เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  ว่าด้วยสิ่งต่างๆ ย่อมสลายไปเหลือแต่ชื่อ 963
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่ละ ความโศก ความ รำพัน และความหวงแหน เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลาย ผู้เห็นความปลอดโปร่ง ละซึ่งความยึดถือ ได้เที่ยวไปแล้ว ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ว่าของเรา ย่อมไม่ละความโศก ความรำพันและ ความหวงแหน

ชนทั้งหลายย่อมรักษาคุ้มครอง ป้องกันวัตถุที่ถือว่าของเรา หวงแหนวัตถุ ที่ถือว่า ของเรา ย่อมเศร้าโศก ไม่ละไม่สละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ซึ่งความโศก ความรำพัน ความหวงแหน ความติดใจในวัตถุ ที่ยึดถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่ละความโศก ความรำพัน และความหวงแหน.

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส หน้าที่ ๑๑๘

(มหานิทเทส  คัมภีร์ที่ขยายความพระไตรปิฎก เชื่อว่าเป็นผลงานของพระสารีบุตร)

ว่าด้วยสิ่งต่างๆ ย่อมสลายไปเหลือแต่ชื่อ


     [๒๐๒] คำว่า ชนทั้งหลายที่เห็นกันก็ดี ที่ได้ยินชื่อเรียกกันก็ดี มีความว่า ที่เห็นกันได้แก่ ชนทั้งหลายมีรูปที่ทราบกันด้วยจักษุวิญญาณ. คำว่า ที่ได้ยินกัน ได้แก่ มีเสียงที่ทราบกันโดยโสตวิญญาณ. คำว่า ชนทั้งหลาย คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิตเทวดา มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายที่เห็น ก็ดี ที่ได้ยินชื่อกันก็ดี.

     [๒๐๓] คำว่า มีชื่อเรียกกัน ศัพท์ว่า เยสํ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า มีชื่อ คือมีชื่อที่นับ มีชื่อที่หมายรู้ มีชื่อที่ บัญญัติ มีชื่อที่เรียกกันทางโลก มีนาม มีความตั้งนาม มีความทรงนาม มีชื่อที่พูดถึง มีชื่อที่แสดงความหมาย มีชื่อที่กล่าวเฉพาะ. คำว่า เรียก คือ กล่าว พูด แสดง แถลง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีชื่อเรียกกัน.

     [๒๐๔] คำว่า ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้นที่พูดถึงกันอยู่. มีความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันบุคคล ละไป สละไป ทิ้งไป หายไป สลายไป มีเหลือแต่ชื่อ เท่านั้น. คำว่า ที่พูดถึงกันอยู่ คือ เพื่อบอก เพื่อกล่าว เพื่อพูด เพื่อแสดง เพื่อแถลง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้นที่พูดถึงกันอยู่. คำว่า ชนเหล่านั้น ที่จากไป แล้ว คือ ตายไปมีกาละกระทำแล้ว.

        คำว่า ชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนเหล่านั้น ... ที่พูดถึงกันอยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าชนทั้งหลายที่เห็นกันก็ดี ที่ได้ยินชื่อเรียกกันก็ดี ชนเหล่านั้น ที่จากไปแล้ว ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ที่พูดถึงกันอยู่.

     [๒๐๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่ละ ความโศก ความ รำพันและความหวงแหน เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลาย ผู้เห็นความปลอดโปร่ง ละซึ่งความยึดถือได้เที่ยวไปแล้ว.

     [๒๐๖] คำว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ว่าของเรา ย่อมไม่ละความโศก ความรำพันและความหวงแหน มีความว่า ความโศก กิริยาที่เศร้าโศก ความเป็นผู้ เศร้าโศก ความที่จิตเศร้าโศก ความเศร้าโศกในภายใน ความเศร้าโศกรอบในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน ความเร่าร้อนรอบในภายใน ความตรอมตรมแห่งจิต โทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของชนผู้ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความ เสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบ เข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบ เข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.

        คำว่า ความรำพัน คือ ความเพ้อถึง ความรำพัน อาการที่เพ้อถึง อาการที่รำพันถึง ความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้รำพันถึง ความพูดเพ้อ ความบ่นเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นผู้พร่ำเพ้อ ของชนผู้ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ฯลฯ ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง บ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.

        คำว่า ความหวงแหน ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความ ตระหนี่เห็นปานนี้ อาการที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนา ต่างๆ ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ใน การให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่.

        อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ ก็ดี  นี้เรียกว่าความตระหนี่. ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความตระหนี่. ตัณหาเรียกว่าความ ติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

        คำว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่า ของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่า ของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือของเราด้วยทิฏฐิ ชนทั้งหลายแม้ผู้มี ความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ถือว่าของเราย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศก เมื่อเขากำลังแย่งชิงเอาบ้าง. เมื่อเขาแย่งชิงเอาไปแล้วบ้าง.

แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวน ไปแห่งวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศกเมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง.

แม้ผู้มีความหวาดระแวงการแย่งชิงวัตถุ ที่ถือว่าของเรา ย่อมรำพัน คือ ย่อมรำพัน เมื่อเขากำลังแย่งชิงเอาบ้าง เมื่อเขาแย่งชิงเอาไปแล้วบ้าง.

แม้ผู้มีความหวาดระแวง ในความแปรปรวนไป แห่งวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมรำพันคือ ย่อมรำพันเมื่อวัตถุนั้น กำลังแปรปรวนไปบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง.

        ชนทั้งหลายย่อมรักษาคุ้มครอง ป้องกันวัตถุที่ถือว่าของเรา หวงแหนวัตถุ ที่ถือว่า ของเรา ย่อมเศร้าโศก ไม่ละไม่สละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ซึ่งความโศก ความรำพัน ความหวงแหนความติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่ละความโศก ความรำพัน และความหวงแหน.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์