เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อุปาลีสูตร ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์เถิด 822
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ทางปฏิบัติของภิกษุ

ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติ พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม และหนวด ครองผ้า กาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติ น้อยใหญ่ แล้วปลงผม และหนวดครองผ้ากาสายะออกบวช เป็นบรรพชิต

ข้อปฏิบัติของภิกษุ

(กุศลกรรมบถ10 ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 )
ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางทัณฑะวางศาตรา
ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน รับแต่ของที่เขาให้
เว้นจากเมถุนธรรม อันเป็นกิจของชาวบ้าน
ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน
ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจาก วาจาส่อเสียด ฟังข้างนี้ แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ
ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง

(ศีลของภิกษุ- จุลศีล)
เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม
ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉัน ในเวลาวิกาล
เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี
เว้นขาดจากการทัด และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม
เว้นขาดจากการนั่งการนอน บนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
เว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้
เว้นขาดจากการซื้อการขาย เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำการตีชิง การปล้น

(สำรวมอินทรีย์ -มัชฌิมศีล)
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่องบริหารท้อง
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่น... ลิ้มรส... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ แล้วไม่ถือนิมิต
ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัว
ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้
ภิกษุนั้น ละความโลภในโลกแล้ว มีจิตปราศจากความโลภ อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

(ฌาน 1-4)
ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก-วิจาร
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะ ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส

(อรูปสัญญา สมาธิระดับ 5 6 7 8 9)
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาเสียได้ จึงบรรลุ อากาสานัญจายตน
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาน จึงบรรลุ วิญญาณัญจายตน
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน จึงบรรลุเนว สัญญานา สัญญายตน
เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จึงบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ

ดูกรอุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญจักมี


 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้าที่ ๑๗๒



อุปาลีสูตร



          พ. ดูกรอุบาลี ก็พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึก บุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมพระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

ทรงแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรแห่งคฤหบดี หรือผู้เกิดมาในภายหลัง ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้นแล้วได้ศรัทธา ในตถาคต ประกอบด้วยการได้ศรัทธาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง

การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม และหนวดครองผ้า กาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติ น้อยใหญ่ แล้วปลงผม และหนวดครองผ้ากาสายะออกบวช เป็นบรรพชิต

เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขา และอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย

...........................................................................................................................................

(กุศลกรรมบถ10 ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 )

ละปาณา ติบาต
เว้นขาดจากปาณาติบาต วางทัณฑะวางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่

ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน
รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละอพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล

เว้นจากเมถุนธรรม อันเป็นกิจของชาวบ้าน

ละมุสาวาท
เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก

ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจาก วาจาส่อเสียด ฟังข้างนี้ แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้น แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้ พร้อมเพรียงกันกล่าว แต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

ละวาจาหยาบ
เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ

ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรมพูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิงมีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร

.........................................................................................................................................

(ศีลของภิกษุ- จุลศีล)

ภิกษุนั้น
เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม
ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉัน ในเวลาวิกาล
เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี และการดูการเล่น อันเป็นข้าศึก แก่กุศล
เว้นขาดจากการทัด ทรงประดับ
และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะ แห่งการแต่งตัว
เว้นขาดจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
เว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ
เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้
เว้นขาดจากการซื้อการขาย
เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การฉ้อโกงด้วยของปลอมและการฉ้อโกงด้วยเครื่อง ตวงวัด
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง
เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำการตีชิง การปล้น และกรรโชก

.........................................................................................................................................

(สำรวมอินทรีย์ -มัชฌิมศีล)

ภิกษุนั้น
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่องบริหาร ท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศา ภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใดภิกษุเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่อง บริหารท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ฉันนั้นเหมือนกันภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุข อันไม่มีโทษเฉพาะตน ฯ

ภิกษุนั้น
เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส ครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม แล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษา มนินทรีย์ ชื่อว่าย่อมถึงความ สำรวม ในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคน ด้วยกิเลสเฉพาะตน ฯ

ภิกษุนั้น
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการแลไป ข้างหน้า ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ย่อมทำความรู้สึกตัวในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่นการพูด การนิ่ง

ภิกษุนั้น
ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้ และ ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ   ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้  หรือ อยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

ภิกษุนั้น
ละความโลภในโลกแล้ว มีจิตปราศจากความโลภ อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความโลภ ละความประทุษร้ายคือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาทมีความกรุณา หวังประโยชน์ เกื้อกูลสัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความประทุษร้ายคือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสง สว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์ จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจจ กุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยใน กุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ฯ

...........................................................................................................................................

(ฌาน 1-4)

ภิกษุนั้น
ครั้นละนิวรณ์อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการ นี้ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่ วิเวกอยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้าฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน ฯ

ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ และสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่ อันมีในก่อนมิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพ เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน ฯ

ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้เป็นการอยู่ ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพ เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน ฯ

ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะ ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรอุบาลีเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน มิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตนจึง ซ่องเสพเสนาสนะ คือป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ ของตน โดยลำดับก่อน ฯ

...........................................................................................................................................


(อรูปสัญญา สมาธิระดับ 5 6 7 8 9)

ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง

เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจ ถึงนานัตต สัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ อากาสานัญจายตน ฌาน โดยคำนึงว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ ดูกรอุบาลีเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่ อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตนจึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ ... เพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุอากิญ จัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่าหน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ...

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุเนว สัญญานา สัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า ธรรมชาตินี้สงัด ธรรมชาตินี้ประณีต ดังนี้ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่ อันมีในก่อนมิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตนจึงซ่องเสพ เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน ฯ

ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
พราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ และอาสวะของภิกษุนั้น เป็นกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้เป็น การอยู่ ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมี ในก่อนมิใช่หรือ ฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน

ดูกรอุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญจักมี

จบสูตรที่ ๙

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์