เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สังขิตตสูตร อุโบสถ ๘ ประการ วิตถตสูตร ผู้รักษาอุโบสถ 8 จะไปเกิดในชั้นกามภพชั้น1-6 828
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
องค์ที่ ๑ พระอรหันต์ฯ ละปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์ เกื้อกูล สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต
องค์ที่ ๒ พระอรหันต์ฯ ละอทินนาทาน(ลักทรัพย) ไม่ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้ หวังแต่สิ่งของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย ตลอดชีวิต
องค์ที่ ๓ พระอรหันต์ฯ ละ อพรหมจรรย์(กาเม) ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนของชาวบ้านตลอดชีวิต
องค์ที่ ๔ พระอรหันต์ฯ ละมุสาวาท(พูดโกหก) งดเว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำสัตย์ คำจริงที่ควรเชื่อถือได้ ไม่กล่าว ให้คลาด จากความจริง
องค์ที่ ๕ พระอรหันต์ฯ ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและ เมรัย อันเป็น ที่ตั้ง แห่งความประมาทงดเว้นการดื่มน้ำเมา ตลอดชีวิต
องค์ที่ ๖ พระอรหันต์ฯ เป็นผู้บริโภคอาหารครั้งเดียว งดบริโภคอาหารในกลางคืน เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล อยู่ตลอดชีวิต
องค์ที่ ๗ พระอรหันต์ฯ เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง การทัดทรง ประดับ ตบแต่งด้วยดอกไม้ เครื่องลูบไล้ ตลอดชีวิต
องค์ที่ ๘ พระอรหันต์ฯ เว้นจากการนั่ง การนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ ด้วยเครื่องลาดด้วยหญ้า

วิตถตสูตร (ผู้รักษาอุโบสถ 8 ประการ เมื่อตายไปจะไปเกิดในชั้นเทวดากามภพ 6 ชั้น)

 
 

 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๑๙๕

สังขิตตสูตร (อุโบสถ ๘ ประการ)


[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

                สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันบุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันบุคคล เข้าอยู่ แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลาย มาก

                อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละ ปาณาติบาต(ฆ่าสัตว์-ศีล5ข้อ1) งดเว้น จากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์ เกื้อกูล สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เรา ก็ละ ปาณาติบาต งดเว้นจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์ เกื้อกูล สรรพสัตว์อยู่ ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตาม พระอรหันต์ แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่า จักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบ ด้วย องค์ที่ ๑ นี้

                ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอทินนาทาน(ลักทรัพย์-ศีล5ข้อ2) งดเว้นจาก อทินนาทาน ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้ หวังแต่สิ่งของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย สะอาดอยู่ ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ถือเอา แต่สิ่งของ ที่เขาให้ หวัง แต่สิ่งของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย สะอาดอยู่ตลอดคืน และวันนี้ เราชื่อว่ากระทำ ตามพระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถ ชื่อว่าจักเป็น อันเรา เข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วย องค์ที่ ๒ นี้

                ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละอพรหมจรรย์(กาเม-ศีล5ข้อ3) ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติ ห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรม ของ ชาวบ้านตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เรา ก็ละ อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุน อันเป็นธรรม ของชาวบ้านอยู่ ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ ทั้งหลายแม้ด้วย องค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วย องค์ที่ ๓ นี้

                ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาท(พูดโกหก- ศีล5ข้อ4) งดเว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำ สัตย์  ส่งเสริมคำจริง มั่นคง ควรเชื่อถือได้ ไม่กล่าว ให้คลาดจากความ จริงแก่โลก ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำสัตย์ ส่งเสริม คำจริง มั่นคง ควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง แก่โลก ตลอดคืน และวันนี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถ ชื่อว่าจักเป็น อันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วย องค์ที่ ๔ นี้

                ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมา(ศีล5ข้อ5) คือ สุราและ เมรัย อันเป็น ที่ตั้ง แห่งความประมาทงดเว้นการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็น ที่ตั้งแห่งความ ประมาท ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็น ที่ตั้ง แห่ง ความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็น ที่ตั้ง แห่งความ ประมาท ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตาม พระอรหันต์ทั้งหลาย แม้แม้ด้วยองค์นี้ และ อุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วย องค์ที่ ๕ นี้

                ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้บริโภคอาหารครั้งเดียว งดบริโภค อาหาร ในกลางคืนเว้นจากการบริโภคอาหาร ในเวลา วิกาลอยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เรา ก็บริโภคอาหารครั้งเดียว งดการบริโภคอาหารในกลางคืน เว้นจากการบริโภค อาหาร ในเวลาวิกาล ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่ แล้ว อุโบสถประกอบ ด้วย องค์ที่ ๖ นี้

                ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายงดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม ดูการเล่นอันเป็นข้าศึก และการทัดทรง ประดับ ตบแต่งด้วยดอกไม้ ของหอมและ เครื่องลูบไล้ อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ งดเว้นจาก การฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม ดูการเล่นอันเป็นข้าศึก และงดเว้นการทัด ทรงประดับ ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ของหอม และ เครื่อง ลูบไล้ อันเป็นฐานแห่งการ แต่งตัว ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่า จักเป็น อันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถ ประกอบด้วย องค์ที่ ๗ นี้ ฯ 

                ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่ง ที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาดด้วยหญ้า ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่ง การนอนบน ที่นั่ง ที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่ง การนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือเตียงหรือ เครื่องลาด ด้วยหญ้าตลอดคืน และวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่า จักเป็นอันเรา เข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วย องค์ที่ ๘ นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ฯ

จบสูตรที่ ๑

คลิปอุโบสถ 8 ประการ


..................................................................................................

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๑๙๗


วิตถตสูตร

(ผู้รักษาอุโบสถ 8 ประการ เมื่อตายไปจะไปเกิดในชั้นเทวดากามภพ 6 ชั้น)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ เทวดา ชั้นจาตุมมหาราช(ชั้นที่1) ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดย เดือนนั้นเป็น ปีหนึ่ง ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้น จาตุมมหาราช ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคน ในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชาย ก็ตาม เข้าอยู่ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไปพึงเข้าถึงความ เป็นสหาย แห่งเทวดา ชั้น จาตุมมหาราช นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอา ข้อนี้ จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบ กับสุขอันเป็นทิพย์ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑๐๐ ปี มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ เทวดาชั้นดาวดึงส์ (ชั้นที่2) ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือน โดยเดือนนั้น เป็นปีหนึ่งพันปีทิพย์ โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูกรภิกษุทั้งหลายข้อที่บุคคลบางคน ในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้น ดาวดึงส์นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่าราชสมบัติมนุษย์ เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒๐๐ (ชั้นที่3) ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือน นั้น เป็นปีหนึ่ง ๒,๐๐๐ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณของอายุเทวดาชั้นยามา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิง หรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาชั้นยามานี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ เทวดาชั้นดุสิต(ชั้นที่4) ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็นปีหนึ่ง ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล บางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิง หรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิตนี้ เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๘๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ เทวดาชั้นนิมมานรดี(ชั้นที่5) ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดย เดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของ เทวดาชั้น นิมมานรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคน ในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ เป็นสหาย แห่งเทวดาชั้น นิมมานรดี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้ จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคน กำพร้า เมื่อเทียบกับ สุขอันเป็นทิพย์ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ เทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี(ชั้นที่6) ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดย เดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ โดยปีนั้นเป็นประมาณอายุของเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล บางคนในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชาย ก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ เป็นสหายแห่ง เทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์ เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบ กับ สุข อันเป็นทิพย์ ฯ

.........ฯลฯ

จบสูตรที่ ๒

  เทวดาชั้นกามภพ (6ชั้น) อายุเทวดา
แต่ละชั้น
เทียบกับ
อายุมนุษย์
 
6 ปรนิมมิตสวัตดี (สูงสุด) 16,000 ปีทิพย์ 9,216 ล้านปี  1,600 ปีมนุษย์ เท่ากับ
 1 คืนเทวดาชั้นปรนิม
5 นิมมานรดี 8,000 ปีทิพย์ 2,304 ล้านปี  800 ปีมนุษย์ เท่ากับ
 1 คืนเทวดาชั้นนิมมา
4 ดุสิต 4,000 ปีทิพย์ 576 ล้านปี  400 ปีมนุษย์ เท่ากับ
 1 คืนเทวดาชั้นดุสิต
3 ยามา 2,000 ปีทิพย์ 144 ล้านปี  200 ปีมนุษย์ เท่ากับ
  1 คืนเทวดาชั้นยามา
2 ดาวดึงส์ 1,000 ปีทิพย์ 36 ล้านปี  100 ปีมนุษย์ เท่ากับ
 1 คืนเทวดาชั้นดาวดึงส์
1 จาตุมหาราชิกา(ต่ำสุด) 500 ปีทิพย์ 9 ล้านปี  50 ปีมนุษย์ เท่ากับ
 1 คืนเทวดาชั้นมาตุ
     

(การรักษาอุโบสถ 8 ประการ ยังไม่อาจเข้าถึงนิพพานได้ ได้แค่ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามภพ เพราะยังไม่รู้อริยสัจสี่ ยังไม่เห็นการเกิด-ดับ ของนามรูป)

………………………………………………………………………………….


 อนุรุทธสูตร

(เหล่าเทวดาเข้าหาพระอนุรุทธะ)

     [๑๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตารามใกล้พระนครโกสัมพี ก็สมัยนั้นแล ท่าน พระอนุรุทธะ ไปยังวิหาร ที่พัก กลางวัน หลีกเร้นอยู่ ลำดับนั้น มีเทวดาเหล่ามนาปกายิกามากมาย พากันเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่าน พระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดา ชื่อ มนาปกายิกา* มีอิสระและอำนาจ ในฐานะ ๓ ประการ คือ
*เทวดาชั้นนิมมานนรดี (ชั้นที่5) (อ้างอิง)

ข้าพเจ้าทั้งหลาย
หวัง วรรณะ [ผิวพรรณ] เช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้น โดยพลัน ๑
หวัง เสียง [พูดเพราะ] เช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้น โดยพลัน ๑
หวัง
ความสุข เช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้น โดยพลัน ๑

     ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะดำริว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้ พึงมีร่างเขียว นุ่งผ้าเขียว มีผิวพรรณเขียว มีเครื่องประดับ เขียว ฯ

     ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้น ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว  ล้วนมีร่าง เขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่อง ประดับ เขียว ฯ

     ท่านพระอนุรุทธะจึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้ มีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาวมีเครื่องประดับขาว ฯ

     เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ล้วนมีร่างขาวมีผิวพรรณ ขาวนุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดา เหล่านั้น ตนหนึ่งขับร้อง ตนหนึ่งฟ้อนรำ ตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้วตีดังไพเราะ ทั้งบรรเลง โดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญมีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่า รื่นรมย์ ฉันใด เสียงแห่งเครื่องประดับ ของ เทวดาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฯ

     ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้นทราบว่า พระผู้เป็นเจ้า อนุรุทธะ ไม่ยินดี จึงอันตรธานไป ณ ที่นั้น ฯ

     ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระอนุรุทธะออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานวโรกาส วันนี้ ข้าพระองค์ไปยังวิหารที่พักกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ....

(พระอนุรุทธะเล่าตามความข้างต้น)

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา เหล่ามนาปกายิกา ธรรม๘ ประการ เป็นไฉน

(1) ดูกรอนุรุทธะมาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์แสวงหา ความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดูยอมยกให้แก่ชายใดผู้เป็นสามีสำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจกล่าวถ้อยคำ เป็นที่รัก

(2) ชนเหล่าใดเป็นที่ เคารพของสามี คือ มารดา บิดาหรือสมณพราหมณ์ เธอสักการะ เคารพ นับถือบูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้ว ด้วย อาสนะและ น้ำ

(3) การงานใดเป็นงาน ในบ้านของสามี คือการทำผ้าขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย เธอเป็นคน ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นอุบาย ในการงานนั้น สามารถจัดทำ

(4) ชนเหล่าใดเป็นคนภายในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้ หรือ กรรมกรย่อมรู้ว่า การงาน ที่เขาเหล่านั้น ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ ๑ ย่อมรู้อาการ ของคนภายในผู้เป็น ไข้ว่า ดีขึ้นหรือทรุดลง ๑ ย่อมแบ่งปันของกินของบริโภค ให้แก่เขาตามควร

(5) สิ่งใดที่สามีหามาได้ จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงินหรือทอง ย่อมรักษา คุ้มครองสิ่งนั้น ไว้ และไม่เป็นนักเลงการพนันไม่เป็นขโมย ไม่เป็น นักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ

(6) เป็นอุบาสิกาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ

(7) เป็นผู้มีศีล งดเว้นจาก ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และการดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

(8) เป็นผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะ อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของเทวดาเหล่า มนาปกายิกา (ชั้นนิมมานนรดี )

         สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียร ขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนา ทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อยคำ  แสดงความ หึงหวง  และย่อมบูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติ เป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อมประพฤติตามความชอบใจ ของสามีอย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้า ถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ

(ย่อ)
1. ตื่นก่อนนอนทีหลัง ประพฤติตนให้ถูกใจ ไม่ดูหมิ่นสามี กล่าวถ้อยคำไพเราะ
2. สามีเคารพบูชาชนเหล่าใด ให้เคารพนับถือบูชาชนเหล่านั้น
3. ขยัน ไม่เกียจคร้าน
4. สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
5. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได
6. นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
7. รักษาศีล 5
8. เป็นผู้มีการบริจาค ปราศจากมลทิน

หญิงใดเข้าถึงคุณธรรม๘ ประการนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเทวดาเหล่า มนาปกายิกา



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์