เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 เทวตาสังยุต # 1 รวมเรื่องเทวดาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพื่อถามข้อธรรมต่างๆ 833
 
 


ฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เทวตาสังยุต (ประมวลเรื่องเทวดาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า)

1
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ พระองค์ข้ามโอฆะ (ห้วงน้ำ/กิเลส) ได้อย่างไร


ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว


2
ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้ อย่างไรเล่า


ท่านผู้มีอายุเมื่อใดเรายังพักอยู่ เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรา ยังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเรา ยังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้ว อย่างนี้แล


3
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ พระองค์ย่อมทรงทราบ มรรค เป็นทางหลีกพ้นผล เป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลาย หรือหนอ


ท่านผู้มีอายุ เรารู้จัก มรรค เป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพาน เป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง ฯ


4
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์
ก็พระองค์ย่อมทรงทราบมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็น ความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างไรเล่า

พ. เพราะความสิ้นภพ อันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล เพราะความสิ้นแห่งสัญญา และ วิญญาณ เพราะความดับ เพราะความสงบ แห่งเวทนาทั้งหลาย เราย่อมรู้จัก มรรค เป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้นนิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้


5
ชีวิต คืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไป แล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้


ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชรา ต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติ (อมตะ/นิพพาน) เถิด


6
กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย ย่อมละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลาย ที่นำ ความสุขมาให้


กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย ย่อมละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด


7
1) บุคคลควรตัดเท่าไร ควรละเท่าไร
2) ควรบำเพ็ญ คุณอันยิ่งเท่าไร
3) ภิกษุล่วงธรรม เครื่องข้องเท่าไร
พระองค์จึงตรัสว่า เป็นผู้ข้าม โอฆะแล้ว

บุคคลควรตัดสังโยชน์ เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง
ควรละสังโยชน์ เป็นส่วน เบื้องบน ๕ อย่าง
ควรบำเพ็ญ อินทรีย์อันยิ่ง ๕ อย่าง
ภิกษุล่วงธรรม เป็นเครื่องข้อง ๕ อย่าง(นิวรณ์๕)
เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว


8
1) เมื่อธรรมทั้งหลาย ตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนนับว่าหลับ
2) เมื่อธรรมทั้งหลาย หลับ ธรรมประเภทไหนนับว่าตื่น
3) บุคคลหมักหมมธุลี เพราะธรรมประเภทไหน
4) บุคคลบริสุทธิ์ เพราะธรรมประเภทไหน


เมื่ออินทรีย์ ๕ อย่างตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ อย่างนับว่าหลับ
เมื่อนิวรณ์ ๕ อย่างหลับ อินทรีย์ ๕ อย่าง นับว่าตื่น
บุคคลหมักหมมธุลี เพราะนิวรณ์ ๕ อย่าง
บุคคลบริสุทธิ์เพราะ อินทรีย์ ๕ อย่าง


9
วรรณของภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ในป่า ฉันภัตอยู่หนเดียว เป็นสัตบุรุษผู้ประพฤติ ธรรมอันประเสริฐ ย่อมผ่องใสด้วยเหตุอะไร

ภิกษุทั้งหลาย ไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว ไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึง เลี้ยงตนด้วปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า วรรณ (ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใส ด้วยเหตุนั้น

เพราะความปรารถนาถึงปัจจัย ที่ยังไม่มาถึง และความโศก ถึงปัจจัยที่ ล่วงแล้ว พวกพาลภิกษุจึงซูบซีด เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น


10
1) อะไรหนอยังประโยชน์ให้สำเร็จ จนกระทั่งชรา
2)
อะไรหนอ ตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ
3) อะไรหนอเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย อะไรหนอโจรลักไป ได้ยาก


ศีล ยังประโยชน์ให้สำเร็จ จนกระทั่ง ชรา
ศรัทธา ตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ปัญญา
เป็นรัตนะของคนทั้งหลาย บุญอันโจรลักไปได้ยาก


11
1)
อะไรหนอ เพราะไม่ชำรุดจึงยังประโยชน์ให้สำเร็จ
2) อะไรหนอ ดำรงมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
3) อะไรหนอ เป็นรัตนะของชนทั้งหลาย
4) อะไรหนอ บุคคลพึงนำให้พ้นจากพวกโจรได้


ศีล เพราะไม่ชำรุดจึงยังประโยชน์ ให้สำเร็จ
ศรัทธา ดำรงมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ปัญญา เป็นรัตนะของคนทั้งหลาย บุญอันบุคคล พึงนำไปให้พ้นจากพวกโจรได้ฯ


12
1)
อะไรหนอเป็นมิตรของคนเดินทาง
2) อะไรหนอ เป็นมิตรในเรือนของตน
3 ) อะไรเป็นมิตร ของคนมีธุระเกิดขึ้น
4) อะไรหนอเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า


พวกเกวียน พวกโค ต่างเป็นมิตรของคนเดินทาง
มารดา เป็นมิตรในเรือนของตน
สหาย เป็นมิตรของคนผู้มีธุระ เกิดขึ้นเนืองๆ
บุญที่ตนทำเองเป็นมิตรติดตามไป ถึงภพหน้า


13
1)
อะไรหนอเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย
2) อะไรหนอ เป็นสหาย อย่างยิ่งในโลกนี้
3) เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยอะไรหนอเลี้ยงชีพ


บุตร เป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย
ภรรยา เป็นสหายอย่างยิ่ง
เหล่าสัตว์มีชีวิต ที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีพอยู่


14
(1)
อะไรหนอยังคนให้เกิด
(2) อะไรหนอของเขาย่อมวิ่งพล่าน 
(3) อะไรหนอเวียนว่ายไปยัง สงสาร
(4) อะไรหนอเป็นภัยใหญ่ของเขา


ตัณหา ยังคนให้เกิด
จิต ของเขาย่อมวิ่งพล่าน
สัตว์
เวียนว่ายไปยังสงสาร
ทุกข์
เป็นภัยใหญ่ของเขา


15
(1)
อะไรหนอยังคนให้เกิด
(2) อะไรหนอของเขาย่อม วิ่งพล่าน 
(3) อะไรหนอเวียนว่ายไปยัง สงสาร
(4) สัตว์ย่อมไม่หลุดพ้นจากอะไร


ตัณหา ยังคนให้เกิด
จิต ของเขาย่อม วิ่งพล่าน
สัตว์ เวียนว่ายไปยังสงสาร
สัตว์
ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์


16
(1)
อะไรหนอยังคนให้เกิด
(2) อะไรหนอของเขาย่อม วิ่งพล่าน 
(3) อะไรหนอเวียนว่ายไปยัง สงสาร
(
4)
อะไรหนอเป็นที่พำนักของสัตว์นั้น

ตัณหา ยังคนให้เกิด
จิต ของเขาย่อม วิ่งพล่าน
สัตว์
เวียนว่ายไปยังสงสาร
กรรม
เป็นที่พำนักของสัตว์นั้น


17
(1)
อะไรหนอบัณฑิตกล่าวว่าเป็นทางผิด
(2) อะไรหนอสิ้นไปตามคืนและวัน
(3) อะไรหนอ เป็นมลทินของพรหมจรรย์
(4) อะไรหนอมิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง


ราคะ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นทางผิด
วัย สิ้นไปตามคืนและวัน
หญิง เป็นมลทินของ พรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมติดอยู่ในหญิงนี้
ตบะ และพรหมจรรย์นั้น มิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง


18
(1)
อะไรหนอเป็นเพื่อนของคน
(2) อะไรหนอย่อมปกครองคนนั้นและสัตว์
(3) ยินดีในอะไร จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้


ศรัทธา เป็นเพื่อนของคน
ปัญญา ย่อมปกครองคนนั้น
สัตว์ยินดีในพระนิพพาน จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้


19
(1)
อะไรหนอเป็นต้นเหตุของคาถา
(2) อะไรหนอเป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ) ของคาถา เหล่านั้น
(3) คาถาอาศัยอะไรหนอ
(4) อะไรหนอเป็น ที่อาศัยของคาถา


ฉันท์ เป็นต้นเหตุของคาถา
อักขระ เป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ) ของคาถา
คาถา อาศัยแล้วซึ่งชื่อ
กวี เป็นที่อาศัยของ คาถา


20
(1)
อะไรหนอครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงที่ยิ่งขึ้นไปกว่า
(2) สิ่งอะไร ย่อมไม่มีสิ่งทั้งปวง เป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร


ชื่อ ย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงที่ยิ่งขึ้น ไปกว่าชื่อไม่มี 
สิ่งทั้งปวงเป็นไป ตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ ชื่อ


21
(1)
โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไรหนอย่อม เสือกไสไป
(2)
โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร


โลกอันจิต ย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือจิต


22
(1)
โลกอันอะไรหนอย่อมนำไป อันอะไรหนอย่อม เสือกไสไป 
(2) โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร


โลกอันตัณหา ย่อมนำไป อันตัณหาย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ ตัณหา


23
(1)
โลกมีอะไรหนอเป็นเครื่องประกอบไว้
(2) อะไรหนอเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น
(3) เพราะละขาดซึ่งธรรมอะไรจึงเรียกว่า นิพพาน


โลกมีความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องประกอบไว้
วิตก เป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น
เพราะ ละตัณหาเสียได้ขาด จึงเรียกว่า นิพพาน


24
(1)
โลกมีอะไรหนอเป็นเครื่องผูกไว้
(2) อะไรหนอเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น
(3) เพราะละเสียได้ซึ่งอะไร จึงตัดเครื่องผูกได้หมด


โลกมี ความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องผูกไว้
วิตก เป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น
เพราะละตัณหาเสียได้ขาด จึงตัดเครื่องผูกได้หมด


25
1) โลกอันอะไรหนอกำจัดแล้ว
2) อันอะไรหนอล้อมไว้แล้ว
3) อันลูกศรคืออะไรเสียบแล้ว
4) อันอะไรเผาแล้วในกาลทุกเมื่อ


โลกอัน มฤตยู กำจัดแล้ว
อัน ชรา ล้อมไว้แล้ว
อันลูกศรคือ ตัณหา เสียบแล้ว
อันความอยาก เผาให้ร้อนแล้วในกาล ทุกเมื่อ


26
1) โลกอันอะไรหนอดักไว้ อันอะไรหนอล้อมไว้
2) โลกอันอะไรหนอปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้วในอะไร


โลกอัน ตัณหาดักไว้ อันชราล้อมไว้
โลกอัน มฤตยู ปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์


27
1) โลกอันอะไรหนอปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้วในอะไร
2) โลกอันอะไรหนอดักไว้ อันอะไรหนอล้อมไว้


โลกอัน มฤตยู ปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์
โลกอัน ตัณหา ดักไว้ อันชราล้อมไว้


28
1) โลกอันอะไรผูกไว้
2) เพราะกำจัดอะไรเสียจึงจะหลุดพ้น 
3) เพราะละอะไรได้ขาด จึงตัดเครื่องผูกได้ทุกอย่าง


โลกอัน ความอยาก ผูกไว้
เพราะกำจัด ความอยาก เสียได้จึงหลุดพ้น
เพราะละ ความอยาก ได้ขาด จึงตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด


29
1) เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น
2) โลกย่อมชมเชย ในอะไร
3) โลก ยึดถือซึ่งอะไร
4) โลกย่อมเดือดร้อนเพราะอะไร ฯ

อายตนะ ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น
โลกย่อมทำความชมเชยใน อายตนะ ๖
โลกยึดถือ อายตนะ ๖ นั่นแหละ
โลกย่อมเดือดร้อนเพราะอายตนะ ๖


30
1) ฆ่าอะไรหนอจึงอยู่เป็นสุข
2) ฆ่าอะไรหนอจึงไม่เศร้าโศก 
3) ข้าแต่ พระโคดม พระองค์ชอบ ฆ่าอะไรซึ่งเป็นธรรมอันเดียว


ฆ่าความโกรธเสียได้
จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าความโกรธเสีย จึงไม่เศร้าโศก
แน่ะเทวดา พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่า ความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่ เศร้าโศก


31
1) อะไรหนอเป็นสง่าของรถ
2) อะไรหนอเป็นเครื่องปรากฏของไฟ 
3) อะไรหนอเป็นสง่า ของแว่นแคว้น
4) อะไรหนอเป็นสง่าของสตรี


ธง เป็นสง่าของรถ
ควัน เป็นเครื่องปรากฏของไฟ
พระราชา เป็นสง่าของ แว่นแคว้น
ภัศดา(ภรรยา) เป็นสง่าของสตรี


32
1) อะไรหนอเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้
2) อะไรหนอที่บุคคล ประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
3) อะไรหนอเป็นรสดีกว่า บรรดารสทั้งหลาย
4) คนมีชีวิต เป็นอยู่อย่างไร นักปราชญ์ ทั้งหลาย กล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ


ศรัทธา เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้
ธรรม ที่บุคคล ประพฤติ ดีแล้ว นำความสุขมาให้
ความจริง เท่านั้น เป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย
คนที่เป็น อยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่ามีชีวิต ประเสริฐ


33
1) บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น สิ่งอะไรหนอประเสริฐ
2) บรรดาสิ่งที่ตกไปอะไรหนอประเสริฐ
3) บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า ใครเป็นผู้ ประเสริฐ
4) บรรดาชน ผู้แถลง คารม ใครเป็นผู้ ประเสริฐ ฯ

เทวดาผู้หนึ่งแก้ว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ข้าวกล้าเป็นประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป 
ฝนเป็นประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า เหล่าโคเป็นประเสริฐ บรรดาชน ผู้แถลง คารมบุตรเป็นประเสริฐ (เพราะไม่กล่าวร้ายให้มารดาบิดา)


พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้ เป็นประเสริฐ
บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชาเป็นประเสริฐ
บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า พระสงฆ์เป็นประเสริฐ
บรรดาชนผู้แถลงคารม พระพุทธเจ้าเป็นประเสริฐ


34
1) อะไรเป็นแสงสว่างในโลก
2) อะไรหนอเป็นธรรม เครื่องตื่นอยู่ในโลก
3) อะไรหนอ เป็นสหายในการงานของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน
4) อะไรหนอเป็นเครื่องสืบต่อชีวิตของเขา
5) อะไรหนอย่อมพะนอเลี้ยงบุคคล ผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง บ้างมารดา เลี้ยงดูบุตร
6) เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยอะไรหนอเลี้ยงชีวิต


ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
สติ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
ฝูงโค เป็นสหาย ในการงาน ของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน
ไถ เป็นเครื่องต่อชีวิตของเขา
ฝน ย่อมเลี้ยง บุคคลผู้เกียจคร้านบ้างไม่เกียจคร้านบ้าง เหมือนมารดาเลี้ยงบุตร เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีวิต


35
1) คนพวกไหนหนอไม่เป็นข้าศึกในโลกนี้
2) พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของชนพวกไหน ย่อมไม่เสื่อม
3) คนพวกไหนกำหนดรู้ ความอยากได้ในโลกนี้
4) ความเป็นไทยมีแก่คน พวกไหนทุกเมื่อ มารดาบิดาหรือพี่น้อง ย่อมไหว้บุคคลนั้น
5) ผู้ตั้งมั่นในศีลคือใครหนอ
6) พวกกษัตริย์ย่อมอภิวาทใครหนอ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ

1) สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็น ข้าศึกในโลก
2) พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของ สมณะ ทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม
3) สมณะทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้ความอยากได้
4) ความเป็นไทย ย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ มารดาบิดา หรือพี่น้องย่อมไหว้ 5) 5) บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ
6) ถึงพวกกษัตริย์ก็อภิวาทสมณะ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ


37
1) แสงสว่างในโลก มีกี่อย่าง

แสงสว่างในโลกมี ๔ อย่าง อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้ 
อย่างที่ 1 พระอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน
อย่างที่ 2 พระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน
อย่างที่ 3 ส่วนไฟส่องสว่างในที่นั้นๆ ทั้งกลางวัน และกลางคืน
อย่างที่ 4 พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าแสงสว่างทั้งหลาย แสงสว่างนี้ เป็นยอดเยี่ยม


38
1) พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้าน พึงทำความเพียรนี้ เขาไม่ปรารถนา ภพ ด้วยเหตุนั้น เพราะละ กาม ได้ขาดแล้ว ฯ

พ. ทามลิ กิจไม่มีแก่พราหมณ์* เพราะว่า พราหมณ์ทำกิจเสร็จแล้ว บุคคลยังไม่ได้ ท่าจอดในแม่น้ำทั้งหลายเพียงใด เขาเป็นสัตว์เกิด ต้องพยายามด้วยตัวทุกอย่าง เพียงนั้น ก็ผู้นั้นได้ท่าเป็นที่จอดแล้วยืนอยู่บนบก ไม่ต้องพยายาม เพราะว่าเขาเป็น ผู้ถึงฝั่งแล้ว

ดูกรทามลิเทวบุตร นี้เป็นข้ออุปมาแห่งพราหมณ์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีปัญญาเพ่งพินิจฯ พราหมณ์นั้น ถึงที่สุดแห่งชาติ และมรณะแล้ว ไม่ต้องพยายาม เพราะเป็นผู้ถึงฝั่ง แล้วฯ *พรามหมณ์ ในที่นี่คือ พระอรหันต์ ผู้พ้นแล้วจากอาสวะกิเลส



39
1) ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรม ทำได้โดยยาก ข้าแต่พระผู้มี พระภาค สมณธรรม ทำได้โดยยากยิ่ง (เข้าถึงธรรม กระทำได้ยากยิ่ง)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีลแห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่น แล้ว ย่อมกระทำ แม้ซึ่งสมณธรรม อันบุคคลทำได้โดยยากความยินดี ย่อมนำ สุขมาให้แก่บุคคลผู้เข้าถึงแล้ว ซึ่งความเป็นผู้ไม่มีเรือน

2) กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อที่หาได้ยากนี้คือ ความสันโดษ ยินดี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบแห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจ ยินดีแล้วในความอบรมจิต ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นย่อมได้ แม้ซึ่งสิ่ง ที่ได้โดยยาก

3) กามทเทวบุตรกราบทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาค ธรรมชาติที่ตั้งมั่นได้ยากนี้คือ จิต
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใดยินดีแล้วในความสงบ อินทรีย์ชนเหล่านั้น ย่อม ตั้งมั่น ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลายเหล่านั้น ตัดข่ายแห่ง มัจจุไปได้

4) กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทางที่ไปได้ยาก คือทาง ที่ไม่เสมอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลายย่อมไปได้แม้ในทางที่ไม่ เสมอ ที่ไปได้ยากผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่ายศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกไปในทางอัน ไม่เสมอ ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับอริยะทั้งหลาย เพราะอริยะทั้งหลายเป็นผู้สม่ำเสมอ ในทางอันไม่เสมอ


40
(การข้ามพ้นซึ่งความสุขและความทุกข์)

กกุธเทวบุตร ได้กราบทูล พระผู้มี พระภาคว่า
1) ข้าแต่พระสมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผู้มีอายุ เราได้อะไรจึงจะยินดี

2) ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้นพระองค์ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผู้มีอายุ เราเสื่อมอะไรจึงจะเศร้าโศกฯ

3) ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้นพระองค์ไม่ทรงยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นเช่นนั้น ผู้มีอายุ

4) ข้าแต่ภิกษุ พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างหรือ ความเพลิดเพลินไม่มีบ้างหรือ ความเบื่อหน่าย ไม่ครอบงำพระองค์ผู้ประทับนั่ง แต่พระองค์เดียวบ้างหรือ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่านผู้อันคนบูชา เราไม่มีทุกข์เลย และความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีอนึ่ง ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเราผู้นั่งแต่ผู้เดียว

5) ข้าแต่ภิกษุ ทำไมพระองค์จึงไม่มีทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลินจึงไม่มีทำไม ความเบื่อหน่าย จึงไม่ครอบงำพระองค์ผู้นั่ง แต่ผู้เดียว ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน
ผู้มีความเพลิดเพลิน นั่นแหละจึงมีทุกข์
ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์
ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ผู้มีอายุ

กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า นานหนอ ข้าพระองค์จึงพบเห็นภิกษุ ผู้เป็น พราหมณ์ดับรอบแล้วไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ข้ามพ้นเครื่องข้องในโลกแล้ว


41

โรหิตัสส เทพบุตร ยืนอยู่ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า
1) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลสถิตอยู่ ณ ที่ใดหนอ จึงจะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันบุคคลจะอาจบ้างหรือไม่ เพื่อที่จะรู้ เพื่อที่ จะเห็น หรือเพื่อที่จะบรรลุที่สุดโลกได้ด้วยการเดินทาง

พ. อาวุโส ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่พูดถึงที่นั้น อันเป็นที่สุดของโลก ว่าควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุ ด้วยการเดินทาง

ร. น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้พระผู้มีพระภาคตรัส แจ่มแจ้งดังปรากฏว่าอาวุโส ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตายไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่พูดถึงที่นั้น อันเป็นที่สุดของโลกว่า ควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุ ด้วยการเดินทาง

ร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ปางก่อน ข้าพระองค์เป็นฤาษี ชื่อ โรหิตัสสะ เป็นบุตร ของ อิสสรชน มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้มีความเร็วประดุจอาจารย์สอน ศิลปธนู จับธนูมั่น ชาญศึกษา ชำนาญมือ เคยประกวดยิงธนูมาแล้ว ยิงผ่านเงาตาล ตามขวาง ได้ด้วย ลูกศรขนาดเบาโดยสะดวกดาย ย่างเท้าของข้าพระองค์เห็นปานนี้ ประดุจ จากมหาสมุทรด้านทิศบูรพา ก้าวถึงมหาสมุทรด้านทิศประจิม ข้าพระองค์มา ประสงค์ อยู่แต่เพียงว่า เราจักบรรลุถึงที่สุดของโลกด้วยการเดินทาง ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประกอบด้วยความเร็วขนาดนี้ด้วยย่างเท้าขนาดนี้ เว้นจาก การกิน การขบเคี้ยว และการลิ้มรสอาหาร เว้นจากการ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เว้นจาก ระงับความเหน็ดเหนื่อย ด้วยการหลับนอน มีอายุถึงร้อยปี ดำรงชีพอยู่ถึงร้อยปี เดินทางตลอดร้อยปี ก็ยังไม่ถึงที่สุดของโลกได้ แต่มาทำกาลกิริยาเสีย(ตาย) ในระวาง น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า

พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแจ่มแจ้งแล้ว ดังปรากฏว่า อาวุโส ที่ใดเป็นที่ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่พูดถึงที่นั้นอันเป็นที่สุดของโลกว่าควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุ ด้วยการเดินทาง

พ. ดูกรอาวุโส ที่ใดเป็น ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่พูดถึง ที่นั้น อันเป็นที่สุดของโลก ว่าควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุด้วยการเดินทาง ก็ถ้าหากเรา ยังไม่บรรลุ ถึงที่สุดของโลกแล้ว ก็จะไม่กล่าวถึงการกระทำ ที่สุดทุกข์ ก็แต่ว่าเราบัญญัติเรียกว่าโลก เหตุให้เกิดโลก การดับของโลก และทาง ให้ถึงความดับโลก ในสรีระร่างมีประมาณวาหนึ่งนี้ และพร้อมทั้งสัญญาพร้อมทั้งใจ ครอง

แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่สุดโลกด้วยการเดินทาง และเพราะที่ยังบรรลุ ถึงที่สุดโลกไม่ได้ จึงไม่พ้นไปจากทุกข์

เหตุนั้นแหละ คนมีปัญญาดี ตระหนักชัดเรื่องโลก ถึงที่สุดโลกได้ อยู่จบพรหมจรรย์ แล้ว รู้จักที่สุดโลกแล้ว เป็นผู้ระงับแล้ว จึงไม่หวังโลกนี้ และ โลกหน้า


42
1) เทวดาทูลถามว่า
บุคคลให้สิ่งอะไร ชื่อว่าให้กำลัง
ให้สิ่งอะไร ชื่อว่า ให้วรรณะ 
ให้สิ่งอะไร ชื่อว่าให้ความสุข
ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้จักษุและบุคคล
เช่นไรชื่อว่าให้ ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ ขอพระองค์ตรัสบอก แก่ ข้าพระองค์ ด้วยเถิด ฯ

บุคคล ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง
ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ
ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข
ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่า ให้จักษุ
และผู้ที่ให้ที่พักพาอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรม ชื่อว่าให้อมฤตธรรม ฯ


43
1) เทวดาทูลถามว่า คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขา ทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่ ฯ วิบากของคนพวกนั้นจะเป็นเช่นไร และ สัมปรายภพ ของเขาจะเป็นเช่นไร ฯ ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถาม พระผู้มีพระภาค ไฉนข้าพระองค์ จึงจะรู้ความข้อ นั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าคนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ เหนียวแน่น ดีแต่ว่า เขาทำการกีดขวาง คนเหล่าอื่น ผู้ให้อยู่ ฯ คนเหล่านั้น ย่อมเข้าถึง นรก กำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน หรือยมโลก  ถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุล คนยากจน ซึ่งจะหา ท่อนผ้า อาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนานได้โดยยาก ฯ คนพาล เหล่านั้นต้อง ประสงค์สิ่งใดแต่ผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้แม้สิ่งนั้นสมความปรารถนา นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังเป็นทุคติอีกด้วย ฯ

2) เทวดาทูลถาม ว่าก็ข้อนี้ข้าพระองค์เข้าใจชัดอย่างนี้ (แต่) จะทูลถามข้ออื่นกะ พระโคดมชน เหล่าใดในโลกนี้ ได้ความเป็นมนุษย์แล้วรู้ถ้อยคำ ปราศจากความ ตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นผู้มีความ เคารพแรงกล้า วิบากของชนเหล่านั้น จะเป็นเช่นไร และสัมปรายภพของเขาจะเป็น เช่นไร ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค ไฉนข้าพระองค์ จึงจะรู้ความข้อนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าชนเหล่าใดในโลกนี้ ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและ พระสงฆ์ เป็นผู้มี ความเคารพแรงกล้า ชนเหล่านี้ย่อมปรากฏในสวรรค์ อันเป็นที่อุบัติ หากถึงความ เป็นมนุษย์ ย่อมเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง ได้ผ้าอาหารความร่าเริง และความ สนุกสนาน โดยไม่ยาก พึงมีอำนาจแผ่ไปในโภคทรัพย์ที่ผู้อื่นหาสะสมไว้ บันเทิงใจอยู่ นั่นเป็นวิบาก ในภพนี้ ทั้งภพหน้าก็เป็นสุคติ ฯ


44
กัสสปเทวบุตร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า 
1) พระผู้มีพระภาคทรงประกาศภิกษุ ไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสอนของภิกษุ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสปเทวบุตร ถ้าอย่างนั้นคำสอนนั้นจงแจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด ฯ


2) บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ การนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และการสงบระงับจิต ฯ

พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ฯ

ลำดับนั้น กัสสปเทวบุตรทราบว่า พระศาสดา ทรงพอ พระทัย จึงถวายบังคมพระผู้มี พระภาค ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปใน ที่นั้นเอง ฯ




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์