หมายเหตุ : ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สวนใหญ่มาจากอรรถกถาเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาภายหลัง มีหลายเรื่อง ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก เช่น พระเทวทัตเสียชีวิตการการกระอักเลือด (เลือดร้อนออกจากปาก) เสียใจที่ พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ พาภิกษุที่เป็นศิษย์ของตน ๕๐๐ รูป ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ อรรถกถาแต่งว่า เทวทัต ถูกธรณีสูบที่หน้า วิหารเชตวัน
ดูเรื่องราวของพระเทวทัตตามพระไตรปิฎก คลิก
พระเทวทัต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเทวทัต เป็นพระภิกษุในสมัยพระโคตมพุทธเจ้า ดำรงพระชนม์ชีพ เป็นพระราช โอรส ในพระเจ้าสุปปพุทธะ ผู้ครองกรุงเทวทหะแห่ง แคว้นโกลิยะ จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ ลูกน้อง กับพระพุทธองค์ พระเทวทัตเป็นที่รู้จักกันดี จากเรื่องราวในคัมภีร์ พระพุทธศาสนา ว่าเป็นผู้ที่มีความร้ายกาจ กระทำแต่เรื่องไม่สมควร ต่อพระพุทธเจ้า เป็นอันมากมาย ตลอดเวลาแห่งการ บำเพ็ญพรต ในพุทธวิสัย ตั้งแต่ครั้งพระพุทธ โคดม ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตลอดถึงในปัจจุบันชาติ พระเทวทัตก็ยังคงประพฤติผิด ถึงกับกระทำอนันตริยกรรม คือลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า และทำสังฆเภท
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา(ไม่มีหลักฐานจากพระไตรปิฎก) ระบุว่า เดิมนั้นท่านออกบวชด้วย ความบริสุทธิ์ใจ แต่ทว่า ในที่สุด พระเทวทัตได้สำนึกผิดเมื่อช้าไป ได้ถูกธรณีสูบ ลงสู่อเวจีมหานรก หน้าวัด เชตะวันมหาวิหาร แต่ด้วยการกระทำ ที่เคยบำเพ็ญบุญ บารมีมาแล้ว ในอดีตมาก นับประมาณ และประกอบกับการเห็น ถูกต้องตรงสัมมาทิฏฐิ เมื่อก่อนสิ้นใจกลับ สำนึกผิด มอบถวายกระดูกคาง ด้วยเป็นพระพุทธบูชา แม้ในขณะ วินาทีสุดท้าย ในขณะที่ถูกแผ่นดินสูบ ทำให้พระพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ด้วยเหตุนั้น ว่าเมื่อพระเทวทัต สิ้นกรรมจาก อเวจีมหานรก จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าอัฏฐิสสระในอนาคต
(ในพระไตรปิฎก ไม่ได้กล่าวว่า พระเทวทัต เสียชีวิตจากธรณีสูบ แต่เสียชีวิตเนื่องจากโลหิตร้อน พุ่งออกจากปาก หลังทราบว่าภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐รูป ถูกพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร พาเดินทางไปพบพระพุทธเจ้า อ่านพระสูตร )
พระเทวทัตในสมัยพุทธกาล
พระเทวทัต เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุปปพุทธะ ผู้ครองกรุงเทวทหะ แห่งแคว้น โกลิยะ กับพระนางอมิตา โดยพระโกลิยราชวงศ์ของพระเทวทัต เป็นพระประยูรญาติ ใกล้ชิด กับราชวงศ์ศากยะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์มาแต่เดิม พระเทวทัตจึงมีศักดิ์ เป็นพระญาติวงศ์กับพระพุทธเจ้า โดยพระเทวทัตนั้น มีอายุไล่เลี่ยกับพระพุทธองค์
พระเทวทัตออกบวชพร้อมกับพระราชา และเจ้าชายแห่งศากยวงศ์รวม 6 พระองค์คือ พระเจ้าภัททิยะ พระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์, เจ้าชายอนุรุทธะ, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายภัคคุ, เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตแห่งโกลิยะวงศ์ และนายอุบาลี ช่างภูษามาลา อีกท่าน รวมเป็น 7 คน ณ อนุปิยอัมพวันแห่งมัลลกษัตริย์
โดยพระพุทธองค์ ทรงอุปสมบทให้ด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งหลังจากบวชได้ ไม่นาน เจ้าชายทั้งหมด และนายอุบาลีภูษามาลา ก็ได้บรรลุธรรมทั้งโสดาบัน และพระอรหันต์ ยังคงเว้นแต่พระเทวทัตเท่านั้น ที่ได้เพียงโลกิยสมาบัติ
เรื่องราวของพระเทวทัตหลังจากบวชปรากฏว่า พระเทวทัตได้ละความเพียร ในการบำเพ็ญสมณธรรมอันสมควร เพราะว่าหลังจากได้ฤทธิ์ (จากโลกิยฌาน)แล้ว พระเทวทัตได้ประพฤติร้ายกาจ ด้วยการแสดงฤทธิ์แปลงกาย พร้อมทั้งเหาะไปใน อากาศ ให้เจ้าชายอชาตศัตรูเห็น เพื่อให้ยินยอมเป็นศิษย์บำรุง อุปัฏฐากตน และ ด้วยการยุยงว่าร้ายของพระเทวทัตนั้นเอง จึงเป็นสาเหตุ ให้เจ้าชายอชาตศัตรู ปลงพระชนม์ พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดา เพื่อขึ้นครองราชสมบัติของ แคว้นมคธ
นอกจากการยุยงส่งเสริมแบบผิดๆ แก่พระเจ้าอชาตศัตรูจนกระทำปิตุฆาต พระเทวทัต ยังได้พยายามลอบปลงพระชนม์ พระพุทธเจ้าอีกหลายครั้ง
เช่น ปล่อยช้างตกมันเข้าทำร้ายพระพุทธองค์, จ้างนายธนู 10 ผลัด ไปลอบยิง พระพุทธองค์ แต่ทุกครั้งไม่สามารถทำอะไรพระพุทธเจ้าได้ และกลับเป็นว่าผู้ที่ส่งไป ทำร้าย เกิดศรัทธา และเคารพในพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น ทำให้พระเทวทัตลงมือ พยายาม ลอบปลงพระชนม์เอง โดยการกลิ้งหิน ให้ตกจากหน้าผา เขาคิชฌกูฏ ใส่พระพุทธเจ้า แต่หินกลับกระเด็นไปไกล จากพระพุทธเจ้า อย่างน่าอัศจรรย์ แต่ถึงกระนั้นสะเก็ดหิน ก็ทำให้พระพุทธเจ้าทรงห้อพระโลหิตที่ข้อพระบาท
ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ พระเทวทัตยังคงเห็นผิดเป็นชอบ อยากจะเป็นพระศาสดา แทนพระพุทธเจ้าเสียเอง ทูลขอการปกครองสงฆ์ พระเทวทัตกระทำวิปริต มุ่งให้พระพุทธเจ้า ปลดวางภาระทั่วสังฆมณฑล แล้วยกตนเป็นองค์ศาสดาแทนที่ ซึ่งเป็นเรื่องร้ายแรงเกินกว่าจะเป็นไปได้
พระเทวทัตสำคัญผิดอ้างการบำเพ็ญตบะที่เคร่งครัดอย่างยิ่งยวด เพื่อแบ่งแยก คณะสงฆ์ เช่น เสนอข้อบัญญัติทางธรรมวินัย ที่ไม่เป็นไปโดยสมัครใจ ขอการกำหนด เป็นเด็ดขาด ด้วยเรื่องอาหาร การอยู่ป่า การรับนิมนต์ และการใช้ผ้า แก่พระพุทธเจ้า เพื่อทรงบัญญัติ
เมื่อผู้คนทราบความตั้งใจ อันไม่เอื้อเฟื้อซึ่งเป็นสำคัญผิดเช่นนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู จึงออกห่าง ไม่รับอุปถัมภ์บำรุง พระเทวทัตโดนดูหมิ่นจากชาวบ้าน และพระสงฆ์แล้ว ในภายหลังจึงได้เกิดสำนึกผิด และขณะเดินทางไปเพื่อขอขมาต่อพระพุทธเจ้า แต่กระนั้นก็ทำไม่ได้ เพราะว่า ด้วยการกระทำที่ร้ายเลวรุนแรงสาหัสมาก มาตลอดนั้น จึงทำให้พระเทวทัตต้องถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรก ณ ริมสระโบกขรณีหน้าวัด เชตวันมหาวิหาร
ตามความในคัมภีร์อรรถกถา ได้ขยายความพระไตรปิฎก และเรื่องราวพระเทวทัต ถูกธรณีสูบนี้ ก็ปรากฏอยู่ในอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ 1 เรื่องพระเทวทัต โดยกล่าวเรื่องราวตอนพระเทวทัตถูกธรณีสูบไว้ว่า
แม้พระเทวทัตแล ลุกจากเตียงแล้วนั่งวางเท้าทั้งสองบนพื้นดิน เท้าทั้งสองนั้น ก็จมแผ่นดินลง. เธอจมลงแล้วโดยลำดับเพียงข้อเท้า, เพียงเข่า, เพียงเอว, เพียงนม, จนถึงคอ, ในเวลาที่กระดูกคางจดถึงพื้นดิน ได้กล่าวคาถานี้ว่า
“ข้าพระองค์ขอถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นบุคคลเลิศ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นสารถี ฝึกนรชน มีพระจักษุรอบคอบ มีพระลักษณะ (แต่ละอย่าง) เกิดด้วยบุญ ตั้งร้อย ว่าเป็นที่พึ่งด้วย กระดูกเหล่านี้พร้อมด้วยลมหายใจ.”
(เป็นคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์) นัยว่า “พระตถาคตเจ้าทรงเห็นฐานะนี้ จึงโปรดให้พระเทวทัตบวช. ก็ถ้าพระเทวทัตนั้น จักไม่ได้บวชไซร้, เป็นคฤหัสถ์ จักได้ทำกรรมหนัก, จักไม่ได้อาจทำปัจจัยแห่งภพต่อไป, ก็แลครั้นบวชแล้ว จักทำกรรมหนักก็จริง, (ถึงดังนั้น) ก็จะสามารถทำปัจจัยแห่งภพต่อไปได้” เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงโปรดให้เธอบวชแล้ว.
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ 1 เรื่องพระเทวทัต
สาเหตุที่พระเทวทัตอาฆาตพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงเรื่องราวที่พระเทวทัต เริ่มต้นจองเวรกับพระพุทธเจ้าไว้ใน เสรีววาณิชชาดก ซึ่งปรากฏเนื้อหาโดยละเอียดในคัมภีร์อรรถกถา สรุปความ โดยย่อดังนี้
เมื่อกัปที่ 5 นับจำนวนในภัทรกัป ได้มีพ่อค้าเร่สองคนชาวแคว้นเสริวรัฐ มีชื่อเดียวกัน ว่าเสรีวะ คนหนึ่งคือพระโพธิสัตว์ (พระพุทธเจ้าในปัจจุบัน) อีกคนหนึ่งคือพระเทวทัต ในปัจจุบัน ทั้งสองได้ทำการค้าขายเร่ รับซื้อและขายของไปตามหัวเมืองต่าง ๆ
จนวันหนึ่งทั้งสองได้ไปค้าขายเครื่องประดับ ในเมืองอริฏฐปุระ โดยตกลงแบ่งให้ เข้าไปขาย คนละทาง เพื่อว่าการค้า จะได้ไม่แข่งขันขัด ตัดประชันราคากัน
พ่อค้าคนแรก (พระเทวทัต) ได้ตะโกนเร่ขายของตามถนนในเมืองไปเรื่อย ๆ จนไปถึง บ้านอดีตเศรษฐีผู้ดีเก่าตกยากหลังหนึ่ง ที่เหลืออยู่แต่เพียงยายกับหลานสาว ในบ้านเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมด้วยฐานะที่ยากไร้ เมื่อหลานสาว ได้ยินเสียงพ่อค้า เที่ยวรับซื้อ และเร่ขายของ จึงได้วิ่งออกมาดู จึงร้องบอกถึงความอยากได้ เครื่อง ประดับ หลานสาวขอร้องให้ยายซื้อให้ ยายจึงเรียกพ่อค้าเข้ามาสอบถาม และนำ ถาดเก่าคล้ำมอม ซึ่งเป็นสมบัติของตระกูลใบหนึ่ง มาให้พ่อค้าตรวจดูเพื่อแลกซื้อ เครื่องประดับให้หลาน
เหตุการณ์ปรากฏว่าพ่อค้าเลวนั้น แสร้งตรวจดู รู้ว่าเป็นถาดทองคำอันมีค่าราคา ถึงแสนกหาปณะ ไม่ใช่ถาดโลหะธรรมดา ด้วยความที่พ่อค้าเป็นคนละโมภ อยากได้ถาดทองคำ ด้วยวิธีโกง จึงกล่าวแกล้งว่าราคาผิดความจริง ทำทีว่าถาดเก่านั้น ไม่น่าสนใจไม่มีราคาจะแลกเปลี่ยน ทำคำพูดเป็นสำคัญว่า ถาดนั้นไม่มีราคาค่างวดจะแลกซื้ออะไรได้ พร้อมกันนั้นก็โยนถาดนั้นทิ้ง แล้วลุกจากเดินหนีไป โดยหวังเล่ห์กลว่าสักพักสักครู่ จะเข้ามาใหม่ เพื่อขอแลก ของประดับเล็ก ๆ น้อย ๆ กับถาดทองของสองยายหลาน
คล้อยหลังไปได้สักพัก พ่อค้าพระโพธิสัตว์ผ่านมา เห็นพ่อค้าคนแรก ออกจากตรอก ทางนั้นไปแล้ว จึงแวะเข้ามาขายเครื่องประดับ ซึ่งคราวนี้ สองคนหลานสาวกับยาย ก็กระทำอาการ อย่างที่ร้องบอกแก่พ่อค้าคนแรก ร้องบอกให้ตรวจดูถาดเก่าๆ คล้ำมอม ใบเดิมนั้น เผื่อว่าพ่อค้ารายนี้ จะรับแลกเปลี่ยนไว้ด้วยเครื่องประดับอะไรสักอย่าง
เมื่อพ่อค้าตรวจถาดเก่าดูก็รู้ว่าเป็นถาดทองคำ มีราคาตั้งแสนกหาปณะ พ่อค้า พระโพธิสัตว์ (อดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า) จึงบอกยายเจ้าของถาด ว่า “ ถาดนี้เป็นถาดทองมีราคามหาศาล ของที่ฉันนำมาเร่ขายทั้งหมดนี่ ก็สู้ราคาถาด ของยายไม่ได้หรอกจ๊ะ ”
ยายเจ้าของถาดเห็นความซื่อสัตย์ของพ่อค้าจึงบอกว่า “ ถาดนี้ เมื่อกี้พ่อค้าอีกคน โยนลงพื้นดูถูก ว่าของไม่มีราคา แต่คราวนี้พ่อมาบอกว่ามีราคาตั้งแสน พ่อนี่ช่างตาถึง มีบุญเหลือเกิน เอาอย่างนี้ ฉันให้ถาดนี้แก่ท่าน เอาไปเถิด ส่วนท่านจะให้ของ ขายอะไร แก่ฉันกะหลานก็ได้ตามใจเถิด ”
พ่อค้าพระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงบอกว่า “ เอาอย่างนี้นะยาย ฉันยกของที่ฉันเอา มาขาย และเงินที่ติดตัวมาให้ยายหมดเลยก็แล้วกัน ฉันขอแค่ตาชั่งเอาไว้ทำมาหากิน และเงินสัก 8 กหาปณะพอค่าเดินทางก็พอจ๊ะ ”
เมื่อพ่อค้าได้ถาดทองแล้ว จึงเดินทางไปที่เรือเพื่อเดินทางกลับ ปรากฏว่า หลังจาก พ่อค้าคนแรกเดินไปได้สักพักใหญ่ จึงย้อนมาหายายขายถาดคนเก่า เพื่อจะขอซื้อ ถาด ใบนั้นในราคาถูก แต่เมื่อยายเห็นพ่อค้าเข้ามาก็ตะเพิดไปว่า “ ไอ้พ่อค้าจัญไร! แกได้ทำให้ถาดทองคำต้องไร้ค่า ชิชะ! มาตอนนี้จะมาขอซื้อ ไป! จงไปเสียเจ้า คนโกง เมื้อสักครู่นี้ ฉันได้ยกถาด ที่แกอยากได้ มอบให้แก่พ่อค้าตาถึงไปแล้ว และยังได้ทรัพย์มาตั้งพันกหาปณะ ”
เมื่อพ่อค้าคนแรกได้ฟังดังนั้นถึงกับตกใจแค้นถึงสิ้นสติสลบฟุบไป พอฟื้นขึ้น ก็เกิดความเสียดาย อย่างเป็นกำลัง ถึงกับโปรยเงิน และข้าวของที่นำมาเร่ขาย ทิ้งไว้หน้าบ้านยายแก่ แล้วก็ถือคันชั่งวิ่งตามรอยเท้าพระโพธิสัตว์ หวังจะแย่ง ถาดทองคืน เมื่อไปถึงฝั่งแม่น้ำนั้น เห็นพระโพธิสัตว์กำลังขึ้นเรือไปอยู่ จึงกล่าวว่า “ นายเรือโว้ย! เอาเรือกลับเข้าฝั่งเดี๋ยวนี้ ๆ ” พระโพธิสัตว์ห้ามนายเรือว่า “ อย่ากลับ ๆ ” และแล่นเรือลับไป
เมื่อพ่อค้าพาล เห็นพระโพธิสัตว์นั่งเรือหายวับไป จึงเกิดความโศกเศร้าเสียดาย และเสียใจอย่างที่สุด ถึงกับอาเจียนออกเป็นโลหิต และตั้งสำคัญผิด ผูกอาฆาต พยาบาทจองเวร พระโพธิสัตว์ พ่อค้าเลวซึ่งหมายถึงอดีตชาติ ของพระเทวทัต ถึงกับสิ้นชีวิตลง ณ ที่นั้นนั่นเอง.
(อรรถกถาพระไตรปิฎก เล่มที่ 27 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 19 ขุททกนิกาย ชาดก
ภาค 1 อรรถกถา เสรีววาณิชชาดก)
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระเทวทัตจึงได้กำเนิดคอยตามติดเพื่อจองเวรชิงชัง กับพระพุทธเจ้าสมณโคดมมาตลอด จนแม้กระทั่งชาติท้ายที่สุด และชาติปัจจุบัน พระเทวทัตก็เกิดเป็นชูชก และเกิดเป็นเจ้าชายเทวทัตเป็นลำดับมา จนถึงการกระทำ ร้ายเลว ในปัจจุบันที่กระทำต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่จะก่ออนันตริยกรรม กระทำรุนแรงที่สุด แล้วกลับสำนึกได้ในภายหลัง
สาเหตุที่พระเทวทัตฝักใฝ่ในการกระทำชั่ว
สาเหตุที่พระเทวทัตฝักใฝ่ในการกระทำชั่วนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า จิตของ พระเทวทัต ได้ถูกครอบงำย่ำยีด้วยอสัทธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) 8 ประการ คือ
โลกธรรม ๘
1.ลาภ
2.เสื่อมลาภ
3.ยศ
4.เสื่อมยศ
5.สักการะ
6.เสื่อมสักการะ
7.ความปรารถนาอันต่ำทราม
8.ความเป็นมิตรชั่ว (แต่มีเพียง 3 อย่างที่ถูกครอบงำด้วย อสัทธรรมคือ 1.ความปรารถนาอันต่ำทราม
2.ความเป็นมิตรชั่ว
3.พอบรรลุคุณวิเศษก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ทำให้พระเทวทัตต้องไปเกิดในอบาย ชั่วกัป หรือตกนรกชั่วกัป ไม่มีใครช่วยได้เลยแม้แต่พระพุทธเจ้า) หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ก็ได้สอนให้เหล่าภิกษุ ผู้ที่ถูกครอบงำย่ำยีด้วยอสัทธรรม ให้เป็นฝ่าย ครอบงำ ย่ำยีอสัทธรรม เพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างของเทวทัต
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าบวชแก่พระเทวทัต
(ไม่ปรากฎในพระไตรปิฎก พระนาคเสนเถระ พระเจ้ามิลินท์ ก็ไม่มีชื่อในสารบบ เป็นเรื่องแต่งขึ้นมาล้วนๆ)
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าบวชแก่พระเทวทัต ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าพระเทวทัต จะทำชั่วต่อ พระพุทธเจ้า และพระศาสนานั้นได้มีการกล่าวไว้ในมิลินทปัญหา ว่าเมื่อครั้งหนึ่ง พระเจ้ามิลินท์ ทรงได้สนทนาธรรมกับ พระนาคเสนเถระ พระเจ้ามิลินท์ ได้ทรงปุจฉาว่า การที่พระพุทธเจ้าได้ประทานการบวช เป็นภิกษุแก่พระเทวทัตนั้น
พระพุทธองค์ทรงรู้หรือไม่ว่า ถ้าพระเทวทัตบวชเข้ามาแล้ว จะสร้างบาปกรรม อันใหญ่ หลวงแก่พระศาสนา และพระพุทธองค์คือ ทำร้ายพระพุทธเจ้า และทำสังฆเภท คือให้สงฆ์แตกกัน พระนาคเสนก็วิสัชณาว่า ทรงรู้ หลังจากนั้น พระเจ้ามิลินท์ ทรงได้ ปุจฉาอีกว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงรู้แล้ว ทำไมยังทรงประทาน การบวช แก่พระเทวทัต อีก พระนาคเสนก็วิสัชณาว่า
เหตุที่พระพุทธองค์ ทรงประทานการบวชแก่พระเทวทัตนั้น เพราะทรงเล็งเห็นว่า ถ้าพระเทวทัตครองเรือนเป็นคฤหัสถ์ ก็จะก่อกรรมทำชั่วอย่างไม่จบสิ้น เมื่อตายไป ก็จะไปบังเกิดในอบายภูมิเสวยทุกขเวทนา เป็นเวลาหลายกัป อย่างไม่จบสิ้น แต่ถ้าพระเทวทัตได้บรรพชาในพระพุทธศาสนา แล้วก็จักมีอันสิ้นสุดได้ เมื่อบรรพชา แล้ว ก็จักทำกรรมชั่วเพียงให้ตกนรกอยู่แค่ 1 กัปเท่านั้น ทรงเห็นอย่างนี้ จึงได้โปรดให้พระเทวทัตบรรพชา ด้วยอำนาจพระมหากรุณา ของพระพุทธองค์
สถานที่พระเทวทัตถูกธรณีสูบในปัจจุบัน (ในพระไตรปิฎก ไม่ได้กล่าวว่า พระเทวทัต เสียชีวิตจากธรณีสูบ แต่เสียชีวิตเนื่องจากโลหิตร้อน พุ่งออกจากปาก หลังทราบว่าภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐รูป ถูกพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร พาเดินทางไปพบพระพุทธเจ้า อ่านพระสูตร )
ตามคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า สถานที่พระเทวทัตถูกธรณีสูบอยู่ริมสระน้ำ หน้าวัดเชตวัน มหาวิหาร ในปัจจุบันบริเวณหน้าวัดเชตวัน ยังคงมีพื้นที่ว่างแปลงหนึ่ง อยู่กลางนา ไม่มีชาวบ้านคนไหนกล้าไปปรับพื้นที่ทำนา เนื่องจากเล่าสืบต่อกันมา ว่าเป็นสถานที่ พระเทวทัตถูกธรณีสูบ (ธรณีสูบไม่มีในหลักฐานจากพระไตรปิฎก แต่แต่งเรื่องขึ้นมา ภายหลัง)
ปัจจุบันผู้นำเที่ยวชมวัดเชตวันมักบอกว่า บริเวณนี้คือจุดที่พระเทวทัตถูกธรณีสูบ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสระน้ำที่นางจิญจมาณวิกา ถูกธรณีสูบเช่นเดียวกัน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธประวัติ
ตอนพระเทวทัตสั่งปล่อยช้างนาฬาคีรีเข้าทำร้ายพระพุทธองค์
พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา
แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า (ความตอนนี้แต่งขึ้น ไม่มีในพระไตรปิฎก)
จุดที่ชาวบ้านเชื่อว่าพระเทวทัตถูกธรณีสูบ
หน้าวัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี (ความตอนนี้แต่งขึ้น ไม่มีในพระไตรปิฎก)
นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์
ปลงอาวุธ ฟังธรรม สำเร็จมรรคผล |