เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
กายนครที่ปลอดภัย อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ สัทธา หิริ โอตตัปะ สุตะ สต 825
 
  (เนื้อหาพอสังเขป)

กายนครที่ปลอดภัย
อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ
ย่อมเข้าถึง ฌานทั้ง ๔ ได้ไม่ยาก

1. มีสัทธา
เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนก ธรรม
2. มีหิริ
ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการ ถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรม อันลามกทั้งหลาย
3. มีโอตตัปปะ
สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อ อกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย
4. มีสุตะ สั่งสมสุตะ
ประกาศธรรมที่งามในเบื้องต้นท่ามกลางที่สุด ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
5. มีความเพียร
เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง
6. มีสติ
ประกอบด้วยสติ เป็นเครื่องรักษาอย่างยิ่ง ระลึกถึง ตามระลึกถึง ซึ่งกิจที่กระทำ และคำที่พูดแล้ว
7. มีปัญญา
สมบูรณ์ด้วยการก่อ การฉาบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ



เข้าถึงฌาณ ทั้ง 4

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีหญ้า ไม้ และน้ำ สั่งสมไว้ เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกัน ในภายนอก นี้ฉันใด

การเข้าฌานแต่ละขั้น เปรียบเหมืนอสั่งสมเสบียงไว้ในกายนคร
(ฌาน 1 เปรียบเหมือนสะสม หญ้า ไม้ น้ำ )
(ฌาน 2 เปรียบเหมือน สะสม ข้าวสาลี ข้าวยวะ )
(ฌาน 3 เปรียบเหมือนสะสม งา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส)
(ฌาน 4 เปรียบ เหมือน สะสม เนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ)

คลิป

 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ ภาค ๓ ว่าด้วย นิโรธอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่ ๖๘๙



กายนครที่ปลอดภัย

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปกติได้ ตามปรารถนา โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ในกาลใด

          ภิกษุ ท. !  ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำ อะไรไม่ได้.

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการอย่างไรเล่า ?

..............................................................................
(๑)
          ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนใน ปัจจันตนคร ของพระราชา มีเสาระเนียด อันมีรากลึก ฝังไว้ดี  ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน สำหรับคุ้มภัยในภายในและ ป้องกันใน ภายนอก นี้ฉันใด

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกก็ มีสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต ว่า “แม้เพราะ เหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.... ฯลฯ ...เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนก ธรรม” ดังนี้

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกผู้มีสัทธาเป็นเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรม อันมีโทษเจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.

..............................................................................
(๒)
          ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีคูรอบทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกก็ มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการ ถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรม อันลามกทั้งหลาย 

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรม อันมีโทษ เจริญกรรม  อันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สอง.

..............................................................................
(๓)
          ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเชิงเทินเดินรอบ ทั้งสูง และ กว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกก็ มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต  สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วย อกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย.

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกผู้ มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สาม.

..............................................................................

(๔)
          ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอาวุธอันสั่งสมไว้ เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและประหารไกลตัว สำหรับคุ้มภัยในภายใน และป้องกัน ในภายนอก นี้ฉันใด

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกก็ มีสุตะ  อันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ที่เป็นการประกาศ พรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมมีรูป เห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรม อันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่า  ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
..............................................................................
(๕)
          ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกองพลประจำอยู่เป็น อันมาก คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู กองจัดธงประจำกอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี กองราชบุตร กองจู่โจมกองมหานาค กองคนกล้า กองโล้ไม้ กองเกราะโล้หนัง กองทาสกบุตร สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกัน ในภายนอก นี้ฉันใด

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวก มีความเพียร อันปรารภแล้ว เพื่อละอกุศลธรรม ทั้งหลาย เพื่อยัง กุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระใน กุศลธรรมทั้งหลาย

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็นพลกาย ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรม อันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ห้า.
..............................................................................
(๖)
          ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร ของพระราชามีนายทวารที่เป็น
บัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก ให้เข้าแก่คนที่รู้จัก เพื่อคุ้มภัย ในภายใน และป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกเป็นผู้ มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา อย่างยิ่ง ระลึกถึง ตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนายทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรม อันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.
..............................................................................
(๗)
          ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูง และ กว้าง สมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ เพื่อคุ้มภัยในและป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด ภิกษุ

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องถึง ธรรมสัจจะ แห่งการตั้งขึ้น และการตั้งอยู่ไม่ได้ อันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

          ภิกษุ ท. !  อริยสาวกผู้ มีปัญญา เป็นความสมบูรณ์ด้วยการก่อ และการฉาบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตน ให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่เจ็ด.

          อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล.



         ภิกษุ ท. ! อริยสาวก  เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ ลำบาก  ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม  เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีหญ้า ไม้ และน้ำ สั่งสมไว้ เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อ ป้องกัน ในภายนอก นี้ฉันใดภิกษุ ท. !  อริยสาวก สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมี วิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพื่อความ ยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุกแห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน (ฌาน 1 เปรียบเหมือนสะสม หญ้า ไม้ น้ำ )

         ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ในปัจจันตนครของพระราชา มีข้าวสาลีและข้าวยวะ สะสมไว้ เป็นอันมาก เพื่อความ ยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อ ป้องกัน ใน ภายนอก นี้ฉันใดภิกษุ ท. !  อริยสาวก เพราะความเข้าไปสงบระงับ แห่ง วิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็น เครื่อง ผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิ เป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ  แล้ว แลอยู่  เพื่อความยินดี  ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน (ฌาน 2 เปรียบเหมือน สะสม ข้าวสาลี ข้าวยวะ )

         ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอปรัณณชาติ คืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นต้น สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดีไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็น ผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เพราะ ความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติและ สัมปปชัญญะ และย่อม เสวย ความสุขด้วยนามกาย อันชนิดที่ พระอริยเจ้า กล่าว สรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้ว แลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน  เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน. (ฌาน 3 เปรียบเหมือนสะสม งา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส)

         ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร ของ พระราชา มีเภสัชสั่งสม ไว้ เป็นอันมาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และ เกลือ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เพราะละสุข และละทุกข์ เสียได้ เพราะความดับไป แห่งโสมนัส และ โทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน. (ฌาน 4 เปรียบ เหมือน สะสม เนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ)

         อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้แล

         ภิกษุ ท. !  อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้ และ เป็นผู้มี ปกติ ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบในจิต อันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้ด้วย ในกาลใด

         ภิกษุ ท. !  ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาป กระทำอะไร ไม่ได้.

- สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔.

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์