ฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
หน้าที่ ๒๒๕
ตรัสรู้สัจธรรม
[๓๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเป็นผู้ชอบเสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร ขณะที่แสวงหาทางสงบระงับอันประเสริฐ ซึ่งหาทางอื่นยิ่งกว่ามิได้ เมื่อเที่ยวจาริกไป ในมคธชนบทโดยลำดับ ได้ไปถึง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิภาคที่น่า รื่น รมย์ มีราวป่าเป็นที่เพลินใจ มีแม่น้ำไหลไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม ตั้งอยู่โดยรอบ.
เราจึงคิดว่า ภูมิภาคเป็นที่น่ารื่นรมย์หนอ มีราวป่าเป็นที่เพลินใจ มีแม่น้ำ ไหลไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดีน่ารื่นรมย์ มีโคจรคามตั้งอยู่โดยรอบ เป็นที่สมควร เริ่มบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการจะบำเพ็ญเพียร. เราจึงนั่ง ณ ที่นั้นด้วยคิดว่า ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร.
[๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราโดยตนเอง เป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เกิดหาธรรม อื่น ยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีชรา เป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่แก่หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจาก โยคะ เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา แสวงหาจน ได้บรรลุนิพพานที่หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีมรณะ เป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
ทราบชัด โทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่หาโศกมิได้ หาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ เกษมจาก โยคะ เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลส เป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่า มิได้ เกษมจากโยคะ และ ญาณทัสสนะได้เกิด แก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้ มีในที่สุด ไม่มีภพใหม่ต่อไป.
[๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริดังนี้ว่า ธรรมที่เราได้บรรลุ นี้แลลึก เห็นได้โดยยาก รู้ตามได้โดยยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต อันความตรึก หยั่งไม่ถึง ละเอียด รู้ได้แต่บัณฑิต ส่วนประชาชนนี้ เป็นผู้ยินดี เพลิดเพลินใจ ในอาลัย เป็นผู้เห็นปฏิจจสมุปบาทที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ได้โดยยาก และเห็น ได้โดยยาก ซึ่งธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่ สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรมและคนอื่นไม่รู้ตาม ธรรมของเรา ก็จะเป็นความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแก่เราเปล่า.
ดูกรภิกษุทั้งหลายทั้งคาถาที่เป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้สดับมาแต่ก่อน ก็ได้แจ่มแจ้งแก่เราดังนี้ ธรรมนี้เราบรรลุได้โดยยาก บัดนี้ไม่ควรประกาศธรรมนี้ไม่เป็น ธรรมที่ชน ผู้มีราคะโทสะหนาแน่นตรัสรู้ได้โดยง่าย ชนผู้มีราคะกล้า ถูกกองความมืด หุ้มห่อไว้ ย่อมไม่เห็นธรรมที่ยังสัตว์ให้ถึงที่ทวนกระแสโลก ละเอียด ลึก เห็นได้ โดยยากเป็นอณู.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราคิดเห็นเช่นนี้ ก็มีจิตน้อมไปเพื่อความ เป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.
[๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความดำริ ของเรา จึงได้มีความปริวิตก ว่า โอ โลกจะฉิบหาย แหลกลาญเสียแล้วหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระทัยน้อมไปเพื่อความเป็น ผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม สหัมบดีพรหม จึงอันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏตัว ตรงหน้าเรา
คล้ายกับบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่งอออก หรืองอแขน ที่เหยียดเข้า ฉะนั้น แล้วจึงเฉวียงผ้าอุตราสงค์ ประคองอัญชลีมาทางเรา กราบทูลดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ขอพระสุคต จงทรงแสดง ธรรม สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีที่ดวงตาน้อยเป็นปรกติมีอยู่ เพราะไม่ได้สดับ ธรรมสัตว์ เหล่านั้นจึงเสื่อม ผู้ที่รู้ธรรมจักมีอยู่ ครั้นสหัมมดีพรหมกล่าวดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ประพันธ์ต่อไปดังนี้ว่า
แต่ก่อน ในแคล้วมคธ ได้ปรากฏมีธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งชนพวกที่มีความ เศร้าหมองคิดไว้ ขอพระองค์จงทรงเปิดประตูอมฤตธรรม ขอสัตว์ทั้งหลายจงได้สดับ ธรรม ที่พระองค์ผู้ทรงหมดมลทินได้ตรัสรู้ ชนผู้อยู่บนยอดเขาศิลา พึงเห็นประชุมชน ได้โดยรอบ ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปรีชา มีพระเนตรคือปัญญาโดยรอบ ขอพระองค์ ผู้หมดโศก จงเสด็จขึ้นปราสาทคือพระปัญญาที่ สำเร็จด้วยธรรม ซึ่งเปรียบด้วย ยอดเขาศิลาแล้ว จึงทรงตรวจดูประชุมชนผู้ระทมด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงำ ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงความเพียร ทรงชนะสงคราม ผู้นำหมู่สัตว์ ผู้หา กิเลสมิได้ ขอพระองค์จงเสด็จเที่ยวไปโปรดสัตว์โลก ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดง ธรรม ผู้รู้ตามจักมีอยู่.
สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม
[๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะทราบการอาราธนาของสหัมบดีพรหม และเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
เราจึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์
ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยก็มี
ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี
ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี
ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี
ผู้มีอาการดีก็มี
ผู้มีอาการชั่วก็มี
ผู้พอจะพึงสอน ให้รู้ได้ง่ายก็มี
ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี
บางพวกมีปกติเห็นโทษ และภัยในปรโลก
มีอธิบายเป็นคำเปรียบว่า ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก
ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก
บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำยังจมอยู่ ภายในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำ ตั้งอยู่เสมอกับน้ำ
บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ น้ำกำซาบเข้าไปไม่ได้ ฉันใด
เราขณะที่ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ ฉันนั้น คือ
บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย... บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก
บางพวกมีอินทรีย์กล้า... บางพวกมีอินทรีย์อ่อน
บางพวกมีอาการดี... บางพวกมีอาการชั่ว
บางพวกพอจะสอนให้รู้ได้ง่าย... บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก
บางพวกมีปรกติเห็นโทษ และภัยในปรโลก.
เราจึงได้กล่าวคาถาตอบสหัมบดีพรหมว่า
เราได้เปิดประตูอมฤตธรรมรับชนผู้ชอบสดับ ซึ่งยื่นศรัทธาภาชนะ ออกรับ
ดูกรพรหมเรานึกถึงความลำบาก จึงไม่ได้แสดงธรรมที่ประณีตซึ่งเราชำนาญดี ในหมู่มนุษย์.
เมื่อสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาส เพื่อแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทเรา กระทำประทักษิณ อันตรธานไปในที่นั้น. |