เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 มนุษย์ จะมีอายลดลง จากศีลธรรมที่เสื่อมถอย และค่อยๆสูงขึ้น จากศีลธรรมที่สูงขึ้น 870
 

ดูพระสูตรนี้ประกอบ

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๔๓


จักกวัตติสูตร
(ยุคมนุษย์อายุ 80,000 ปี)
(อายุมนุษย์ค่อยๆลดลง จากศีลธรรมที่เสื่อมถอย และค่อยๆสูงขึ้น จากความศีลธรรม ที่สูงขึ้น)


1 พระเจ้าแผ่นดินไม่ให้ทรัพย์ เกิดความขัดสน จึงมีการขโมยเกิดขึ้น
เมื่อจักรพรรดิ์ ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงแพร่หลาย เมื่อเกิดความขัดสน บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่น
ท้าวเธอจึงตรัสถามว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ ของคนอื่น ไปจริงหรือ ฯ
บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
ร. เพราะเหตุไร ฯ
บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่าเธอจงเลี้ยงชีพมารดาบิดา บุตรภรรยา จงประกอบการงานอันเกื้อกูลแก่สวรรค์ ในสมณพราหมณ์ด้วยทรัพย์นี้เถิด

2
คนอื่นเอาอย่างบ้าง
ดูกรภิกษ ท. แม้บุรุษอีกคนหนึ่ง ก็ได้ขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษ นั้นได้แล้ว เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว
ท้าวเธอจึงตรัสถามว่า เธอขโมย เอาทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ ฯ
บุ. จริงพระพุทธเจ้าข้า ฯ
ร. เพราะเหตุไร ฯ
บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่าเธอจงเลี้ยงชีพมารดาบิดา บุตรภรรยา จงประกอบการงานอันเกื้อกูลแก่สวรรค์ ในสมณพราหมณ์ด้วยทรัพย์นี้เถิด

3 สั่งประหารโดยการตัดคอ
ดูกรภิกษ ท. มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า คนขโมยทรัพย์ของคนอื่น พระเจ้าแผ่นดิน ยังพระราชทานทรัพย์ให้อีก จึงว่าเราก็ควรขโมยทรัพย์ของคนอื่นบ้าง
ท้าวเธอจึงตรัสถามว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่าเธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ
บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
ร. เพราะเหตุไร ฯ
บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ
ท้าวเธอจึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยทรัพย์ของคนอื่น การขโมย จักเจริญ ทวีขึ้น อย่ากระนั้นเลย จะทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสีย

4 มนุษย์กลัวโทษตัดคอ จึงทำอาวุธ แล้วออกปล้น อายุมนุษย์จึงลดลง
ดูกรภิกษ ท. มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า พระเจ้าแผ่นดินให้คุมตัวบุคคลที่ ขโมย ทรัพย์ของคนอื่น ถูกตัดตอ จึงทำอาวุธ ปล้นตามบ้าน ปล้นนิคม ปล้นพระนคร ปล้นตามถนน จนถูกจับได้ และถูกประหารด้วยการตัดศรีษะ ปาณาติบาตแพร่หลาย มุสาวาทก็แพร่หลาย อายของสัตว์ก็เสื่อมถอย วรรณะก็เสื่อมถอย บุตรของมนุษย์ที่มี อายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็ถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี

5 มนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี
ดังที่พรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ ความขัดสนก็แพร่หลาย อทินนาทานก็แพร่หลาย ศัสตราก็แพร่หลาย ปาณาติบาตก็แพร่หลาย
มุสาวาทก็แพร่หลาย อายุของสัตว์ก็เสื่อมถอย วรรณะก็เสื่อมถอย บุตรของมนุษย์ที่มี อายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี

6 มนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๒๐,๐๐๐ ปี
ดังที่พรรณนามานี้ เมื่อพวกเขาเสื่อม ถอยจากอายุบ้าง จากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็มี  อายุ ๒๐,๐๐๐ ปี

7 มนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี
ดังพรรณนามานี้ บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี

8 มนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี
ดังพรรณนามานี้ กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ถึงความแพร่หลาย บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯ

9 มนุษย์ที่มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๒,๕๐๐ ปีบ้าง ๒,๐๐๐ ปีบ้าง
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ผรุสวาจา(คำด่า) และสัมผัปปลาปะ(เพ้อเจ้อ) ก็แพร่หลาย บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกุ ๒,๐๐๐ ปี

10 มนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๑,๐๐๐ ปี
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌา(โลภ) และพยาบาท ก็แพร่หลาย บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุ ถอยลงเหลือ ๑,๐๐๐ ปี

11 มนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิ ก็แพร่หลาย บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี

12 มนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๒๕๐ ปีบ้าง ๒๐๐ ปีบ้าง
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี อธรรมราคะ วิสมโลภ  มิจฉาธรรม ก็แพร่หลาย บุตร  ของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี

13 มนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี

เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ความไม่ปฏิบัติ ชอบในมารดา ในบิดา และในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อม ต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็แพร่หลาย บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปีก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี

14 ช่วงสุดท้าย.. มนุษย์ที่มีอายุ ๑๐
เมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น
หญ้ากับแก้ จักเป็นอาหารอย่างดี เปรียบเหมือนข้าวสุก หรือ ข้าวสาลีปนเนื้อสัตว์
กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรือง
คำว่า กุศล ก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน

พวกที่ไม่มีศีลธรรม
จักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา บิดา สมณะ พราหมณ์ จักอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เขาจักไม่คิดยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์
สัตว์โลกจัก สมสู่ ปะปนกันหมด เปรียบเหมือนแพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก
สัตว์เหล่านั้นจะเกิดความอาฆาต พยาบาท คิดจะฆ่าผู้อื่นอย่างแรงกล้า
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จะเกิดสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วัน(ฆ่ากันเอง)โดยคิดว่า นี้เนื้อ

พวกที่มีศีลธรรม
สัตว์บางพวกที่มีศีลธรรมจะหาที่หลบซ่อน หลังพ้น ๗ วัน ก็ออกมาพบกันดีใจ
สัตว์เหล่านั้นมีความคิดว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะทำแต่อกุศล เราจึงควรทำกุศล
เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง วรรณะบ้าง
บุตรที่มีอายุ ๑๐ ปี จักเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี
ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี  จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒,๐๐๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีจักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี
บุตรของคนมีอายุ ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปีจักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี  อายุ ๕๐๐ ปีจึงจัก สมควร มีสามีได้
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ
ความอยากกิน ๑
ความไม่อยากกิน ๑  
ความแก่ ๑


เมื่อมนุษย์ มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
ชมพูทวีปนี้จักมั่งคั่ง รุ่งเรือง มีบ้านนิคม และราชธานี พอชั่วไก่บินตก ชมพูทวีปนี้ จัก ยัดเยียดไปด้วยผู้คน เหมือนป่าไม้อ้อ ป่าสาลพฤกษ์ เมืองพาราณสี นี้ จักเป็น ราชธานี มีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีพลเมืองมาก ผู้คนคับคั่ง และมี อาหารสมบูรณ์

ในชมพูทวีปนี้ จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข จักมีพระเจ้า จักรพรรดิ์นามว่า พระเจ้าสังขะ เป็นผู้ทรงธรรม มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
มั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑  ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้ว เป็น ที่ ๗

พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญมีรูปทรง สมเป็น วีรกษัตริย์ 
สามารถ ย่ำยี เสนาของ ข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะ โดยธรรมมิต้องใช้ อาชญา มิต้อง ใช้ศัสตรา ครอบครอง แผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต ฯ

พระผู้มีพระภาค ทรงพระนามว่า เมตไตรย์ จักเสด็จ อุบัติขึ้นในโลก

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์