เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  วัตรของเดียรถีย์ .. พระองค์ประพฤติวัตรของเดียรถีย์ ก่อนจะหลีกเร้นบำเพ็ญทุกรกิริยา 983
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์)
   ๑. ตปัสสีวัตร.. วัตรมีตบะ เปลือยกาย ใช้มือเช็ดอุจจาระ
   ๒. ลูขวัตร.. ทำตัวสกปรก จนผิวตกสะเก็ด
   ๓. เชคจฉิวัตร.. มีสติก้าวไป ถอยกลับ
   ๔. ปวิวิตตวัตร... อยู่ป่าโดดเดี่ยว หลบหน้าผู้คน กินอุจาระวัว

วัตรในอุเบกขา
เข้าป่า เปลือยกาย นอนในป่าช้านอนทับซากศพ โดนเด็กเลี้ยงโคแกล้ง

กินลูกกะเบาเป็นอาหาร
ทำให้กายซูบผอม เหมือนเถาวัลย์

สภาพกาย เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย
สะโพกเหมือนรอยเท้าอูฐ เห็นกระดูก ซี่โครงชัด เบ้าตาลึก เอามือลูบท้อง ก็ถึงกระดูกสันหลัง ลุกถ่ายอุจจาระก็ล้มพับ เอามือลูบตัว ขน ก็หลุดร่วง



 
 


จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า55

ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์)
(ตปัสสีวัตร ลูขวัตร เชคจฉิวัตร ปวิวิตตวัตร)

         สารีบุตร ! เราตถาคตรู้เฉพาะซึ่ง พรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ที่ได้ประพฤติ แล้ว
๑.ตปัสสีวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง วัตรมีตบะ เปลือยกาย ใช้มือเช็ดอุจจาระ ไม่ยินดีอาหาร
๒.ลูขวัตร เราก็ได้ ประพฤติอย่างยิ่ง วัตรในการเศร้าหมอง ทำตัวสกปรก
๓.เชคจฉิวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง (มีสติก้าวไป ถอยกลับ)
๔.ปวิวิตตวัตร เราก็ได้ ประพฤติอย่างยิ่ง.(วัตรในความเป็นผู้สงัด อยู่ป่าโดดเดี่ยว หลบผู้คน)

          ในวัตร ๔ อย่างนั้น นี้เป็น(๑) ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) ของเรา คือเราได้ ประพฤติ เปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติ เช็ดอุจจาระของตน ด้วยมือ ถือเป็น
ผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญ ว่าท่านผู้เจริญจงมา
ไม่รับอาหารที่เขาร้อง นิมนต์ว่า ท่านผู้เจริญ จงหยุดก่อน
ไม่ยินดีในอาหาร ที่เขานํามาจําเพาะ ไม่ยินดีในอาหารที่เขาทําอุทิศเจาะจง ไม่ยินดีในอาหาร ที่เขาร้องนิมนต์ เราไม่รับอาหารจากปากหม้อ
ไม่รับอาหาร จากปากภาชนะ
ไม่รับอาหาร คร่อมธรณีประตู
ไม่รับอาหาร คร่อมท่อนไม้ไม่รับอาหารคร่อมสาก
ไม่รับอาหาร ของชนสองคนผู้บริโภคอยู่ 
ไม่รับอาหาร ของหญิงมีครรภ์ 
ไม่รับอาหาร ของหญิง ที่กําลังให้บุตรดื่มนมอยู่ 
ไม่รับอาหาร ของหญิงผู้ไปในระหว่างแห่งบุรุษ
ไม่รับอาหาร ในอาหารที่มนุษย์ชักชวนร่วมกันทํา 
ไม่รับอาหาร ในที่ที่มีสุนัขเข้าไปยืน เฝ้าอยู่
ไม่รับอาหาร ในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ 
ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่รับสุรา ไม่รับเมรัย
ไม่ดื่มน้ำอันดองด้วยแกลบ เรารับเรือนเดียวฉันคําเดียวบ้าง รับสองเรือนฉันสองคําบ้าง  รับสามเรือนฉันสามคําบ้าง ....ฯลฯ....

            รับเจ็ดเรือนฉัน เจ็ดคําบ้าง เราเลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ ภาชนะเดียวบ้าง เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อย ๆ สองภาชนะบ้าง ..ฯลฯ.

          เลี้ยงร่างกาย ด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง เราฉันอาหารที่ เก็บไว้ วันเดียวบ้าง  ฉันอาหารที่เก็บไว้สองวันบ้าง ....ฯลฯ....

          ฉันอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง เราประกอบ ความเพียรในภัตรและโภชนะ มีปริยาย อย่างนี้ จนถึงกึ่งเดือนด้วยอาการอย่างนี้. 

          เรานั้น มีผักเป็นภักษาบ้าง มีสารแห่งหญ้ากับแก้ เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือย เป็นภักษาบ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําข้าว เป็นภักษา บ้าง มีข้าวตัวเป็นภักษาบ้าง มีข้าวสารหักเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัย (ขี้วัว) เป็นภักษาบ้าง มีผลไม้และรากไม้ในปุาเป็นอาหาร บ้างบริโภคผลไม้ อันเป็นไป (หล่นเอง) ยังชีวิตให้เป็นไปบ้าง. 

          เรานั้นนุ่งห่มด้วย ผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าเจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้กับ ซากศพบ้าง นุ่งห่ม ผ้าคลุกฝุ่นบ้าง นุ่งห่มเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังอชินะบ้าง นุ่งห่มหนัง อชินะทั้งเล็บบ้าง นุ่งห่มแผ่นหญ้าคากรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นปอกรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นกระดานกรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทําด้วยขน หางสัตว์บ้าง นุ่งห่มปีกนก เค้าบ้าง (ศัพท์นี้แปลกที่ไม่มีคําว่ากัมพล) เราตัดผมและ หนวด ประกอบตามซึ่งความ เพียร ในการตัดผมและหนวด

         เราเป็นผู้ยืนกระหย่ง ห้ามเสีย ซึ่งการนั่ง เป็นผู้เดินกระหย่ง ประกอบตามซึ่ง ความเพียรในการเดิน กระหย่ง บ้าง เราประกอบ การยืนการเดินบนหนาม สําเร็จ การนอนบนที่นอนทําด้วยหนาม เราประกอบตาม ซึ่งความเพียรในการลงสู่น้ำ เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง เราประกอบตามซึ่ง ความเพียรใน การทํา (กิเลสใน) กายในเหือดแห้ง ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นนี้ ด้วยอาการ อย่างนี้.

          สารีบุตร ! นี่และป็นวัตรเพื่อความเป็นผู้มีตบะ ของเรา
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น (๒) ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง) ของเรา คือ ธุลีเกรอะกรังแล้วที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น.

          สารีบุตร ! เปรียบเหมือนตอตะโกนานปี มีสะเก็ดขึ้นแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น ธุลีเกรอะกรังแล้ว ที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากจนเกิดเป็นสะเก็ดขั้น. 

          สารีบุตร ! ความคิดนึกว่า โอหนอ เราพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ไม่มีแก่เรา แม้ความคิดนึกว่าก็หรือ ชนเหล่าอื่นพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ก็มิได้มีแก่เรา.

          ดูก่อน สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้เศร้าหมองของเรา. 
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น (๓) เชคจฉิวัตร (วัตรในความเป็นผู้ รังเกียจ) ของเราคือ

          ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับ โดยอาการเท่าที่ความ เอ็นดูอ่อนโยนของเรา พึงบังเกิดขึ้น แม้ในหยาดแห่งน้ำ ว่าเราอย่างทําสัตว์น้อยๆ ทั้งหลาย ที่มีคติไม่เสมอกันให้ลําบากเลย.

         สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้รังเกียจของเรา.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น (๔) ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็นผู้ สงัดทั่วแล้ว) ของเราคือ

          ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นเข้าสู่ราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่ เมื่อเห็นคน เลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า หรือคนหาไม้ หรือคนทํางานในป่ามา เราก็รีบลัด เลาะจากป่านี้ไปป่าโน้น จากรกชัฎนี้สู่รกชัฎโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้ สู่ดอนโน้น เพราะเหตุคิดว่า ขอคนพวกนั้น อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้ เห็นชนพวกนั้น. 

          สารีบุตร ! เปรียบเหมือนเนื้ออันอยู่ในป่า เห็นมนุษย์แล้วย่อมเลาะลัด จากปุานี้ สู่ป่าโน้น จากรกชัฎนี้สู่รกชัฎโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ฉันใดก็ฉัน นั้น ที่เราเมื่อเห็นคน เลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า คนหาไม้ คนทํางานในป่ามา ก็รีบเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฎนี้สู่รกชัฎโน้น จากลุ่มนี้ สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ด้วยหวังว่าคนพวกนี้อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้ เห็นคนพวกนั้น. สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วของเรา

          สารีบุตร ! เรานั้น โคเหล่าใดออกจากคอก หาคนเลี้ยงมิได้ เราก็คลานเข้า ไปในที่นั้น ถือเอาโคมัยของลูกโคน้อยๆ ที่ยังดื่มนมแม่เป็นอาหาร. สารีบุตร ! มูตร และกรีส (ปัสสาวะและอุจจาระ) ของตนเอง ยังไม่หมดเพียงใด เราก็ถือมูตรและ กรีสนั้นเป็นอาหารตลอดกาลเพียงนั้น.

        ดูก่อน สารีบุตร! นี้แล เป็นวัตรใน มหาวิกฏโภชนวัตร ของเรา.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วัตรในอุเบกขา (๕)
เข้าป่า เปลือยกาย
นอนในป่าช้านอนทับซากศพ โดนเด็กเลี้ยงโคแกล้ง

          สารีบุตร ! เราแลเข้าไป สู่ชัฎแห่งป่าน่าพึงกลัวแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่.  เพราะชัฎแห่งป่านั้น กระทําซึ่งความกลัว เป็นเหตุ ผู้ที่มีสันดานยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ชัฎป่านั้นแล้ว โลมชาติ(ขน) ย่อมชูชันโดยมาก. 

          สารีบุตร ! เรานั้นในราตรี ทั้งหลายอันมีในฤดูหนาวระหว่างแปดวัน เป็นสมัย ที่ตกแห่ง หิมะอันเย็นเยือกกลางคืนเราอยู่ที่กลางแจ้ง กลางวันเราอยู่ในชัฎแห่งป่า.  ครั้นถึงเดือน สุดท้ายแห่งฤดูร้อนกลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ในป่า.
สารีบุตร ! คาถาน่าเศร้านี้ อันเราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนมาแจ้งแก่เราว่า

         "เรานั้นแห้ง(ร้อน)แล้วผู้เดียว เปียกแล้วผู้เดียว อยู่ในป่าน่าพึงกลัวแต่ ผู้เดียว เป็นผู้มีกายอันเปลือยเปล่า ไม่ผิงไฟเป็นมุนีขวนขวายแสวงหาความ บริสุทธิ์." ดังนี้.

          สารีบุตร ! เรานั้นนอนในปุาช้า ทับกระดูกแห่งซากศพทั้งหลายฝูงเด็กเลี้ยง โคเข้ามาใกล้เรา โห่ร้องใส่หูเราบ้าง ถ่ายมูตรรดบ้าง ซัดฝุุนใส่บ้างเอา ไม้แหลมๆ ทิ่มช่องหูบ้าง. สารีบุตร ! เราไม่รู้สึกซึ่งจิตอันเป็นบาปต่อเด็ก เลี้ยงโคทั้งหลาย เหล่านั้น แม้ด้วยการทําความคิดนึกให้เกิดขึ้น. 

         สารีบุตร ! นี้เป็น วัตรในการอยู่อุเบกขา ของเรา
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กินลูกกะเบาเป็นอาหาร (๖)
ทำให้กายซูบผอม เหมือนเถาวัลย์

          สารีบุตร ! สมณพราหมณ์ บางพวก มักกล่าวมักเห็นอย่างนี้ว่า "ความบริสุทธิ์ มีได้เพราะ อาหาร" สมณพราหมณ์ พวกนั้นกล่าวกันว่า พวกเราจงเลี้ยง ชีวิตให้เป็นไป ด้วยผลกะเบา๑ ทั้งหลายเถิด. สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงเคี้ยว กินผล กะเบาบ้าง เคี้ยวกินกะเบาตําผงบ้าง ดื่มน้ําคั้น จากผลกะเบาบ้าง ยิ่งบริโภคผลกะเบา อันทําให้ แปลกๆ มีอย่างต่าง ๆ บ้าง.

          สารีบุตร ! เราก็ได้ใช้กะเบาผลหนึ่ง เป็นอาหารสารีบุตร ! คําเล่าลืออาจมีแก่ เธอว่า ผลกะเบาในครั้งนั้น ใหญ่มากข้อนี้ เธออย่าเห็นอย่างนั้น ผลกะเบาในครั้งนั้น ก็โตเท่านี้ เป็นอย่างยิ่งเหมือนในครั้งนี้ เหมือนกัน.

          สารีบุตร ! เมื่อเราฉันกะเบาผลเดียวเป็นอาหาร ร่างกายได้ถึงความ ซูบผอม อย่างยิ่ง. เถาวัลย์อาสีติกบรรพ หรือเถากาฬบรรพมีสัณฐานเช่นไร อวัยวะน้อยใหญ่ ของเรา ก็เป็นเหมือน เช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เพราะความมีอาหารน้อย (๗)
สะโพกเหมือนรอย เท้าอูฐ เห็นกระดูกซี่โครงชัด เบ้าตาลึก เอามือลูบท้อง ก็ถึงกระดูกสันหลัง ลุกถ่ายอุจจาระก็ล้มพับ เอามือลูบตัวขนก็หลุดร่วง

          รอยเท้าอูฐ มีสัณฐานเช่นไร รอยตะโพกนั่งทับของเราก็มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความ เป็นผู้มีอาหารน้อย เถาวัฏฏนาวฬีมีสัณฐานเช่นใด กระดูกสันหลังของเรา ก็เป็นข้อๆ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.  

          กลอน(หรือจันทัน) แห่งศาลาที่ คร่ําคร่าเกะกะมีสัณฐานเช่นไร ซี่โครงของเรา ก็เกะกะ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. ดวงดาวที่ปรากฏ ในน้ำ ในบ่อ น้ำอันลึก ปรากฏ อยู่ลึกฉันใด ดวงดาวคือลูกตาของเรา ปรากฏอยู่ลึกในเบ้าตา ฉันนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. น้ำเต้าที่เขาตัดแต่ยังอ่อน ครั้นถูกลมและแดด ย่อมเหี่ยวยู่ยี่ มีสัณฐานเป็นเช่นไร หนังศีรษะแห่งเราก็เหี่ยวยู่ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

          สารีบุตร ! เราตั้งใจว่าลูบท้อง ก็ลูบถูกกระดูกสันหลังด้วย ตั้งใจว่าลูบ กระดูก สันหลัง ก็ลูบถูกท้องด้วย. สารีบุตร ! หนังท้องกับกระดูกสันหลังของเรา ชิดกันสนิท เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. 

          สารีบุตร ! เรา เมื่อคิดว่าจักถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ล้มพับอยู่ ตรงนั้นเพราะ ความเป็นผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร ! เรา เมื่อจะบรรเทาซึ่งกายนั้น ให้มีความสุขบ้าง จึงลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนที่มีรากเน่าแล้ว ได้หลุดออกจากกาย ร่วงไป เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. 

          (ต่อจากนี้ มีเรื่องการบริสุทธิ์เพราะอาหารอย่างเดียวกับการบริโภคผลกะเบา ต่างกัน แต่แทนผลกะเบา กลายเป็น ถั่วเขียว งา ข้าวสาร เท่านั้น. พระองค์ได้ทดลอง เปลี่ยนทุกๆอย่าง. เรื่องตั้งแต่ต้นมา แสดงว่าพระองค์ได้ทรงเคยประพฤติวัตร ของ เดียรถีย์ ที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค แล้วทุกๆอย่าง สรุปเรียกได้ว่าส่วนสุดฝุายข้างตึง ที่พระองค์สอนให้เว้น ในยุคหลัง.  วัตรเหล่านี้ สันนิษฐานว่าทําทีหลังการไปสํานัก ๒ ดาบส.  ถ้าทีหลังก็ต้องก่อน เบญจวัคคีย์ไปอยู่ด้วย ยุติเป็นอย่างไรแล้ว แต่จะวินิจฉัย  เพราะระยะ ทําความเพียรนานถึง ๖ ปี ได้เหตุผลเป็นอย่างไร โปรดเผยแผ่กัน ฟังด้วย).

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์