เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ 845
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อตัดขาดโวหาร ในวินัยของพระอริยะ

๘ ประการ โดยย่อ เป็นไฉน? คือ

๑. ปาณาติบาต พึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน พึงละได้เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
๓. มุสาวาท พึงละได้เพราะอาศัยวาจาสัตย์
๔. ปิสุณาวาจา พึงละได้เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
๕. ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โลภ ด้วยสามารถ ความกำหนัด
๖. ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา พึงละได้เพราะความไม่โกรธด้วยสามารถ แห่งการนินทา
๗. ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธ พึงละได้เพราะอาศัยความไม่คับ แค้นด้วยสามารถความโกรธ
๘. ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน



จำแนกธรรม ๘ ประการนี้ โดยพิสดาร

ปาณาติบาต พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ปาณาติบาตนี้นั่นแหละ เป็นตัว สังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

อทินนาทาน พึงละได้ เพราะอาศัยการถือ เอาแต่ของที่เขาให้ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
อทินนาทานนี้นั้นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

มุสาวาท พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
มุสาวาทนี้นั่นแหละเป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

ปิสุณาวาจา พึงละได้ เพราะอาศัยวาจา ไม่ส่อเสียด เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ปิสุณาวาจานี้ นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัด เป็นปัจจัย ความโลภ ด้วยสามารถความกำหนัดนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

ความโกรธด้วยความสามารถแห่งการ นินทา พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา คำนี้เรากล่าว เพราะอาศัยอะไร?
ความโกรธด้วยสามารถ แห่งการนินทานั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เรากล่าวเพราะอาศัย อะไร?
เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธ เป็นปัจจัย ความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัยความ ได้ดูหมิ่นท่านเรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
เพราะความดูหมิ่นท่าน เป็นปัจจัย ความดูหมิ่นท่านนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไป เพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่านี้แล

 
 

 

ฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์  หน้าที่ ๓๑


เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ

 

          [๓๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อตัดขาดโวหาร ในวินัยของพระอริยะ

๘ ประการเป็นไฉน? คือ

. ปาณาติบาต พึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน พึงละได้เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
๓. มุสาวาท พึงละได้เพราะอาศัยวาจาสัตย์
๔. ปิสุณาวาจา พึงละได้เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
๕. ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โลภ ด้วยสามารถ ความกำหนัด
๖. ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา พึงละได้เพราะความไม่โกรธด้วยสามารถ แห่งการนินทา
๗. ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธ พึงละได้เพราะอาศัยความไม่คับ แค้นด้วยสามารถความโกรธ
๘. ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน

     ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อยังมิได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ.

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ มิได้ทรง จำแนก โดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ ดีละ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความกรุณาจำแนกธรรม ๘ ประการนี้ โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

     ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

     โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

                [๓๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงทำปาณาติบาต เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงทำปาณาติบาต แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัยเมื่อตายไป ทุคติ เป็นอันหวังได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ปาณาติบาตนี้นั่นแหละ เป็นตัว สังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

     อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะ ปาณาติบาต เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุ คับแค้น และ กระวน กระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่กล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต พึงละได้ เพราะอาศัย การไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

                [๔๐] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทาน พึงละได้ เพราะอาศัยการถือ เอาแต่ของที่เขาให้ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้ เพราะเหตุแห่งสังโยชน์ เหล่าใด  เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

     อนึ่ง เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้ แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะอทินนาทาน เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย อทินนาทานนี้นั้นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

     อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะ อทินนาทาน เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากอทินนาทานแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุ คับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทาน พึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

                [๔๑] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาวาท พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า เราพึงกล่าวมุสาเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

     อนึ่งเราพึงกล่าวมุสาแม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติ เป็นอันหวังได้ เพราะมุสาวาสเป็นปัจจัย มุสาวาทนี้นั่นแหละเป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

     อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะ มุสาวาท เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นจากมุสาวาทแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวน กระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

                [๔๒] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจา พึงละได้ เพราะอาศัยวาจา ไม่ส่อเสียด เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

     อนึ่ง เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะวาจาส่อเสียด เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย ปิสุณาวาจานี้ นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

     อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะวาจา ส่อเสียด เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากวาจาส่อเสียดแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

                [๔๓] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละ ได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงมีความโลภ ด้วยสามารถความกำหนัด เพราะเหตุสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

     อนึ่ง เราพึงมีความโลภด้วยสามารถ ความกำหนัด แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความโลภด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะความโลภด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัด เป็นปัจจัย ความโลภ ด้วยสามารถความกำหนัดนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

     อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะ ความโลภ ด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โลภ ด้วยสามารถ ความกำหนัด อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้เพราะอาศัย ความไม่โลภ ด้วยสามารถ ความกำหนัด เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

                [๔๔] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยความสามารถแห่งการ นินทา พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา คำนี้เรากล่าว เพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติ เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

     อนึ่งเราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะ ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย ความโกรธด้วยสามารถ แห่งการนินทานั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

     อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะความโกรธ ด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โกรธ ด้วยสามารถแห่งการนินทา อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วย สามารถแห่งการนินทา เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

                [๔๕] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เรากล่าวเพราะอาศัย อะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงคับแค้น ด้วยสามารถความโกรธ เพราะเหตุแห่ง สังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัด สังโยชน์เหล่านั้น

     อนึ่ง เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ แม้ตนเองพึงติเตียน ตนได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณา แล้ว พึงติเตียนได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธ เป็นปัจจัย ความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

     อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะความ คับแค้น ด้วยสามารถความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่คับแค้นด้วยสามารถ ความโกรธ อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าว ดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ พึงละได้ เพราะอาศัย ความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

                [๔๖] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัยความ ได้ดูหมิ่นท่านเรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่าเราพึงดูหมิ่นท่าน เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติ เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นหนึ่ง เราพึงดูหมิ่นท่าน แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนตนได้ เพราะความ ดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความดูหมิ่นท่าน เป็นปัจจัย ความดูหมิ่นท่านนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์

     อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะความ ดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่นท่าน อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวน กระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มีคำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

     ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไป เพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่านี้แล

     ดูกรคฤหบดี แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะหามิได้.

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ก็อย่างไรเล่าจึงจะได้ชื่อว่า เป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการ ทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะมีด้วยประการใด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม แก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

     ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว โปตลิยคฤหบดี ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์