เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ลดลงเหลือ 10 ปี 773
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ลดลงเหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี  
เมื่อกษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนจน ความขัดสนก็แพร่หลาย
เมื่อความขัดสนแพร่หลาย อทินนาทาน (การโขมย) ก็แพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานแพร่หลาย ศัสตราก็แพร่หลาย
เมื่อศัสตราแพร่หลาย ปาณาติบาต(การฆ่า) ก็แพร่หลาย
เมื่อปาณาติบาตแพร่หลาย มุสาวาท(พูดโกหก) แพร่หลาย
เมื่อมุสาวาทแพร่หลาย อายุของสัตว์ก็เสื่อมถอย วรรณะเสื่อมถอย
เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง จากวรรณบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็ถอยลงเหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมยทรัพย์ของคนอื่น จึงช่วยกันจับบุรุษ
นั้นส่งให้พระราชา บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จ(โกหก) ว่าไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ลดลงเหลือ ๒๐,๐๐๐ ปี 
เมื่อกษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนจน ความขัดสนก็แพร่หลาย
เมื่อความขัดสนแพร่หลาย อทินนาทาน (การโขมย) ก็แพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานแพร่หลาย ศัสตราก็แพร่หลาย
เมื่อศัสตราแพร่หลาย ปาณาติบาต(การฆ่า) ก็แพร่หลาย
เมื่อปาณาติบาตแพร่หลาย มุสาวาท(พูดโกหก) แพร่หลาย
เมื่อมุสาวาทแพร่หลาย อายุของสัตว์ก็เสื่อมถอย วรรณะเสื่อมถอย
เมื่อพวกเขาเสื่อมถอย จากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็ถอยลง เหลือ ๒๐,๐๐๐ ปี
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมยทรัพย์ของคนอื่น
บุรุษอีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลแก่พระราชาผู้กษัตริย์ เป็น การส่อเสียด ว่า
พระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ลดลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี 
เมื่อกษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนจน ความขัดสนก็แพร่หลาย
เมื่อความขัดสน แพร่หลาย ปิสุณาวาจา ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปิสุณาวาจา(ส่อเสียด)แพร่หลาย อายุของสัตว์ก็เสื่อมถอย วรรณก็เสื่อมถอย
เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง จากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะดี บางพวกมีวรรณะไม่ดี
สัตว์ที่มีวรรณะไม่ดี ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดี ถึงความประพฤติล่วงภรรยา ของคนอื่น

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ลดลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี 
เมื่อกษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ ให้คนจน ความขัดสนก็แพร่หลาย
เมื่อความขัดสนแพร่หลาย อทินนาทานก็แพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจาร(ประพฤติผิดในกาม) ก็แพร่หลาย
เมื่อกาเมสุมิจฉาจารแพร่หลาย อายุของสัตว์ก็เสื่อมถอย วรรณะก็เสื่อมถอย
เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง จากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๕,๐๐๐ ปี

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๕,๐๐๐ ปี ลดลงเหลือ ๒,๕๐๐ ปีบ้าง ๒,๐๐๐ บ้าง
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ผรุสวาจา(คำหยาบ) และ สัมผัปปลาปะ(เพ้อเจ้อ)ก็แพร่หลาย
เมื่อคำหยาบ เพ้อเจ้อ แพร่หลาย อายุของสัตว์ก็เสื่อมถอย วรรณะก็เสื่อมถอย
เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจาก วรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ก็มีอาถอยลง ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๒,๕๐๐ ปี ลดลงเหลือ ๑,๐๐๐ ปี 
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌา และพยาบาท ก็แพร่หลาย
เมื่ออภิชฌา และพยาบาทแพร่หลาย อายุของสัตว์ และวรรณะ ก็เสื่อมถอย
เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง จากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑,๐๐๐ ปี

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๑,๐๐๐ ปี ลดลงเหลือ ๕๐๐ ปี 
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิก็แพร่หลาย
เมื่อมิจฉาทิฐิ แพร่หลาย อายุของสัตว์ และวรรณะก็เสื่อมถอย
เมื่อพวกเขาเสื่อมถอย จากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๕๐๐ ปี ลดลงเหลือ ๒๕๐ ปี บ้าง ๒๐๐ ปี บ้าง
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี อธรรมราคะ (กำหนัดในอธรรม) วิสมโลภ (โลภในทางทุจริต) 
มิจฉาธรรม(หลักธรรมที่ผิดแนวสัจจะ) ก็แพร่หลาย

เมื่อธรรม ๓ ประการแพร่หลาย อายุ และวรรณะของสัตว์ก็เสื่อมถอย
เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง จากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา บิดา สมณะ พราหมณ์
ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็แพร่หลาย

เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๒๕๐ ปี ลดลงเหลือ ๑๐๐ ปี
เมื่อกษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนจน ความขัดสนก็แพร่หลาย
เมื่อความขัดสนแพร่หลาย อทินนาทานก็แพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานแพร่หลาย ศัสตราก็แพร่หลาย
เมื่อศัสตราแพร่หลาย ปาณาติบาตก็แพร่หลาย
เมื่อปาณาติบาตแพร่หลาย มุสาวาทก็แพร่หลาย
เมื่อมุสาวาทแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็แพร่หลาย
เมื่อปิสุณาวาจาแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็แพร่หลาย
เมื่อกาเมสุมิจฉาจารแพร่หลาย คำผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะก็แพร่หลาย
เมื่อธรรม ๒ ประการแพร่หลาย อภิชฌา และพยาบาทก็แพร่หลาย
เมื่ออภิชฌาและพยาบาทแพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็แพร่หลาย
เมื่อมิจฉาทิฐิแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการ อธรรมราคะ วิสมโลภมิจฉาธรรม ก็แพร่หลาย
เมื่อความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา บิดา สมณะ พราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมฯ ก็แพร่หลาย
เมื่อธรรมเหล่านี้แพร่หลาย อายุ และวรรณะก็เสื่อมถอย
เมื่อสัตว์เสื่อมถอยจากอายุบ้าง วรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปีก็ถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี

เมื่ออายุมนุษย์ลดลงเหลือ ๑๐ ปี
เมื่อมนุษย์ มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักมีสามีได้
เมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี รสเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักหายไป
เมื่อมนุษย์ มีอายุ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ (หญ้าชนิดหนึ่ง) จักเป็นอาหารอย่างดี
เปรียบเหมือนข้าวสุก ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธาน อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรือง
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่า กุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนจักไม่ปฏิบัติชอบต่อ มารดา บิดา สมณะ พราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา สรรเสริญ เหมือนปฏิบัติชอบต่อมารดาบิดา สมณะ พราหมณ์
เขาจักไม่เคารพยำเกรง ว่านี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา
สัตว์โลกจะสมสู่กัน เปรียบเหมือน แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จะอาฆาตพยาบาท คิดร้าย คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้า
ในมารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี

 
 


ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๔๔  - ๖๔


เหตุที่ทำให้มนุษย์ อายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ลดลงเหลือ 10 ปี

      [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสน ถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน (การโขมย) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตรา ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาต(การฆ่า) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาท(พูดโกหก) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาท ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะ ก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอย จากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่ง ขโมยเอาทรัพย์ของ คนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้ มูรธาภิเษก พร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้าบุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ ของคนอื่น ไป ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อเขาพากันกราบทูลอย่าง นี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษ นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ คนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่ว่า ไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ

...........................................................................................

      [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ ให้แก่คน ที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสน ถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึง ความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความ แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอย จากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็มี  อายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมย  เอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลแก่พระราชาผู้กษัตริย์ซึ่งได้  มูรธาภิเษกเป็นการส่อเสียดว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ ขโมยเอาทรัพย์ ของคนอื่นไป ฯ

...........................................................................................

      [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสน ถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจา ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณก็ เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะดี สัตว์บางพวกมี วรรณะไม่ดี ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดี ถึงความประพฤติ ล่วงในภรรยา ของคนอื่น ฯ

...........................................................................................

      [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ พระราชทานทรัพย์ ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทาน ถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจาร(ประพฤติผิดในกาม)ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจาร ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขา เสื่อมถอย จากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ธรรม ๒ ประการคือ  ผรุสวาจา(คำหยาบ) และ สัมผัปปลาปะ(พูดเพ้อเจ้อ) ก็ได้ ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์ เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะ ก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจาก วรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาท ก็ได้ถึง ความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌา และพยาบาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์ เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๑,๐๐๐ ปี ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความ แพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอย จากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะวิสมโลภ  มิจฉาธรรม  ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลายแม้อายุของสัตว์ เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็ เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจาก วรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความ ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อม ต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ ถึงความแพร่หลาย ฯ

...........................................................................................

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้
เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย

เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อกาเมสุมิจฉาจาร ถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภมิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้


คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติ ชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรมเหล่านี้ถึง ความ แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้น เสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปีก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ

      [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน เมื่อมนุษย์ มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น

      ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนข้าวสุก ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่า กุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลาย จักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติ ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ในบัดนี้ ฯ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่านี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา ของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความ สมสู่ ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ  ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความ อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตร ก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชาย กับ น้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชาย ก็ดี จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากัน อย่างแรงกล้า นายพรานเนื้อเห็นเนื้อ เสริญจำพวกหนึ่งเช่นนี้ ไฉนพวกพราหมณ์จึงพากันอวดอ้างอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะ ที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พวกพราหมณ์เป็นวรรณะขาว พวกอื่น เป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียว บริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์ หาบริสุทธิ์ไม่ พราหมณ์พวกเดียวเป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้เล่า ท่านผู้รู้  ทั้งหลายย่อมไม่รับรอง ถ้อยคำของพวกเขา ข้อนั้นเพราะเหตุไร

       ดูกรวาเสฏฐะและ ภารทวาชะ เพราะว่า บรรดาวรรณะทั้งสี่เหล่านั้น ผู้ใดเป็น ภิกษุสิ้นกิเลส และ อาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ได้วางภาระเสีย แล้วลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว เพราะรู้โดยชอบผู้นั้นปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่า คนทั้งหลาย โดยชอบธรรมแท้ มิได้  ปรากฎโดยไม่ชอบธรรมเลย ด้วยว่าธรรมเป็นของประเสริฐ ที่สุด ในหมู่ชน ทั้งใน เวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ดูกรวาเสฏฐะ และ ภารทวาชะ โดยบรรยายนี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้น เป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ

      [๕๔] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงทราบ แน่ชัดว่า พระสมณโคดมผู้ยอดเยี่ยมได้ทรงผนวชจากศากยตระกูล ดังนี้ ดูกรวาเสฏฐะและ ภารทวาชะ ก็พวกศากยตระกูลยังต้องเป็นผู้โดยเสด็จพระเจ้าปัสเสน ทิโกศลอยู่ทุกๆ ขณะและพวกเจ้าศากยะ ต้องทำการนอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมในพระเจ้าปัสเสนทิโกศลอยู่

      ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล พวกเจ้าศากยะ ยังต้องกระทำการ นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมอันใด อยู่ในพระเจ้าปัสเสนทิโกศล แต่งถึงกระนั้น กิริยาที่นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลี กรรม และสามีจิกรรมอันนั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศลก็ยังทรงกระทำอยู่ ในตถาคต ด้วยทรงถือว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มี พระชาติสูง เรามีชาติต่ำกว่า พระสมณ โคดมเป็นผู้มีพระกำลัง เรามีกำลังน้อยกว่า พระสมณโคดม เป็นผู้มีคุณ น่าเลื่อมใส เรามีคุณน่าเลื่อมใสน้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สูงศักดิ์ เราเป็นผู้ ต่ำศักดิ์กว่าดังนี้ แต่ที่แท้ พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไหว้ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในตถาคตอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรวาเสฏฐะ และ ภารทวาชะโดยปริยายนี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็นของ ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์