เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สัมมาวาจาขั้นสูงสุด วาจาใด จริง แท้ ด้วยประโยชน์ พึงใจของผู้อื่น ตถาคตกล่าววาจานั้น 817
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

สัมมาวาจาขั้นสูงสุด ตรัสกับราหุล- ราชกุมาร  

ตถาคต ไม่กล่าววาจานั้น
1. วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น
2. วาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และ ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจ ของผู้อื่น
3. วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แต่ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจ ของผู้อื่น
4. วาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์แต่ก็เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น

ตถาคต ย่อมกล่าววาจานั้น
1. วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบ ด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อมเลือก ให้เหมาะกาลเพื่อกล่าววาจานั้น
2. วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์และ เป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จัก กาละที่เหมาะเพื่อกล่าววาจานั้น

 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า 1072หลักเกณฑ์แห่งสัมมาวาจาขั้นสูงสุด


ราชกุมาร ! ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และ ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบ ด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อม เลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าว วาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แต่ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์แต่ก็เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์และ เป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาละที่เหมาะ เพื่อกล่าววาจานั้น.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์