865-1
ทุพพิโนทยสูตร
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๖๖-๑๖๗ ข้อที่ ๑๖๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน ? คือ
๑ ราคะ
๒ โทสะ
๓ โมหะ
๔ ปฏิภาณ
๕ จิตคิดไปเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ฯ
865-2
ไฟ ๗ อย่าง
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๒/๔๓.
ภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๗ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ๗ อย่างอะไรบ้าง คือ
๑ ไฟคือราคะ
๒ ไฟคือโทสะ
๓ ไฟคือโมหะ
๔ ไฟคืออาหุไนยะ
๕ ไฟคือคหบดี
๖ ไฟคือทักขิไณยะ
๗ ไฟที่เกิดจากไม้
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลไฟ ๗ อย่าง.
พราหมณ์ ไฟ ๓ อย่างเหล่านี้ ท่านควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพ
๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
พราหมณ์ ก็เพราะเหตุอะไร จึงควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพไฟ คือราคะนี้ เพราะบุคคล ผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกาย ทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริตได้ ครั้นประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต และ มโนทุจริตแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
ดังนั้น ไฟคือราคะนี้ จึงควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพ พราหมณ์ ก็เพราะเหตุอะไร จึงควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพไฟคือโทสะนี้ เพราะบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตได้ ครั้นประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริตแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก
ดังนั้น ไฟคือโทสะนี้ จึงควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพพราหมณ์ ก็เพราะเหตุอะไร จึงควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพไฟ
คือ โมหะนี้ เพราะบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตได้ ครั้นประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ดังนั้น ไฟคือโมหะนี้ จึงควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ.
พราหมณ์ ไฟ ๓ อย่างเหล่านี้แล ท่านควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพ
........................................................................
พราหมณ์ ไฟ ๓ อย่างเหล่านี้ ท่านควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา บริหาร ให้อยู่ เป็นสุขโดยถูกต้อง
๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ไฟคืออาหุไนยะ ไฟคือคหบดี ไฟคือ ทักขิไณยะ
พราหมณ์
ก็ไฟคืออาหุไนยะ เป็นอย่างไร
พราหมณ์บุคคลบางคนในกรณีนี้ คือ มารดาก็ดี บิดาก็ดี เหล่านี้เรียกว่าไฟคือ อาหุไนยะ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า บุคคลย่อมเกิดมาจากมารดาและบิดา ดังนั้น ไฟคืออาหุไนยะนี้ จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้อยู่เป็นสุข โดยถูกต้องพราหมณ์
ก็ไฟคือคหบดีเป็นอย่างไร
พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้ คือ บุตรก็ดี ภรรยาก็ดี ทาสก็ดี คนทำงานก็ดี เหล่านี้เรียกว่า ไฟคือคหบดี ดังนั้น ไฟคือคหบดีนี้ จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง พราหมณ์
ก็ไฟคือ ทักขิไณยะเป็นอย่างไร
พราหมณ์สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากความประมาทมัวเมา ผู้ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้ฝึกฝน ทำความสงบทำความดับเย็นแก่ตนเอง เหล่านี้เรียกว่าไฟคือทักขิไณยะดังนั้น ไฟคือทักขิไณยะนี้ จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาบริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง.
พราหมณ์ ไฟ ๓ อย่างเหล่านี้แล ท่านควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา บริหารให้ เป็นสุขโดยถูกต้อง.
พราหมณ์ ส่วนไฟที่เกิดจากไม้
ต้องก่อให้ลุกโพลงขึ้นตามกาลอันควร ต้องคอยดู ตามกาลอันควร ต้องคอยดับ ตามกาลอันควร ต้องคอยเก็บตามกาลอันควร.
865-3
จัณฑสูตร
- พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)๑๘/๓๑๓-๓๑๔/๕๘๖-๕๘๘
[๕๘๖] ครั้งนั้นแล นายจัณฑคามณี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคล บางคนในโลกนี้ ถึงความนับว่า เป็นคนดุ เป็นคนดุ ก็อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่อง ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรนายคามณี
คนบางคนในโลกนี้ ยังละราคะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่ว ให้โกรธ คนที่ยังละราคะไม่ได้คนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธ ให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ
คนบางคนในโลกนี้ ยังละโทสะไม่ได้ เพราะ
เป็นผู้ยังละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้ โกรธคน ที่ยังละโทสะไม่ได้คนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ
คนบางคนในโลกนี้ ยังละโมหะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้ โกรธ คนที่ยังละโมหะไม่ได้อันคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับ ได้ว่าเป็นคนดุ
ดูกรนายคามณี นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้คนบางคนในโลกนี้ ถึงความนับว่าเป็น คนดุ เป็นคนดุ ฯ
[๕๘๗] ดูกรนายคามณี อนึ่ง
คนบางคนในโลกนี้ละราคะ ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละราคะ ได้ คนอื่นจึงยั่วไม่โกรธ คนที่ละราคะได้แล้วอันคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความ โกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับ ได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม
คนบางคนในโลกนี้ละโทสะ ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโทสะได้ คนอื่นจึงยั่วไม่โกรธ คนที่ละโทสะได้แล้วอันคนอื่นยั่ว ให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้น จึงนับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม
คนบางคนในโลกนี้ละโมหะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละ โมหะได้ คนอื่นจึงยั่วไม่โกรธ คนที่ละโมหะได้แล้วอันคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดง
ความโกรธให้ปรากฏ
ผู้นั้นจึง นับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม
ดูกรนายคามณี นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้คนบางคนในโลกนี้ ถึงความนับว่า เป็นคน สงบเสงี่ยมเป็นคนสงบเสงี่ยม ฯ
865-4
ตาลปุตตสูตร
ฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
|
คามณี ทูลถามพระศาสดาว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง จริงหรือ
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัส อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพัก ข้อนี้ เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย ... แม้ครั้งที่ 2 แม้ครั้งที่ 3 …
แต่เราจัก พยากรณ์ให้ท่าน อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใด ทำให้ คนหัวเราะ รื่นเริงด้วย คำจริง บ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลาง สถาน มหรสพ ผู้นั้น เมื่อแตก กาย ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาชื่อ ปหาสะ ความเห็นของเขานั้น เป็นความเห็นผิด
ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใด อย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด |
[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และ ปาจารย์ก่อนๆกล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้างในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัส อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนาย คามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย
[๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร ก็ได้ ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้างในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ
[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เราจัก พยากรณ์ให้ท่าน
ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ อันกิเลสเครื่องผูก คือ ราคะ ผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในท่ามกลาง สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
เมื่อก่อนสัตว์ ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวม เข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลาง สถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมาก ยิ่งขึ้นนักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมา ประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อ ปหาสะ
อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใด ทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วย คำจริง บ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ ผู้นั้น เมื่อแตก กาย ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาชื่อ ปหาสะ ความเห็นของเขานั้น เป็นความเห็นผิด
ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ
[๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำ นามว่า ตาลบุตร ร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราได้ห้าม ท่านแล้ว มิใช่หรือว่าอย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย
คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์ และ ปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา ชื่อ ปหาสะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน หลงทางหรือ ตาม ประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป
ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับ ทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มี พระภาคนายนฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มี พระภาคแล้ว ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่านพระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์ องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
865-5
ติตถิยสูตร
พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)๒๐/๑๙๐-๑๙๒/๕๐๘
[๕๐๘] ๖๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกจะพึงถาม เช่นนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ราคะ โทสะ โมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรม ๓ อย่างนี้แล ผู้มีอายุ ธรรม ๓ อย่างนี้ผิดแผกแตกต่าง กันอย่างไร
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์แก่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เหล่านี้ ว่าอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่งอาศัย ขอประทานพระวโรกาสขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้ง กะ พระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงถามเช่นนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ราคะ โทสะ โมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ราคะมีโทษน้อยคลายช้า โทสะมีโทษมากคลายเร็ว โมหะมีโทษมาก คลายช้า
ถ้าเขาถามต่อไป อีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลาย ควรพยากรณ์ว่า
พึงกล่าวว่า สุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่างาม เมื่อบุคคลนั้น ทำไว้ ในใจโดยอุบายไม่แยบคายถึงสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิดย่อม เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ เจริญไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง ให้โทสะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
เธอทั้งหลาย ควรพยากรณ์ว่า
พึงกล่าวว่า
ปฏิฆนิมิต คือ ความกำหนดหมาย ว่ากระทบกระทั่ง เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่ แยบคายถึงปฏิฆนิมิตโทสะ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ โทสะ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้โมหะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า
พึงกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย โมหะที่ยัง ไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไป เพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง ให้โมหะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามอีกว่า ก็อะไรเป็น เหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า อสุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม เมื่อบุคคลทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงอสุภนิมิต ราคะ ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ ราคะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละได้
ถ้าเขาถามต่อไปว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะ ที่ยัง ไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า เมตตาเจโตวิมุติ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจ โดยแยบคายถึงเมตตา เจโตวิมุติ โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะ ที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจ โดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลายข้อนี้แล เป็นเหตุเป็น ปัจจัย เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้
865-6
ธรรม ๓ อย่าง เพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ
- ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๕/๓๗๘.
ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่าง อย่างไรเล่า?
สามอย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๓ อย่างนั้น.
ภิกษุ ท. ! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควรเจริญซึ่งธรรม
๓ อย่าง.
ธรรมสามอย่าง อย่างไรเล่า?
สามอย่างคือ
เจริญ อสุภะ เพื่อละเสียซึ่ง ราคะ
เจริญ เมตตา เพื่อละเสียซึ่ง โทสะ
เจริญ ปัญญา เพื่อละเสียซึ่ง โมหะ
ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อละเสีย ซึ่ง
ธรรมสามอย่างเหล่าโน้นแล.
865-7
เห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นของน่าเบื่อหน่าย
เพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๖๕/๒๕๒.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ การตามเห็นความ เป็นของน่ายินดี (อสฺสาทา) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ (สญฺโญชนิเยสุ ธมฺเมสุ) และ การตามเห็นความเป็นของน่าเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.*
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ตามเห็นความเป็นของน่ายินดีในธรรมทั้งหลาย (สัญโญชนิยธรรม) อันเป็นที่ตั้งแห่ง สังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะโทสะ โมหะไม่ได้
เพราะละราคะ โทสะ โมหะไม่ได้ ย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ตามเห็นความเป็นของน่าเบื่อหน่ายในธรรมทั้งหลาย(สัญโญชนิยธรรม) อันเป็นที่ตั้ง แห่งสังโยชน์ อยู่ ย่อมละราคะโทสะ โมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ โมหะได้ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลธรรม ๒ อย่าง.
* (ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยน์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือขันธ์ ๕ )
865-8
ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับ อกุศลมูล
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 2 หน้า 384
ภิกษุ ท. ! อกุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ สามอย่างเหล่าไหนเล่า?
สามอย่างคือ
โลภะ เป็น อกุศลมูล
โทสะ เป็น อกุศลมูล
โมหะ เป็น อกุศลมูล
ภิกษุ ท. ! แม้ โลภะ นั้น ก็เป็น อกุศล คนโลภแล้ว ประกอบกรรมใด ทางกาย ทางวาจา ทางใจ แม้กรรมนั้น ก็เป็น อกุศล คนโลภถูกความโลภครอบงำแล้ว มีจิตอันความโลภกลุ้มรุมแล้ว ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่นโดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อม เสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้แม้กรรมนี้ก็เป็น อกุศล
อกุศลธรรม อันลามกเป็นอเนก ที่เกิดจากความโลภมีความโลภเป็นเหตุ มีความ โลภเป็นสมุทัย มีความโลภเป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา ด้วยอาการอย่างนี้
(ในกรณีแห่ง โทสะ และ โมหะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันอย่าง ที่กล่าวได้ว่า ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้าที่ ๑๘๑
ขีรรุกขสูตร
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ หรือ ภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย ผ่านคลองจักษุของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้น ได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูป อันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณี นั้นเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะ นั้นไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละ ราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของ เล็กน้อย ผ่านทางใจของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณี นั้น ได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิต ของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะ นั้นไม่ได้ ฯ
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า
พ. ข้อนั้น เพราะอะไร
ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ หรือภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะโทสะ โมหะ นั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของเล็กน้อย ผ่านคลองจักษุของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ ่ยิ่งจักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้น ไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของ เล็กน้อย ผ่านทางใจ ของภิกษุห รือภิกษุณีนั้นไป ย่อมครอบงำจิตของภิกษุ หรือ ภิกษุณีนั้น ได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของ ภิกษุ หรือ ภิกษุณีนั้นเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะ นั้นไม่ได้
[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใด รูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะโทสะ โมหะ นั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านคลองจักษุของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไย ถึงรูปอันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งไม่มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะ นั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะ นั้นได้แล้ว
[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ ซึ่งเป็น ไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ ภายนอกฤดูฝน บุรุษเอาขวานอันคม สับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกมาหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร
ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุ หรือ ภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือภิกษณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะ นั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านคลอง จักษุ ของภิกษุ หรือ ภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณี นั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไย ถึงรูปอันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะโมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละ ราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของใหญ่ ยิ่งผ่านมา ทางใจ ของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้น ไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไย ถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณี นั้นเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะ ราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้น ได้แล้ว
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๑๙๒
มูลสูตร
[๕๐๙] ๗๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉนคือ โลภอกุศลมูล ๑ โทสอกุศลมูล ๑ โมหอกุศลมูล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายโลภะ จัดเป็น อกุศล บุคคลผู้โลภ กระทำกรรมใดด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นอกุศล บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภกลุ้มรุม ย่อมก่อให้เกิดทุกข์ แก่ผู้อื่น โดยไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน การจองจำ ให้เสื่อมติเตียน หรือโดยการ ขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลังแม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรม อันลามกเป็นอันมาก ที่เกิดเพราะความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภ เป็นแดนเกิด มีความโลภเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะจัดเป็นอกุศล บุคคลผู้โกรธ กระทำกรรมใดด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้น ก็เป็นอกุศล บุคคลนั้นก็เป็นอกุศล บุคคลผู้โกรธถูกโทสะ ครอบงำ มีจิต อันโทสะ กลุ้มรุม ย่อมก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียน การจองจำ ให้เสื่อม ติเตียน หรือด้วยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้น ก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมอันลามก เป็นอันมาก ที่เกิดเฉพาะ ความโกรธ มีความโกรธเป็นเหตุ มีความโกรธเป็นแดนเกิด มีความโกรธเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมหะจัดเป็นอกุศล บุคคลผู้หลง กระทำกรรมใดด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้น ก็เป็นอกุศล บุคคลผู้หลงถูกโมหะครอบงำ มีจิตอัน โมหะกลุ้มรุม ย่อมก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่น โดยไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสื่อม ติเตียน หรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่าฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้น ก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมอันลามกเป็นอันมาก ที่เกิดเพราะความหลง มีความหลงเป็นเหตุ มีความหลงเป็นแดนเกิดมีความหลงเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมี แก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็บุคคลเห็นปานนี้เรียกว่า พูดไม่ถูกกาลบ้าง พูดแต่คำไม่เป็น จริงบ้าง พูดไม่อิงอรรถบ้าง พูดไม่อิงธรรมบ้าง พูดไม่อิงวินัยบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร บุคคลเห็นปานนี้จึงเรียกว่า พูดไม่ถูกกาลบ้าง พูดแต่คำไม่เป็นจริงบ้าง พูดไม่อิงอรรถบ้าง พูดไม่อิงธรรมบ้าง พูดไม่อิงวินัยบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จริงอย่างนั้น บุคคลนี้ย่อมก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นโดย ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำให้เสื่อม ติเตียน หรือขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง และเขาเมื่อถูกกล่าวโทษ ด้วยเรื่องที่เป็นจริง ก็กล่าวคำปฏิเสธ ไม่ยอมรับรู้ เมื่อถูกกล่าวโทษด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง กลับไม่พยายาม ที่จะปฏิเสธเรื่องนั้น แม้เพราะเหตุนี้ๆ เรื่องนี้จึงไม่แท้ ไม่เป็นจริง เพราะฉะนั้น บุคคล เห็นปานนี้จึงเรียกว่า พูดไม่ถูกกาลบ้าง พูดแต่คำไม่เป็นจริงบ้าง พูดไม่อิงอรรถบ้าง พูดไม่อิงธรรมบ้าง พูดไม่อิงวินัยบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิด เพราะ ความโลภ ครอบงำ มีจิตอันอกุศลธรรมกลุ้มรุม ในปัจจุบันย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อน เมื่อแตกกายตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ บุคคลเห็นปานนี้ ถูกธรรม ที่เป็น บาปอกุศล ซึ่งเกิด เพราะความโกรธครอบงำ ฯลฯ ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิด เพราะโมหะครอบงำ มีจิต อันอกุศลธรรมกลุ้มรุม ในปัจจุบันย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนเมื่อแตกกาย ตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดเพราะโลภะ ครอบงำ ... เมื่อแตกกายตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้น ตะแบก หรือต้นสะคร้อ ที่ถูกเครือเถาย่านทราย ๓ ชนิดคลุมยอด พันรอบต้น ย่อมถึง ความเสื่อม ความพินาศ ความฉิบหาย ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อโลภกุศลมูล ๑ อโทส กุศลมูล ๑ อโมกุศลมูล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อโลภะก็จัดเป็นกุศล บุคคล ผู้ไม่โลภ กระทำกรรมใด ด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นกุศล บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภไม่กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นโดย ความไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียน จองจำ ให้เสื่อม หรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้นก็เป็นกุศล กุศล ธรรมเป็นอันมากที่เกิดเพราะความไม่โลภ มีความไม่โลภเป็นเหตุ มีความไม่โลภ เป็นแดนเกิด มีความไม่โลภเป็นปัจจัย ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อโทสะก็จัดเป็นกุศลบุคคลผู้ไม่โกรธ กระทำกรรมใด ด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นกุศล บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ มีจิต อันความโกรธ ไม่กลุ้มรุม ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยความไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียน จองจำ ให้เสื่อมติเตียนหรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้นก็เป็นกุศล กุศลธรรมเป็นอันมาก ที่เกิดเพราะ ความไม่โกรธ มีความไม่โกรธเป็นเหตุ มีความไม่โกรธเป็นแดนเกิด มีความไม่โกรธเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อโมหะก็จัดเป็นกุศลบุคคลผู้ไม่หลง กระทำกรรมใดด้วย กาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นกุศล บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ มีจิตอัน ความหลงไม่กลุ้มรุม ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยความไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียนจองจำ ให้เสื่อม ติเตียนหรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคน มีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้น ก็เป็นกุศล กุศลธรรมเป็นอันมากที่ เกิดเพราะความ ไม่หลง มีความไม่หลงเป็นเหตุ มีความไม่หลงเป็นแดนเกิด มีความไม่หลงเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็บุคคลเห็นปานนี้เรียกว่า พูดถูกกาลบ้าง พูดแต่คำที่เป็น จริงบ้าง พูดอิงอรรถบ้าง พูดอิงธรรมบ้าง พูดอิงวินัยบ้าง ก็เพราะเหตุไร บุคคลเห็น ปานนี้ เรียกว่า พูดถูกกาลบ้าง พูดแต่คำที่เป็นจริงบ้าง พูดอิงอรรถบ้าง พูดอิงธรรมบ้าง พูดอิงวินัยบ้าง จริงอย่างนั้นบุคคลนี้ย่อมไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียน จองจำให้เสื่อม ติเตียน หรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลังและเมื่อเขาถูกกล่าวโทษด้วยเรื่องที่เป็นจริง ก็ยอมรับ ไม่กล่าวคำปฏิเสธ เมื่อถูกกล่าวโทษด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ก็พยายาม ที่จะปฏิเสธ ข้อที่ถูกกล่าวหานั้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ เรื่องนี้จึงไม่แท้ ไม่จริง
เพราะเหตุนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงเรียกว่า พูดถูกกาลบ้าง พูดแต่คำที่เป็นจริง บ้าง พูดอิงอรรถบ้างพูดอิงธรรมบ้าง พูดอิงวินัยบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็น ปานนี้ ละธรรมฝ่ายบาปอกุศลที่เกิดเพราะโลภะได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น เหมือน ตาลยอดด้วนทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ ไม่คับแค้นไม่เดือดร้อน ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง บุคคลเห็นปานนี้ ละธรรม ฝ่ายบาปอกุศลที่เกิดเพราะ โทสะได้แล้ว ฯลฯ ละธรรมฝ่ายบาปอกุศลที่เกิด เพราะ โมหะได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็น สุขในปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อน ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง
ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบกหรือต้นสะคร้อ ถูกเครือ เถาย่านทราย ๓ ชนิดคลุมยอดพันจนรอบ คราวนั้น บุรุษพึงถือเอาจอบและ ตะกร้ามา เขาตัดเครือเถาย่านทรายนั้นที่รากแล้วพึงขุดจนรอบ แล้วถอนเอาราก ขึ้นโดยที่สุด แม้เพียงเท่าต้นหญ้าคา เขาพึงหั่นเครือเถาย่านทรายนั้นให้เป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย แล้วผ่า แล้วเอารวมกันเข้าแล้วผึ่งที่ลมและแดด แล้วพึ่งเอาไฟเผา แล้วทำให้เป็น เขม่า และพึงโปรยที่ลมพาลุ หรือพึงลอยเสียในแม่น้ำที่มีกระแสไหล เชี่ยว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครือเถาย่านทรายเหล่านั้น ถูกบุรุษนั้นตัดรากขาด ทำให้ ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วนทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมฝ่ายบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแต่ โลภะ บุคคลเห็นปานนี้ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ไม่คับแค้น ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง ที่เกิดแต่โทสะบุคคลเห็นปานนี้ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ ไม่คับแค้น ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง ที่เกิด แต่โมหะ บุคคลเห็นปานนี้ ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด ขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ ไม่คับแค้น ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง
ดูกรภิกษุทั้งหลายกุศลมูล ๓ อย่างนี้แล
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๒๓๕
อัคคิสูตร
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้ ๓ กองเป็นไฉน คือ
ไฟคือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑ ไฟคือโมหะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้แล ฯ ไฟคือราคะ ย่อมเผาสัตว์ผู้กำหนัดแล้ว หมกมุ่นแล้ว ในกามทั้งหลายส่วนไฟคือ โทสะ ย่อมเผานรชนผู้พยาบาทมีปรกติ ฆ่าสัตว์ ส่วนไฟคือโมหะ ย่อมเผานรชนผู้ลุ่มหลงไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไฟ ๓ กองนี้ย่อมตามเผาหมู่สัตว์ผู้ไม่รู้สึกว่าเป็นไฟ ผู้ยินดียิ่งในกายตน ทั้งในภพนี้ และภพหน้า สัตว์เหล่านั้นย่อมพอกพูนนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอสุรกายและปิตติวิสัย เป็นผู้ไม่พ้นไปจากเครื่องผูกแห่งมาร ส่วนสัตว์เหล่าใดประกอบความเพียร ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งกลางคืนกลางวัน
สัตว์เหล่านั้น ผู้มีความสำคัญ อารมณ์ว่าไม่งามอยู่เป็นนิจ ย่อมดับไฟ คือ ราคะได้ ส่วนสัตว์ทั้งหลาย ผู้สูงสุดในนรชนย่อมดับไฟ คือโทสะได้ด้วยเมตตาและดับไฟ คือ โมหะได้ด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องให้ถึงความชำแรกกิเลส สัตว์เหล่านั้นมีปัญญา เป็นเครื่องรักษาตน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ดับไฟมีไฟคือราคะเป็นต้นได้ ย่อมปรินิพพาน โดยไม่มีส่วนเหลือ ล่วงทุกข์ได้ไม่มีส่วนเหลือบัณฑิตทั้งหลาย ผู้เห็นอริยสัจผู้ถึงที่สุด แห่งเวท รู้แล้วโดยชอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติ ย่อมไม่มา สู่ภพใหม่
๓๘ ข้อควรทราบเกี่ยวกับอกุศลมูล (ราคะ โทสะ โมหะ)
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงถามอย่างนี้ว่า
อาวุโส ! ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ
ราคะ
โทสะ
โมหะ
อาวุโส ! อะไรเป็นความผิดแปลก
อะไรเป็นความแตกต่าง
อะไรเป็นเครื่องแสดงความต่าง
ระหว่างธรรม ๓ อย่างเหล่านั้น ? ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่เขาว่า
อาวุโส !
ราคะ มีโทษน้อย คลายช้า
โทสะ มีโทษมาก คลายเร็ว
โมหะ มีโทษมาก คลายช้า
ถ้าเขาถามว่า
อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
ที่ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือราคะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ? ดังนี้
คำตอบพึงมีว่า
สุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่างาม)
คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งสุภนิมิต โดยไม่แยบคาย
ราคะที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น
และราคะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย
ถ้าเขาถามอีกว่า
อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
ที่ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ? ดังนี้.
คำตอบพึงมีว่า
ปฏิฆนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกกระทบกระทั่ง)
คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งปฏิฆนิมิต โดยไม่แยบคาย
โทสะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
และโทสะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย
ถ้าเขาถามอีกว่า
อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
ที่ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ? ดังนี้
คำตอบพึงมีว่า
อโยนิโสมนสิการ (การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย)
คือ เมื่อทำในใจโดยไม่แยบคาย
โมหะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
และโมหะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย
ถ้าเขาถามอีกว่า
อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
ที่ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป ? ดังนี้
คำตอบพึงมีว่า
อสุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่าไม่งาม)
คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งอสุภนิมิต โดยแยบคาย
ราคะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น
และราคะที่เกิดอยู่แล้ว ก็ละไป
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย
ถ้าเขาถามอีกว่า
อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
ที่ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิดไม่เกิดขึ้น
หรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป? ดังนี้.
คำตอบพึงมีว่า
เมตตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต อันประกอบอยู่ด้วยเมตตา)
คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ โดยแยบคาย
โทสะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น
และโทสะที่เกิดอยู่แล้ว ก็ละไป.
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย
ถ้าเขาถามอีกว่า
อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
ที่ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป? ดังนี้
คำตอบพึงมีว่า
โยนิโสมนสิการ
คือ เมื่อทำในใจโดยแยบคาย
โมหะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น
และโมหะที่เกิดอยู่แล้ว ก็ละไป
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๕๖/๕๐๘.
พุทธวจน -หมวดธรรม เปิดธรรมที่ถูกปิด
ฉบับ ๙ ปฐมธรรม หน้า ๑๐๓-๑๐๕ (E-Tipitaka+)
ประเภทของกิเลส
ราคะ โทสะ โมหะ คือ
กิเลส ก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง
ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ท่านได้แบ่งประเภทของกิเลสออกเป็นดังนี้ คือ
๑.ราคะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-ความโลภอย่างแรง จนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)
-ความเพ่งเล็ง จะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัวมีใจอยากได้ของคนอื่น แต่ยังไม่ถึง กับ แสดงออก (อภิชฌา)
-ความอยากได้ในทางไม่ชอบเช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการ มี ทรัพย์ เป็นต้น (ปาปิจฉา)
-ความมักมากเห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัว โดยไม่คำนึงถึงคนอื่น (มหิจฉา)
-ความยินดีในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรง กระตุ้น มีความพอใจในเรื่องเพศ (กามระคะ)
-ความยินดีในรูปธรรมอันปราณีตก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูป ของภพเมื่อทำสมาธิขั้นสูงขึ้นไป (รูปราคะ)
-ความยินดีในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณเมื่อทำสมาธิถึงภพของ อรูปพรหม (อรูปราคะ)
๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร
-โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาทแล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย
-โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง
-ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด
๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-ความเห็นผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)
-ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)
-การเห็นว่ามีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)
-ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)
-การยึดถืออย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสีที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพพตปรามาส)
-ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิดว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)
-ความฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิ หรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)
-ความไม่รู้จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา)
อกุศลมูล 3
รากเหง้าของความชั่วจนเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี 3 ประการ โลภะ-โทสะ-โมหะ
1. โลภะ (ความอยากได้) ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก, ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก, มหิจฉา ความอยากรุนแรง, อภิชฌาวิสมโลภะ ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือ การใช้สติ ระลึกรู้ในตน
2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่น ความคิดประทุษร้าย เป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด, โกธะ ความโกรธ, อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คนพาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือ การใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ
3. โมหะ (ความหลงไม่รู้จริง) ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้ต่าง ๆ มากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน, ปลาสะ ตีเสมอ, มานะ ถือตัว, มทะ มัวเมา, ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบ ร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นอีกด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย
|