เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง 909
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

กายวิเวก
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนต้นไม้ ภูเขา นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยวอยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก

จิตตวิเวก
ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์
บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร
บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ
บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

อุปธิวิเวก
อมตะ นิพพาน เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก



 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส หน้าที่ ๒๔


ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

[๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ
กายวิเวก
จิตตวิเวก
อุปธิวิเวก


กายวิเวกเป็นไฉน?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถประพฤติ รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก
(อยู่ผู้เดียว)

 

จิตตวิเวกเป็นไฉน?
ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์
บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร
บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ
บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์

บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

(เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน กับสักกายทิฏฐิเป็นต้น เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลส ที่ตั้งอยู่

ในเหล่าเดียวกันกัน กามราคสังโยชน์อย่างหยาบ เป็นต้นนั้น เป็นอนาคา มีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียดกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลส ที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ กามราคสังโยชน์อย่าง ละเอียด เป็นต้นนั้น เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะอุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะ เป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวง ในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก.

อุปธิวิเวกเป็นไฉน?
กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ.

อมตะ นิพพาน เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.

ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพาน อันเป็นวิสังขาร.

คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลสมาก ปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คืออยู่ในที่ห่างไกล แสนไกล มิใช่ใกล้มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง.

คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้นเช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์