เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
   ความหมายของคำว่า "โลก" (รวบรวมจากหลายพระสูตร) 774
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ความหมายของคำว่า "โลก"
(รวบรวมจากหลายพระสูตร)






 
 


ความหมายของคำว่า "โลก"



“สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค3

“แน่ะเธอ ! ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวว่าใคร ๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลก นั้น ด้วยการไป

“แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณ วาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญา และใจนี่เอง เราได้บัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิทไม่เหลือ ของโลก และทางดำเนินให้ถึง ความดับสนิทไม่เหลือของโลก ไว้”ดังนี้แล



อาณาจักรแห่งโลกอุดร (นิพพาน)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค3 หน้า 440

ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่อาจเข้าไปอยู่ ในที่ใด  
ในที่นั้นดาวศุกร์ทั้งหลาย ย่อมไม่ส่องแสง  
ในที่นั้น  ดวงอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏ
ในที่นั้น ดวงจันทร์ก็ไม่ส่องแสง  
แต่ความมืด ก็มิได้มีอยู่ ในที่นั้น.

ในกาลใด มุนี ผู้ตั้งหน้าปฏิบัติ
ได้รู้แจ่มแจ้ง ด้วยตนเอง ด้วยความรู้  
ในกาลนั้น มุนีนั้น ย่อมพ้นไปจากรูป
ย่อมพ้นไปจากอรูป ย่อมพ้นไปจากสุขและทุกข์
โดยสิ้นเชิง ดังนี้แล



เมื่อ “เธอ” ไม่มี
(พาหิยะ)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค3 หน้า 441

พาหิยะ ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น
ได้ฟังเสียงแล้วสักว่าฟัง ได้กลิ่น ลิ้มรส  สัมผัสทางผิวกาย
ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ก็สักว่าได้รู้แจ้ง แล้ว

เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี
เมื่อใด “เธอ” ไม่มี
เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้

ไม่ปรากฏในโลกอื่น  
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง

นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ ละ



อาการเกิดขึ้นแห่งโลก
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค3 หน้า 345

ภิกษุ ท. ! การก่อขึ้นแห่งโลก (ปัญจุปาทานขันธ์) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งตา+รูป+จักขุวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมี เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือการก่อขึ้นแห่งโลก

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย หูด้วย เสียงด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งหู+เสียง+โสตวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือการก่อขึ้นแห่งโลก

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย จมูกด้วยกลิ่นด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งจมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รสด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณขึ้น;การประจวบพร้อม (แห่งลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย กายด้วย โผฏฐัพพะด้วย จึงเกิดกายวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งกาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้นจึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ใจด้วย ธรรมารมณ์ด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งใจ+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้นจึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก

ภิกษุ ท. ! นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก แล



เห็นโลกก็เห็นเหมือนเห็นฟองนํ้าและพยับแดด

อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค3 หน้า 433

บุคคลพึงเห็นฟองนํ้า ฉันใด พึงเห็นพยับแดด ฉันใด
พญามัจจุราชจักไม่เห็นผู้ที่พิจารณา เห็น
โลก ฉันนั้นอยู่ แล

(ผู้เห็นโลก ย่อมปลอดจากมัจจุราช)



เห็นโลกชนิดที่ความตายไม่เห็นเรา

อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค3 หน้า 433

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเทพฤษี ! ....ข้าพระองค์จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไรความตาย จึงไม่แลเห็นข้าพระองค์เล่า พระเจ้าข้า !”


ดูก่อนโมฆราช ! ท่านจงเป็นคนมีสติ 
ถอนความเห็นว่าเป็นตัวตนออกเสีย 
พิจารณาเห็น โลก โดยความเป็นของว่างเปล่าทุกเมื่อเถิด

ท่านจะพึงข้ามความตายเสียได้ ด้วยข้อ ปฏิบัติอย่างนี้ 
ความตายจะไม่แลเห็นท่าน 
ผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่ โดยอาการอย่างนี้ แล.



ความมืดบอดของโลก มีตลอดเวลาที่พระตถาคตไม่เกิดขึ้น

มหาวาร. ส์. ๑๙/๕๕๓/๑๗๒๑.

ภิกษุ ท.! ตลอดกาลเพียงใด ที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ยังไม่บังเกิดขึ้นในโลก ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่าง อันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี ตลอดกาล เพียงนั้น

ในกาลนั้น มีอยู่แต่ความมืด เป็นความมืด ซึ่งกระทำความบอด กลางคืนกลางวัน ก็ยังไม่ ปรากฏ เดือนหรือ กึ่งเดือน ก็ไม่ปรากฏ ฤดูหรือปี ก็ไม่ปรากฏ ก่อน

ภิกษุ ท.! แต่ว่าในกาลใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก ในกาลนั้น ความปรากฏ แห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวงย่อมมี

ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด ลำดับนั้น กลางคืน กลางวัน ย่อมปรากฏ เดือนหรือ กึ่งเดือน ย่อมปรากฏ ฤดูหรือปี ย่อมปรากฏ นี้ฉันใด

ภิกษุ ท.! ข้อนี้ ก็ฉันนั้น ตลอดกาลเพียงใด ที่ตถาคตผู้อรหันต- สัมมาสัมพุทธะ
ยังไม่บังเกิดขึ้นในโลก ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่าง อันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี ตลอดกาลเพียงนั้น

ในกาลนั้น มีอยู่ แต่ความมืด เป็นความมืด ซึ่งกระทำความบอด การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่ง อริยสัจทั้งสี่ ก็ยังไม่มีก่อน

ภิกษุ ท.! แต่ว่า ในกาลใดแล ตถาคตผู้อรหันต- สัมมาสัมพุทธะ บังเกิดขึ้นโลก ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่าง อันใหญ่หลวง ย่อมมี 

ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่ง กระทำความบอด ลำดับนั้น ย่อมมีการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ซึ่งอริยสัจทั้งสี่อย่างไรเล่า ?

คือซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง กระทำโยคกรรม เพื่อให้รู้ว่า "นี้ ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย นี้ ทุกขนิโรธ นี้ ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา" ดังนี้เถิด.



กำเนิดสัตว์- ง้วนดิน -โลกธาตุ
(คัดย่อจากพระสูตร อัคคัญญสูตร) ฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๖๑

 

1. เมื่อโลกพินาศ สัตว์ส่วนใหญ่ไปเกิดในชั้น อภัสรพรหม
ระยะกาลยืดยาวช้านาน เมื่อโลกกำลังพินาศ สัตว์โดยมากจะไปเกิดในชั้น "อาภัสสรพรหม" สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออก จากกาย สัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวนาน

2.โลกเจริญขึ้น สัตว์ในชั้นอภัสรพรหมพากันมาสู่โลก มีรัศมีรอบกาย
มีสมัยบางครั้งบางคราว ที่โลกนี้กลับเจริญขึ้น สัตว์จะพากันจุติ(เคลื่อน)จากชั้น อาภัสสรพรหม ลงมา และสัตว์นั้น ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออก จากกาย สัญจรไปได้ในอากาศ

3. แต่เดิมจักรวาลยังมืดมิด และเต็มไปด้วยน้ำ ยังไม่มีดวงดาวต่างๆ
เดิมทีจักรวาลเป็นน้ำทั้งนั้น(นำเต็มทั่วจักรวาล) เป็นจักรวาลที่มืด ไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ยังไม่ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรยังไม่ปรากฏ กลางวันกลางคืน ยังไม่ปรากฏ เดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปี ก็ยังไม่ปรากฏ เพศชาย-เพศหญิง ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่า “สัตว์” เท่านั้น

4. ปรากฏง้วนดินลอยบนน้ำ สัตว์จึงลองชิม รู้สึกซาบซ่าน
ครั้นกาลยืดยาวนาน เกิด “ง้วนดิน” ลอยอยู่บนน้ำเหมือนนมสดที่เคี่ยวให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็น จับเป็นฝ้า ง้วนดิน มี สี กลิ่น รส คล้าย เนยใส หรือ เนยข้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้ง  ต่อมามี สัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลน(หยาบโลน) พูดว่านี่.. อะไร แล้วเอานิ้วช้อนง้วนดินลองลิ้มดู รู้สึกซาบซ่าน จึงเกิดความอยากขึ้น สัตว์พวก อื่น ก็พากันลองลิ้มดู ต่อมาสัตว์เหล่านั้นพยายามปั้นง้วนดิน ให้เป็นคำๆด้วยมือ แล้วบริโภค

5. เมื่อสัตว์กินง้วนดิน พอใจในรส รัศมีก็หายไป ระบบจักรวาลปรากฏ
เมื่อพวกสัตว์พยายามปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ ด้วยมือแล้วบริโภคอยู่นั้น รัศมีกายของ สัตว์เหล่านั้นก็หายไปแล้ว จากนั้นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ก็ปรากฎ ดาวนักษัตร ทั้งหลายปรากฏ กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล โลกนี้จึงกลับเจริญขึ้นมาอีกฯ
6. สัตว์กินง้วนดิน ทำให้ร่างกายแข็งกล้า ทำให้มีผิวงาม-ไม่งาม เกิดดูหมิ่น
ต่อมาสัตว์เหล่านั้นพากันรับประทานง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลนาน จึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้น ผิวพรรณก็ต่างกันไป บางพวกมีผิวงาม ดูถูกพวกผิวไม่งาม เกิดการดูหมิ่นในเรื่องผิวพรรณ จากนั้นง้วนดินก็หายไป

7. ง้วนดินหายไป เกิดกระบิดิน คล้ายเห็ด สัตว์พอใจในรสอร่อย
เมื่อง้วนดินหายไป สัตว์เหล่านั้นจึงพากันจับกลุ่ม ต่างก็บ่นถึงกันว่า รสดีจริง รสดีจริง เหมือนเช่นคนเราทุกวันนี้ ที่ชอบรสดีรสอร่อย ครั้นต่อมาเมื่อง้วนดินของสัตว์เหล่านั้น หายไปแล้ว ก็เกิดมี กระบิดิน ขึ้น กระบิดินนั้นคล้ายเห็ด มีสีเหมือนเนยใส หรือ เนยข้นอย่างดี รสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็ก ไม่มีโทษ สัตว์เหล่านั้นจึงบริโภคกระบิดินเป็น อาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลนาน

8.กระบิดินหายไป เพราะการดูหมิ่น และทะนงตนในเรื่องผิวพรรณ
สัตว์เหล่านั้นบริโภคกระบิดิน ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์จึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้น มีผิวพรรณแตกต่างกันไป เกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกันขึ้น เพราะทะนงตัว ปรารภผิวพรรณ กระบิดินก็หายไป

9. เกิดเครือดิน คล้ายผลมะพร้าว มีสีคล้ายเนยใส มีกลิ่น รสอร่อย
เมื่อกระบิดินหายไป  ก็เกิดมีเครือดินขึ้น เครือดิน คล้ายผลมะพร้าว มีสี รส กลิ่น มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็ก อันหาโทษมิได้ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บริโภคเครือดิน รับประทานเครือดิน มีเครือดินเป็นอาหารดำรงมาได้สิ้น กาลช้านาน

10.สัตว์มีร่างกายแข็งกล้าขึ้น เครือดินหายไป เกิดความเสียดาย.. เกิดทุกข์ สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ผิวพรรณก็แตกต่างกัน สัตว์บางพวก มีผิว พรรณงาม บางพวกผิวไม่งาม เกิดมีการไว้ตัว ดูหมิ่นกัน ทะนงตัว เครือดินก็หายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว ต่างก็บ่นถึงกันว่าเครือดินได้สูญหายเสียแล้วหนอ (ทุกวันนี้ ก็เหมือนกัน คนเราพอถูกความทุกข์มากระทบ ก็มักบ่นกันอย่างนี้ว่าสิ่งของที่เคยมี แต่เดี๋ยวนี้สูญหายเสียแล้วหนอ)

11. เครือดินหายไป เกิดข้าวสาลีขึ้นเอง เป็นข้าวไม่มีรำ ไม่มีแกลบ
ต่อมาเครือดินหายไป ก็เกิดมี ข้าวสาลี ขึ้นเอง เป็นข้าวไม่มีรำ ไม่มีแกลบ ขาวสะอาด กลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ตอนเย็นสัตว์เอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคตอนเช้า
ข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าสัตว์เอาข้าวสาลีใดมา เพื่อ บริโภคตอนเย็น ข้าวสาลีชนิดนั้น ที่มีเมล็ดสุกแล้วก็งอกขึ้นแทนที่ ครั้งนั้นพวกสัตว์ บริโภคข้าวสาลีที่เกิดขึ้นเอง ดำรงมาได้สิ้นกาลช้านาน

12. เกิดเพศหญิง เพศชาย จึงเกิดความกำหนัด
สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าต่างกัน สตรีก็มี เพศหญิงปรากฏ บุรุษก็มีเพศชายปรากฏ สตรีเพ่งดูบุรุษอยู่เสมอ บุรุษก็เพ่งดูสตรี ต่างก็เพ่งดูกันอยู่เสมอ เกิดความกำหนัดขึ้น จึงเสพเมถุนธรรมกัน

13.สัตว์บางพวกรังเกียจการเสพเมถุน จึงโปรยฝุ่นใส่ พูดว่าคนชั่วจงฉิบหาย
สัตว์พวกใด เห็นพวกอื่นเสพเมถุนธรรม ย่อมโปรยฝุ่นใส่ โปรยเถ้าใส่ โยนมูลโคใส่ พร้อมกับพูดว่าคนชาติชั่ว จงฉิบหาย แล้วพูดต่อไปว่า “ทำไมสัตว์ จึงทำแก่สัตว์ ด้วยกัน”  สมัยนั้นการโปรยฝุ่นใส่กันเพราะเห็นว่า อีกฝ่ายหนึ่งไม่เป็นธรรม (มาใน บัดนี้ ถือเป็นเรื่องปกติ) สมัยนั้นสัตว์พวกใดเสพเมถุนกัน ก็จะเข้าบ้านหรือนิคมไม่ได้  ต้องรอจนสิ้นสองเดือนบ้าง สามเดือนบ้าง

14. สัตว์ที่เสพเมถุน สร้างเรือนเพื่อมุงบัง
เมื่อใดแล สัตว์ทั้งหลายพากันเสพอสัทธรรมนั่นอยู่เสมอ เมื่อนั้น จึงพยายามสร้าง เรือนกันขึ้น เพื่อเป็นที่กำบัง อสัทธรรม (ถือเป็นเรื่องเสียหายน่ารังเกียจ) ครั้งนั้นสัตว์ ผู้หนึ่งเกิดความเกียจคร้านขึ้น จึงได้มีความเห็นว่า เรานี่ช่างลำบากที่ต้องไปเก็บข้าว สาลี ทั้งในเวลาเย็นสำหรับอาหารเย็น ทั้งในเวลาเช้าสำหรับอาหารเช้า อย่ากระนั้น เลย เราควรไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้เพื่อบริโภคทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวเถิด

15. สัตว์เก็บข้าสาลีมาเก็บไว้ จะได้ไม่ต้องออกไปหาบ่อยๆ
ต่อแต่นั้นมา สัตว์ผู้นั้นก็ไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้ เพื่อบริโภค ทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราว เดียวกัน ต่อมาสัตว์อื่นๆ ถือตามแบบอย่างของสัตว์ผู้นั้น จึงไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้ คราวเดียวเพื่อสองวัน สี่วัน... แปดวัน และสะสมมากขึ้น ข้าวสาลีจึงกลายเป็นข้าวมีรำ ห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้ว ก็ไม่กลับงอกแทน (จากเดิม ที่ข้าวสาลีงอกเอง)

16. สัตว์เริ่มปักปันเขตแดน เริ่มวางกฎ ลงโทษกัน รู้จักบาป จากความโลภ
ครั้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายจึงแบ่งข้าวสาลี ปักปันเขตแดนกัน สัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลภ สงวนส่วนของตนไว้  แต่ไปเอาของสัตว์อื่นที่ไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์ทั้งหลายจึงช่วย กันจับมาตักเตือนว่า “ท่านกระทำกรรมชั่วช้านัก ท่านอย่าได้กระทำอีกเลย” สัตว์ผู้นั้นรับคำ แต่ก็ยังทำซ้ำอีก แม้ครั้ง ที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์พวกหนึ่ง จึงประหารด้วยฝ่ามือ พวกหนึ่งประหารด้วยก้อนดินบ้าง พวกหนึ่งประหารด้วย ท่อนไม้ เพราะเหตุนั้น การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ ให้จึงปรากฏ การ ติเตียนจึงปรากฏ การกล่าวเท็จ จึงปรากฏการถือท่อนไม้จึงปรากฏ บาปธรรม เกิดปรากฏแล้วในสัตว์ทั้งหลาย

17. "สัตว์” ที่สวยงามกว่า น่าเลื่อมใส มาเป็นหัวหน้า เพื่อติเตียนสัตว์อื่น
ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นพากันเข้าไปหาสัตว์ที่ สวยงามกว่าน่าดูชมกว่า น่าเลื่อมใสกว่า และน่าเกรงขามมากกว่าสัตว์ทุกคนแล้ว จึงแจ้งเรื่องนี้ว่า ข้าแต่สัตว์ ผู้เจริญ มาเถิดพ่อ ขอพ่อ จงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบเถิด ส่วนพวกข้าพเจ้าจักแบ่ง ส่วนข้าวสาลี ให้แก่พ่อ สัตว์ผู้นั้นแลรับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว จึงว่ากล่าวผู้ที่ ควรว่ากล่าวได้ โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ ส่วนสัตว์ เหล่านั้น ก็แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่สัตว์ ที่เป็นหัวหน้านั้นฯ (เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เกิดเป็นอันดับ1 จึงเกิดคำว่ากษัตริย์เป็นอันดับ2 ราชาจึงตามมาเป็นอันดับ3)

18. เกิดประเพณีลอยบาป (ลอยอกุศลธรรม)จากการถือเอาสิ่งของผู้อื่น
ครั้งนั้นแล สัตว์บางจำพวกได้มี ความคิดขึ้น อย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย การถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การติเตียนจักปรากฏ การกล่าวเท็จจักปรากฏ การถือ ท่อนไม้ จักปรากฏ การขับไล่จักปรากฏ ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรมเหล่านั้น เกิดปรากฏแล้ว ในสัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลยพวกเราควร ไป “ลอยอกุศลธรรม”ที่ชั่วช้ากันเถิด สัตว์ เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้าแล้ว

19. เกิดกระท่อมมุงบังด้วยไม้ เพื่อหุงหาอาหาร เกิดนิคม พราหมณ์ปรากฏ
เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้าอยู่ ดังนี้แล พวก พราหมณ์ๆ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรก  พราหมณ์เหล่านั้นพากันสร้าง กระท่อมซึ่งมุง และบังด้วย ใบไม้ในราวป่า เพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุง และบังด้วยใบไม้ พวกเขาหุง ไม่มีการหุงต้ม และไม่มีการตำข้าว เวลาเย็น เวลาเช้า ก็พากันเที่ยวแสวงหาอาหาร(เดินขอ) ตาม คามนิคมและราชธานี เพื่อบริโภคในเวลาเย็นเวลาเช้า เขาเหล่านั้น ครั้นได้อาหาร แล้ว จึงพากันกลับไปเพ่ง(ฌาน)อยู่ในกระท่อมซึ่งมุง และบังด้วยใบไม้ ในราวป่าอีก

20. การปรากฏของพราหมณ์อยู่ป่า และกำเนิดคัมภีร์ ของพราหมณ์อยู่นิคม
พวกเจริญฌาน จึงอุบัติขึ้นเป็น อันดับที่สอง บรรดาสัตว์เหล่านั้นแล สัตว์บางพวก เมื่อไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้  จึงเที่ยวไปยังคาม และ นิคมที่ใกล้ เคียง แล้วก็จัดทำ “พระคัมภีร์ “มาอยู่ คนทั้งหลายเห็นพฤติการณ์ของ พวกพราหมณ์นี้นั้นแล้ว จึงพูดอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย ก็สัตว์เหล่านี้ ไม่อาจสำเร็จฌาน ได้ที่กระท่อมซึ่งมุงและบัง ด้วยใบไม้ในทวาชะราวป่า เที่ยวไป ยังบ้าน และนิคมที่ ใกล้เคียง จัดทำพระคัมภีร์ไปอยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้ พวกชนเหล่านี้ ไม่เพ่งอยู่ ดังนี้แล อักขระว่า อชฺฌายิกา อชฺฌายิกา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สาม (เกิดพราหมณ์ที่เพ่งฌานในป่า กับพวกที่เขียนคัมภีร์)

21. พราหมณ์อุบัติ สอนเรื่องมนต์ (การบอกสอนถือว่าไม่ดี แต่สมัยนี้ถือว่าดี)
ก็สมัยนั้นการทรงจำการสอน การบอกมนต์ ถูกสมมติว่าเลว มาในบัดนี้ สมมติว่า ประเสริฐ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล การอุบัติขึ้นแห่งพวกพราหมณ์ นั้นมีขึ้นได้ เพราะอักขระ ที่รู้กันว่าเป็นของดีเป็นของโบราณอย่างนี้แล เรื่องของสัตว์ เหล่านั้น จะต่างกัน หรือ เหมือนกันจะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ความจริงธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในประชุมชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลา ภายหน้า

22.การอุบัติของพวกพ่อค้า แพศย์ ศูทร และธรรมมะ (ความจริงอันประเสริฐ)
บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางจำพวกยึดมั่น เมถุนธรรมแล้วประกอบการงานเป็นแผนกๆ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรมแล้ว ประกอบการงาน เป็นแผนกๆ นั้นแล อักขระว่า เวสฺสา เวสฺสา(พวกพ่อค้า) ดังนี้ จึงอุบัติขึ้น (เวสสา เวสสะ แปลว่าพ่อค้า) ..การอุบัติขึ้นแห่งพวกแพศย์ มีขึ้นการอุบัติขึ้นแห่ง พวกศูทร มีขึ้น. แต่ธรรมเท่านั้น เป็นของประเสริฐสุด ทั้งเวลานั้น และในภายภาคหน้า

23. บรรพชิต หรือสมณะ เกิดขึ้น
สมัยที่กษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง ตำหนิธรรมของตน จึงได้ออก จากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยประสงค์ว่าเราจักเป็นสมณะ พวกสมณะจะเกิดมีขึ้นได้ จากวรรณะทั้งสี่นี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกัน หรือเหมือนกัน ก็ด้วยธรรม เท่านั้น ไม่ใช่ นอกไปจากธรรม ความจริงธรรมเท่านั้น เป็นของประเสริฐที่สุดใน ประชุมชน

24. วรรณะทั้ง 4 รู้จัก มิจฉาทิฏฐิ ที่จะพาให้เข้าถึงอบาย หลังกายแตก
กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์ก็ดี ...ศูทรก็ดี ...สมณะก็ดี ...ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นมิจฉาทิฐิ (เห็นผิด) ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจ มิจฉาทิฐิ เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เป็นเหตุเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งสิ้น

25. วรรณะทั้ง 4 รู้จัก สัมมาทิฏฐิ ที่เข้าถึงโลกสวรรค์ หลังกายแตก
กษัตริย์ก็ดี... พราหมณ์ก็ดี... แพศย์ก็ดี... ศูทรก็ดี...สมณะก็ดี..ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจ สัมมาทิฐิ เพราะยึดถือ การกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์

26. วรรณะทั้ง 4 รู้จัก กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์ก็ดี ... ศูทรก็ดี ...สมณะก็ดี ... มีปรกติกระทำ กรรมทั้งสอง [คือสุจริตและทุจริต] ด้วยกาย มีปรกติกระทำกรรม ทั้งสองด้วยวาจา มีปรกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยใจ มีความเห็นปนกัน ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ ความเห็นปนกัน เพราะยึดถือการ กระทำด้วยอำนาจความเห็นปนกัน เป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง

27. วรรณะทั้ง 4 รู้จักการสำรวมกายวาจาใจ เจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗
กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์ก็ดี ... ศูทรก็ดี ...สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัย การเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ ทีเดียวฯ ก็บรรดาวรรณะทั้งสี่นี้ วรรณะใด เป็นภิกษุ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ววางภาระเสียได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ โดยชอบ วรรณะนั้น ปรากฏว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายโดยธรรมแท้จริง

28. วรรณะกษัตริย์ประเสริฐสุด ในหมู่มนุษย์ และเทวดา
แม้สนังกุมารพรหม ก็ได้ภาษิตคาถาไว้ว่า กษัตริย์เป็นประเสริฐที่สุด ในหมู่ชน ผู้รังเกียจ ด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นประเสริฐที่สุด ในหมู่ เทวดา และ มนุษย์ ฯ ถึงเราก็กล่าวอย่างนี้ว่ากษัตริย์เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ผู้รังเกียจ ด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่ เทวดา และมนุษย์

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์