เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อภิญญา ๖ ผู้มีความสามารถในด้านต่างๆ ๖ อย่าง 824
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อภิญญา ๖
ผู้มีความสามารถในด้านต่างๆ

1. เป็นผู้อาจเป็นผู้สามารถใน อิทธิวิธี (มีฤทธิ์)
บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้
ปรากฏก็ได้ ทำให้ หายไป ทะลุฝากำแพงภูเขา เดินบนน้ำก็ได้

2. เป็นผู้สามารถใน ทิพยโสตธาตุ  (ได้ยินเสียงทิพย์)
เราพึงฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์ และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตธาตุของมนุษย์ดังนี้.

3. เป็นผู้สามารถใน เจโตปริยญาณ (รู้ใจสัตว์)
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ รู้ว่าจิตหลุด หรือไม่หลุดพ้น

4. เป็นผู้สามารถใน บุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติได้)
เราพึงระลึกชาติก่อนได้หนึ่งบ้าง สอง.. สิบชาติ.... ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก บ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

5. เป็นผู้สามารถใน ทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ รู้ชัดว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม

6. เป็นผู้สามารถใน อาสวักขยญาณ (ญาณแห่งการหลุดพ้น)
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้



 
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓  สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์  หน้าที่ ๒๐๐

อภิญญา ๖
(ตรัสกับวัจฉะ)

          [๒๖๑] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้ หายไป ก็ได้ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดดุจไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ใน แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความ (๑) เป็นผู้อาจเป็นผู้สามารถใน อิทธิวิธี นั้นๆ เทียว.

          [๒๖๒] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์(เสียงเทวดา) และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตธาตุของมนุษย์ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ (๒) เป็นผู้สามารถใน ทิพยโสตธาตุ นั้นๆ เทียว.

         [๒๖๓] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วย คือ จิตมีราคะ พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะจิตมีโทสะ พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะพึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ พึงรู้ว่าจิตหดหู่หรือจิตฟุ้งซ่าน พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตพึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตไม่ หลุดพ้น ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ (๓) ป็นผู้สามารถใน เจโตปริยญาณ นั้นๆ เทียว.

         [๒๖๔] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้างแสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า ในภพโน้นเรามีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง อุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ(๔) เป็นผู้สามารถ ใน บุพเพนิวาสานุสติญาณ นั้นๆ เทียว.

         [๒๖๕] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือ การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป ตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความ เป็นผู้อาจเป็นผู้สามารถใน จูตูปปาตญาณ (๕) นั้นๆ เทียว.

         [๒๖๖] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความ เป็นผู้อาจเป็น ผู้สามารถใน อาสวักขยญาณ (๖) นั้นๆ เทียว.


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์