
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้
1. เมื่อศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้
2. เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้
3. เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง
4. เมื่อเงี่ยโสตลง แล้วย่อมฟังธรรม
5. ครั้นฟังธรรม ย่อมทรงธรรมไว้ (ทรงจำ)
6. ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงไว้แล้ว
7. เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
8. เมื่อธรรมทน ความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด
9. เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
10. ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
11. ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
12.เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย
และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้ง บรมสัจจะนั้น ด้วยปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี .... การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๘๑


การตั้งอยู่ในอรหัตตผล



             [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไป ครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ด้วยการ ศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้
เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้
เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้
เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง
เมื่อเงี่ยโสตลง แล้วย่อมฟังธรรม
ครั้นฟังธรรม ย่อมทรงธรรมไว้
ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงไว้แล้ว
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
เมื่อธรรมทน ความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด
เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย
และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้ง บรมสัจจะนั้น ด้วยปัญญา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดีการไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาดย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.

บท ๔

             [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญญูบุรุษ จะพึงรู้เนื้อความ ได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่ อันยืนยันได้ ที่เรายกขึ้นแสดง แล้ว นั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวกไหน จะเป็นผู้รู้ ทั่วถึงธรรมได้?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส ข้องอยู่ ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ ไม่พึงมี แก่เราเราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของ พระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาค เป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้. คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชา แก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงในคำสอน ของพระศาสดา แล้วประพฤติ.

สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดา แล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเรา จงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็น และกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผล ที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร นั้นเสีย จักไม่มีเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรม กิเลสเข้าไปยึดถือ เป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอน ของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิต ของ พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์