เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อุโปสถสูตร อุโบสถมี ๓ อย่าง ๑.โคปาลกอุโบสถ ๒.นิคัณฐอุโบสถ ๓.อริยอุโบสถ 984
 
 
อุโปสถสูตร
(โดยย่อ)

อุโบสถมี ๓ อย่าง
๑.โคปาลกอุโบสถ
รักษาอุโบสถแบบคนเลี้ยงโค ด้วยความโลภอยากได้ของคนอื่น

๒.นิคัณฐอุโบสถ
อุโบสถของลัทธิอื่น เช่นสมณะพวกนิครนถ์ ที่ให้แก้ผ้าในวันอุโบสถ

๓.อริยอุโบสถ

ย่อมระลึกถึงพระตถาคต พระธรรม พระสงฆ์ ผู้เป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘
ทำจิตให้ผ่องแผ้ว ระลึกถึงศีลของคน
ระลึกถึงเทวดาในเหล่าที่ประกอบด้วย ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา
รักษาศีล ๕ เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ เสพเมถุน(ร่วมเพศ) พูดเท็จ ดึ่มน้ำเมา
เว้นขาดจากความบันเทิง ละการประดับตกแต่งร่างกาย เว้นจากนอนบนที่นั่งที่อันอันสูงใหญ่

ผู้รักษาอุโบสถ ๘ ประการ
ย่อมเข้าถึง เทวดาชั้นกามภพ หลังกายแตกทำลาย...
จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัสตี
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)๒๒/๑๙๕-๒๐๓/๕๑๐


อุโปสถสูตร


                 [๕๑๐] ๗๑. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของ มิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
นางวิสาขามิคารมาตา* ได้เข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับในวัดอุโบสถ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
*นางวิสาขา(อุบาสิกา) ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะฝ่ายทายิกา(ผู้ถวายทาน)

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนแต่ยังวันอยู่ นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้ดิฉันเข้าจำอุโบสถ เจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนางวิสาขา อุโบสถมี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ

   โคปาลกอุโบสถ ๑
   นิคัณฐอุโบสถ ๑
   อริยอุโบสถ ๑

(๑)
ดูกรนางวิสาขา ก็ โคปาลก อุโบสถเป็นอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนนายโคบาล เวลาเย็นมอบฝูงโคให้แก่เจ้าของแล้ว พิจารณาดังนี้ ว่า วันนี้โคเที่ยวไปในประเทศโน้นๆ ดื่มน้ำในประเทศโน้นๆ พรุ่งนี้ โคจักเที่ยวไปในประเทศ โน้นๆ จักดื่มน้ำในประเทศโน้นๆ แม้ฉันใด

ดูกรนางวิสาขา ฉันนั้นเหมือนกัน คนรักษาอุโบสถบางคนในโลกนี้พิจารณาดังนี้ว่า วันนี้เราเคี้ยว ของเคี้ยวชนิดนี้ๆ กินของชนิดนี้ๆ พรุ่งนี้เราจะเคี้ยวของเคี้ยวชนิดนี้ๆ จักกินของกินชนิด นี้ๆ
เขามีใจประกอบด้วยความโลภอยากได้ของเขา ทำวันให้ ล่วงไป ด้วยความโลภนั้น

ดูกรนางวิสาขา โคปาลกอุโบสถ เป็นเช่นนี้แล

ดูกรนางวิสาขา โคปาลกอุโบสถ ที่บุคคล เข้าจำแล้วอย่างนี้แล ไม่มีผลมาก ไม่มี อานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก

(๒) ดูกรนางวิสาขา ก็ นิคัณฐอุโบสถ เป็นอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา มีสมณนิกายหนึ่ง มีนามว่า นิครนถ์ นิครนฐ์เหล่านั้นชักชวน สาวก อย่างนี้ว่า มาเถอะ พ่อคุณท่านจงวางทัณฑะ(มาตรวัด) ในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศบูรพา ในที่เลย ร้อยโยชน์ไป จงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศปัจจิม ในที่เลยร้อย โยชน์ไป จงวาง ทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศอุดรในที่เลยร้อยโยชน์ไป จงวาง ทัณฑะใน หมู่สัตว์ ที่อยู่ทางทิศทักษิณในที่เลยร้อยโยชน์ไป นิครนถ์เหล่านั้น ชักชวน เพื่อเอ็นดู กรุณา สัตว์บางเหล่า ไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า

ด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกในอุโบสถ เช่นนั้นอย่างนี้ว่า มาเถอะ พ่อคุณ ท่านจงทิ้งผ้าเสียทุกชิ้น แล้วพูดอย่างนี้ว่า เราไม่เป็นที่กังวลของใครๆ ในที่ไหนๆ และตัวเราก็ ไม่มีความกังวลในบุคคลและสิ่งของใดๆ ในที่ไหนๆ ดังนี้ แต่ว่ามารดาและบิดาของเขารู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบุตรของเรา แม้เขาก็รู้ว่า ท่านเหล่านี้ เป็นมารดาบิดาของเรา

อนึ่ง บุตรและภรรยาของเขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบิดาสามีของเรา แม้เขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็น บุตร ภรรยา ของเรา พวกทาสและคนงานของเขารู้อยู่ว่า ท่านผู้นี้เป็นนาย ของเรา ถึงตัวเขาก็รู้ว่า คนเหล่านี้เป็นทาสและคนงานของเรา เขาชักชวนในการพูดเท็จ ในสมัยที่ควรชักชวนในคำสัตย์ ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรมของผู้นั้น เพราะ มุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาย่อมบริโภคโภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่ได้ให้ เรากล่าว ถึง กรรม ของผู้นั้นเพราะ อทินนาทาน

ดูกรนางวิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นเช่นนี้แล ดูกรนางวิสาขา นิคัณฐอุโบสถที่บุคคลเข้า จำแล้ว อย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก

(๓) ดูกรนางวิสาขา ก็ อริยอุโบสถ เป็นอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้า หมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคต ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา ของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่อเธอหมั่นนึกถึง พระตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง แห่งจิตเสียได้

ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนศีรษะที่เปื้อน จะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ศีรษะที่เปื้อน จะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างไรจะทำให้สะอาดได้ เพราะอาศัยขี้ตะกรัน ดินเหนียว น้ำ และความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ

ดูกรนางวิสาขา ศีรษะที่เปื้อน ย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรฉันนั้นเหมือนกัน จิตที่เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ...
ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจำพรหมอุโบสถ อยู่ร่วมกับพรหม และมีจิต ผ่องใส เพราะปรารภพรหม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียร จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ได้ ด้วยความเพียรอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงธรรม ว่าพระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัส ดีแล้ว อัน บุคคลผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน เมื่อเธอหมั่นนึกถึงธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนกายที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วย ความเพียร ดูกรนางวิสาขา ก็กายที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้ สะอาดได้เพราะอาศัยเชือก จุรณสำหรับอาบน้ำและความพยายาม ที่เกิดแต่เหตุนั้น ของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา กายที่เปื้อน ย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วย ความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ...

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่า เข้าจำธรรมอุโบสถอยู่ อยู่ร่วมกับธรรม และมีจิต ผ่องใส เพราะปรารภธรรม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วย ความเพียรอย่างนี้ แล

ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่ เศร้าหมอง จะทำ ให้ ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ หมั่นระลึกถึงพระสงฆ์ ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ ตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติ สมควร นี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควร ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของ ทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เมื่อเธอหมั่นระลึกถึง พระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความ ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผ้าที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ผ้าที่เปื้อน จะทำให้สะอาด ได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สะอาดได้เพราะ อาศัย เกลือ น้ำด่าง โคมัย น้ำ กับความเพียร อันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ผ้าที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาด ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ...

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่า เข้าจำสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับสงฆ์ และมีจิตผ่องใส เพราะ ปรารภสงฆ์ เกิดความ ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่ง จิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้า หมองย่อมทำให้ ผ่องแผ้วด้วยความเพียร อย่างนี้แล

ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วย ความเพียร ก็จิตที่ เศร้าหมอง จะทำให้ ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงศีลของตนอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย แก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา ทิฐิลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่อเธอหมั่นระลึก ถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนกระจกเงาที่มัวจะทำให้ใสได้ด้วยความเพียร ก็กระจกเงา ที่มัว จะทำให้ใสได้ด้วย ความเพียรอย่างไร จะทำให้ใสได้เพราะอาศัย น้ำมัน เถ้า แปลงกับ ความพยายามอันเกิดแต่ เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา กระจก ที่มัว จะทำให้ใสได้ด้วย ความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ ผ่องแผ้ว ได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้น เหมือนกัน ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ ผ่องแผ้วได้ ด้วย ความเพียรอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงศีล ของตน ...ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้ เรียกว่าเข้าจำศีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และมีจิตผ่องใส เพราะปรารภศีล เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้า หมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วย วามเพียรอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงเทวดา ว่า เทวดาพวกชั้น จาตุมหาราชิกา มีอยู่ เทวดาพวกชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาพวกชั้นยามามีอยู่ เทวดา พวก ชั้นดุสิตมีอยู่ เทวดาพวกชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาพวกชั้นปรินิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาพวกที่นับเนื่อง เข้าในหมู่พรหมมีอยู่ เทวดาพวกที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่

เทวดา เหล่านั้นประกอบด้วย
ศรัทธา เช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศรัทธาเช่นนั้น แม้ของเราก็มีเทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีล เช่นใด จุติจากภพนี้ ไปเกิดในภพ นั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มี

เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วย
สุตะ เช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิด ใน ภพนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี

เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วย
จาคะ เช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น จาคะ เช่นนั้นแม้ ของเรา ก็มี

เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วย ปัญญา เช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิด ในภพนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เมื่อเธอ ระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของตน กับของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง แห่งจิตเสียได้

ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือน ทองที่หมองจะทำให้สุกได้ ก็ด้วยความเพียร ทอง ที่หมอง จะทำให้สุก ได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สุกได้เพราะอาศัย เบ้าหลอมทอง เกลือ ยางไม้ คีม กับความพยายามที่เกิดแต่เหตุนั้น ของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ทองที่หมองจะทำให้สุกได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่ เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ...

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกเช่นนี้ เรียกว่า เข้าจำเทวดาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา มีจิตผ่องใสเพราะ ปรารภ เทวดา เกิดความ ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกรนางวิสาขา พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวัง ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ ทั้งปวงอยู่ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง นี้ในวันนี้

แม้ด้วยองค์ อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเรา เข้าจำแล้ว พระอรหันต์ ทั้งหลายละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของ ที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่จน ตลอดชีวิต แม้เราก็ละการลักทรัพย์ เว้นขาด จากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของ ที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้

แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตาม พระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเรา เข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละกรรมเป็น ข้าศึกแก่พรหมจรรย์ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุน(ร่วมประเวณี) อันเป็นกิจของชาวบ้าน จนตลอด ชีวิต แม้เราก็ได้ละ กรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่าง ไกล เว้นขาดจากเมถุน อันเป็นกิจของชาวบ้าน ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้

แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเรา เข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำ จริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็น หลักฐาน ควรเชื่อได้ไม่พูดลวงโลกจนตลอดชีวิต แม้เรา ก็ได้ละ การพูดเท็จ เว้นขาดจากการ พูดเท็จพูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็น หลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ตลอดคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งนี้ในวันนี้

แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จัก เป็นอันเรา เข้าจำ แล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความ ประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท แม้จน ตลอดชีวิต

แม้เราก็ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจาก การดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท ตลอดคืนหนึ่งกับ วันหนึ่ง นี้ ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเรา เข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการฉันในเวลา วิกาลจน ตลอดชีวิต

แม้เราก็บริโภคหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการบริโภคในเวลาวิกาล ตลอดคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งนี้ใน วันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตาม พระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถ จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจาก ฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม ดนตรี และการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการ ทัดทรงประดับและตกแต่งกายด้วย ดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็น ฐานะ แห่งการแต่งตัวจนตลอดชีวิต

แม้เรา ก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องการประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก แก่กุศล จากการ ทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่อง ประเทืองผิว อันเป็น ฐานะแห่งการ แต่งตัว ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่า ได้ทำตามพระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเร าเข้าจำแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งนอนบน ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่ง นอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบน ที่นอนอันต่ำ คือ บนเตียง หรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการ นั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอน อันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จ การนอน บนที่นอนอันต่ำ คือบนเตียง หรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้า ตลอดคืนหนึ่งกับ วันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว

ดูกรนางวิสาขา อริยอุโบสถเป็นเช่นนี้แล อริยอุโบสถอันบุคคลเข้าจำแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก อริยอุโบสถมี ผลมาก เพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร

ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผู้ใดพึงครองราชย์เป็นอิศราธิบดีแห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้น เหล่านี้ อันสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ ของผู้นั้นยัง ไม่ถึง เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ราชสมบัติ ที่เป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบ กับสุขที่เป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(รักษาอุโบสถ ๘ เมื่อกายแตก ย่อมเข้าถึงทวดาชั้นกามภพ)

ดูกรนางวิสาขา ๕๐ ปีซึ่งเป็นของมนุษย์เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือน เป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๕๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดา ชั้นจาตุ มหาราชิกา ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่ จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคน ในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็น สหายของเทวดา ชั้น จาตุมหาราชิกา ดูกรนางวิสาขา เราหมาย เอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อจะนำเข้าไปเปรียบเทียบ กับสุข อันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย

ดูกรนางวิสาขา ๑๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับ วันหนึ่งของเทวดาชั้น ดาวดึงส์ โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือน เป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๑,๐๐๐ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้เข้าจำ อุโบสถ อันประกอบด้วย องค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แลจึงกล่าวว่า ราชสมบัติของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบ กับสุขอันเป็นทิพย์เป็นของเล็กน้อย

ดูกรนางวิสาขา ๒๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดาชั้นยามา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือน เป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๒.๐๐๐ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นมายา ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้ เป็น ฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถ อันประกอบด้วย องค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไปพึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของเทวดา ชั้นยามา ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติ อันเป็นของมนุษย์ เมื่อเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย

ดูกรนางวิสาขา ๔๐๐ ปี อันเป็นของ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต โดยร าตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือนโดย เดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๔,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดา ชั้นดุสิต ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้ เป็น ฐานะที่จะมีได้คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำ อุโบสถ อันประกอบด้วย องค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา ชั้นดุสิต ดูกรนางวิสาขาเราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติ อันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย

ดูกรนางวิสาขา ๘๐๐ ปีอันเป็น ของมนุษย์ เป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเทวดา ชั้น นิมมานรดี โดยราตรีนั้น๓๐ ราตรีเป็น หนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๘,๐๐๐ ปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณของอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ดูกรนางวิสาขาก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำ อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา ชั้นนิมมานรดี ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่าราช สมบัติ อันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์ เป็นของ เล็กน้อย

ดูกรนางวิสาขา ๑,๖๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของ เทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัสดี โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือนโดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็น หนึ่งปี โดยปีนั้น ๑๖,๐๐๐ ปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดา ชั้นปรนิมมิตว สวัสดี

-----------------------------------------------------------------------------------

(การเข้าถึงสุขคติโลกสวรรค์ หลังกายแตกทำลาย)

              ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลก นี้ เข้าจำ อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัสดี (เทวดากามภพ)

ดูกรนางวิสาขา เราหมายความเอาข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็น ของมนุษย์ เมื่อนำ เข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ฯ บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นเมถุน อันเป็นความประพฤติ ไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภค โภชนะในเวลาวิกาล ในกลางคืนไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ ของหอม และพึงนอน บนเตียง บนพื้น หรือบนที่ซึ่งเขาปูลาด

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลว่า

อันพระพุทธเจ้า ผู้ถึงที่สุด ทุกข์ทรง ประกาศไว้ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ทั้งสองที่น่าดู ส่องแสง โคจรไปทั่ว สถานที่ ประมาณเท่าใด และ พระจันทร์ พระอาทิตย์นั้น กำจัด ความมืด ไปในอากาศ ทำให้ทิศ รุ่งโรจน์ ส่องแสงอยู่ในนภากาศ ทั่วสถานที่มี ประมาณเท่าใด ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทองสิงคี และทองคำ ตลอดถึงทอง ชนิดที่เรียกว่า หฏกะ เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ ประมาณ เท่านั้น ยังไม่ถึงแม้ซึ่งเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ และทั้งหมด ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของแสงจันทร์ และ หมู่ดาว

เพราะฉะนั้นแหละ สตรีบุรุษผู้มีศีล เข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ทำบุญซึ่งมีสุข เป็นกำไร เป็นผู้ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึง สัคคสถาน (โลกสวรรค์)

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์