ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๒๐
กามสัญโญชน์ (เครื่องรอยรัดในกาม)
[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ ไว้โดย ประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตาม ขันธ์ส่วนอดีตและทิฐิ อันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติ อันเกิดแต่วิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึง สิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอย่อมดับไปได้
เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติ เกิดแต่วิเวก
เปรียบเหมือนร่มเงา ละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้นฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะปีติ(อัน) เกิดแต่วิเวก ดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติ (อัน)เกิดแต่วิเวก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้ง กามสัญโญชน์ ไว้โดยประการ ทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตาม ขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ ส่วน อนาคต เสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึง สิ่งที่ดีประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอ ย่อมดับไปได้
เพราะปีติเกิด แต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติ(อัน) เกิดแต่ วิเวก เรื่องปีติเกิด แต่วิเวกดังนี้ั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และ ความดับ ของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่
ตถาคตทราบว่า สิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบาย เป็นเครื่อง สลัดออกจากสิ่งที่ ปัจจัย ปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------
[๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ เพราะ ไม่ตั้งกามสัญโญชน์ ไว้โดย ประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิ อันคล้อยตาม ขันธ์ส่วน อดีตและทิฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติ เกิด แต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุข เสมือนปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่าเรากำลัง เข้าถึง สิ่งที่ดี ประณีต คือ นิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอย่อมดับ ไปได้ เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติ อันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เปรียบเหมือนร่มเงา ละที่ แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไป ยังที่ แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติ อันเกิดแต่ วิเวกดับย่อมเกิดสุขเสมือน ปราศจากอามิส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ย่อมทราบเรื่องนี้ดี
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้ แล เพราะไม่ตั้ง กามสัญโญชน์ ไว้โดยประการ ทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตาม ขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วน อนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติ อันเกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุข เสมือน ปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่าเรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือ นิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะสุขเสมือน ปราศจาก อามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่ วิเวก เพราะปีติอันเกิด แต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุข เสมือนปราศจากอามิส เรื่องสุขเสมือน ปราศจากอามิส ดังนี้ นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับ ของสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งมีอยู่
ตถาคตทราบว่า สิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก จากสิ่งที่ ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------
[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้ง กามสัญโญชน์ ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิ อันคล้อยตาม ขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อย ตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิด แต่ วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจาก อามิส ได้ ย่อมเข้า ถึงเวทนา อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุข ก็มิใช่ อยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึง สิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนา อยู่เวทนาอัน เป็นทุกข์ ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้น ของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนา อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุข ก็มิใช่ดับย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุข เสมือน ปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนา อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุข ก็มิใช่ เปรียบเหมือนร่มเงา ละที่แห่งใด แดดย่อม แผ่ไปยัง ที่แห่งนั้น แดดละ ที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยัง ที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้น เหมือนกันแล เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุข ก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือน ปราศจาก อามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิด เวทนา อันเป็นทุกข์ ก็มิใช่สุข ก็มิใช่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบ เรื่องนี้ดี
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้ง กามสัญโญชน์ ไว้ โดยประการ ทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิ อันคล้อยตามขันธ์ ส่วน
อนาคตเสียได้
และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือน ปราศจาก อามิส ได้ ย่อมเข้าถึงเวทนา อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลัง เข้าถึง สิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุข ก็มิใช่นั้น ของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนา อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุข ก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุข เสมือนปราศจาก อามิส
เพราะสุข เสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิด เวทนา อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุข ก็มิใช่
เรื่องเวทนาอันทุกข์ ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และ ความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่
ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------
[๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะ ไม่ตั้งกามสัญโญชน์ ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอดีต และทิฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติ อันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุข เสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนา อันเป็นทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้ง กามสัญโญชน์ ไว้โดยประการ ทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคต เสียได้
และเพราะก้าวล่วงปีติ อันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือน ปราศจากอามิส ก้าวล่วง เวทนา อันเป็นทุกข์ ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเอง ว่าเป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มี อุปาทานท่านผู้นี้ ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทา ที่ให้สำเร็จนิพพาน อย่างเดียว โดยแท้
แต่ก็ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้ เมื่อถือมั่นทิฐิ อันคล้อย ตามขันธ์ ส่วนอดีต ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นทิฐิ อันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่น กามสัญโญชน์ ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นปีติ อันเกิดแต่ วิเวก ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อ ถือมั่นสุข เสมือนปราศจากอามิส ก็ชื่อว่า ยังถือมั่น อยู่ หรือเมื่อถือมั่น เวทนาอัน เป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้เล็งเห็นตัวเองว่าเป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มี อุปาทาน นั้น บัณฑิต ก็เรียกว่าอุปาทาน ของท่าน สมณพราหมณ์นี้ เรื่องอุปาทาน ดังนี้นั้น อันปัจจัย ปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับ ของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่
ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก จากสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ บทอันประเสริฐ (สันติวรบท-ฉบับมหาจุฬา) สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตตรัสรู้เอง ด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้ เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษและอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ ด้วยไม่ถือมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น คือ ความรู้เหตุ เกิด เหตุดับ คุณโทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไป แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความ เป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล
จบ ปัญจัตตยสูตรที่ ๒ |