เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง(พระวินัย)การเสพเมถุนที่ไม่อาบัติปาราชิกแต่อาบัติสังฆาทิเสส 827
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง (พระวินัย)

อุบาสิกา ชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม(เสพเมถุนกับภิกษุ) สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ

1. ภิกษุนั้น ได้กระทำ ที่ระหว่างขาอ่อน
2. ภิกษุนั้น ได้กระทำ ที่สะดือ
3. ภิกษุนั้น ได้กระทำ ที่เกลียวท้อง
4. ภิกษุนั้น ได้กระทำ ที่ซอกรักแร้
5. ภิกษุนั้น ได้กระทำ ที่คอ
6. ภิกษุนั้น ได้กระทำ ที่ช่องหู
7. ภิกษุนั้น ได้กระทำ มวยผม
8. ภิกษุนั้น ได้กระทำ ที่ง่ามมือ
9. ภิกษุนั้น ให้นางทำด้วยมือจนสุกกะ(อสุจิ)เคลื่อน

ทั้งหมดนี้ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (โทษรองจากอาบัติปราชิก)

(ต้องอาบัติแล้วต้องแจ้งแก่สงฆ์ 4 รูป เพื่อขอประพฤติวัตร ที่ชื่อ มานัต  เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้ว จึง ประพฤติวัตร ดังกล่าวเป็นเวลา 6 คืน เมื่อพ้นแล้ว จึงขอให้สงฆ์ 20 รูปทำสังฆกรรม สวดอัพภาน ให้
ในกรณีต้องอาบัตแล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวัน ที่ ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้อง อาบัติสังฆาทิเสส แล้วปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ ปริวาส หนึ่งเดือน)

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๒๙


เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์ มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้น ห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน โดยวิธีนี้อาบัติจัก ไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่าดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่สะดือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำ ตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่าดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่เกลียวท้อง โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

๔. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ซอกรักแร้ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้ กระทำ ตามนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่าดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

๕. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่คอ โดยวิธีนี้อาบัติ จักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

๖. ก็โดยสมัยนั้นแล
อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้น ห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ช่องหู โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค  ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้น ห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่มวยผม โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำ ตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค  ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๘. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้น ห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ง่ามมือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค  ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

๙. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้น ห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะเคลื่อน โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้ กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องบัญญัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค  ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส.



สังฆาทิเสส

(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

สังฆาทิเสส คือประเภทของโทษ ที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติ ที่เรียกว่า อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรงรองจากปาราชิก 

มีทั้งหมด 13 ประการดังนี้

1. ทำน้ำอสุจิเคลื่อน
2. แตะต้องสัมผัสกายสตรี
3. พูดเกี้ยวพาราสีสตรี
4. พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
5. ทำตัวเป็นพ่อสื่อ
6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
7. มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
8. ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
9. แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
10. ทำสงฆ์แตกแยก(สังฆเภท)
11. เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
12. ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
13. ประจบสอพลอคฤหัสถ์

คำว่าสังฆาทิเสสแปลว่าอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ ในกรรมเบื้องต้น และกรรมที่เหลือ กล่าวคือเมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ 4 รูป เพื่อขอประพฤติวัตร ที่ชื่อ มานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้ว จึงประพฤติวัตรดังกล่าวเป็นเวลา 6 คืน เมื่อพ้นแล้ว จึงขอให้สงฆ์ 20 รูปทำสังฆกรรม สวดอัพภาน ให้ เมื่อพระสงฆ์สวด อัพภานเสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติข้อนี้

ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติข้อนี้แล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้อง อาบัติสังฆาทิเสส แล้วปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ปริวาส หนึ่งเดือน แล้วจึงขอประพฤติวัตรมานัตต่อไป




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์