เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง (อายตนะภายใน-ภายนอก) 964
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง
(อายตนะภายใน-ภายนอก)
มีความว่า อายตนะ ๑๒ คือ
จักษุ-รูป หู- เสียง จมูก- กลิ่น ลิ้น- รส กาย- โผฏฐัพพะ ใจ- ธรรมารมณ์ เรียกว่าสิ่งทั้งปวง

มุนีละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัยด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่อาศัย
คือ ไม่อิงอาศัย ไม่พัวพันไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจถึง เป็นผู้ออกไป สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วซึ่งจักษุหู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

สกุล คณะ อาวาสลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช บริขาร กามธาตุรูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐธรรม สุตธรรมมุตธรรม วิญญาตัพพธรรม


 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส หน้าที่ ๑๑๘

(มหานิทเทส  คัมภีร์ที่ขยายความพระไตรปิฎก เชื่อว่าเป็นผลงานของพระสารีบุตร)

มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง


          [๒๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตต สังขาร ว่าเป็นที่รัก และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่ชัง ความรำพันและความหวงแหน มิได้ติด ในมุนีนั้นเหมือนน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น.

          [๒๑๓] คำว่า มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง มีความว่า อายตนะ ๑๒ คือ จักษุรูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่าสิ่งทั้งปวง.

          คำว่ามุนี มีความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วง ธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย ดำรงอยู่ และเป็นผู้อันเทวดา และ มนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี.

          คำว่า ไม่อาศัย มีความว่า ความอาศัย ๒ อย่าง คือ ความอาศัยด้วยตัณหา ๑ ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ อาศัย ด้วยทิฏฐิ.

          มุนีละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัยด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่อาศัย คือ ไม่อิงอาศัย ไม่พัวพันไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจถึง เป็นผู้ออกไป สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วซึ่งจักษุหู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ สกุล คณะ อาวาสลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช บริขาร กามธาตุรูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐธรรม สุตธรรมมุตธรรม วิญญาตัพพธรรม

เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจาก แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามุนีไม่อาศัยแล้ว ในสิ่งทั้งปวง

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์