ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๐๕ ๓. สัปปุริสสูตร (๑๑๓) [๑๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง สัปปุริสธรรม และ อสัปปุริสธรรม แก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๑๗๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสธรรม เป็นอย่างไร คืออสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า เราเป็นผู้ออกจาก สกุลสูง บวชแล้ว ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ มิใช่เป็นผู้ออก จากสกุลสูงบวชแล้ว อสัตบุรุษนั้นจึงยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็น ผู้มีสกุลสูงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงเลย ถึงแม้ภิกษุ ไม่ใช่เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา สรรเสริญเธอ ในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็น ผู้มีสกุลสูงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สัปปุริสธรรม ฯ .................................................................................................. [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ออกจาก สกุลใหญ่ออกจากสกุล มีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ออกจากสกุลใหญ่ ...ออกจากสกุลมีโภคะมาก... ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกจาก สกุลใหญ่ ออกจากสกุลมีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้วอสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลใหญ่ มีโภคะมาก มีโภคะยิ่งนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า ธรรมคือความโลภ ความโกรธ ความหลงย่อมไม่ถึงความ หมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้มีสกุลใหญ่ มีโภคะมาก มีโภคะยิ่งเลย ถึงแม้ภิกษุ ไม่ใช่เป็นผู้ ออกจากสกุลใหญ่ ออกจากสกุลมีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรม อันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติ แต่ภายใน เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มี สกุล ใหญ่ มีโภคะมาก มีโภคะยิ่งนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือสัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ปรากฏ มียศ ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ปรากฏ มียศ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ ปรากฏ มีศักดิ์น้อย อสัตบุรุษนั้น จึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ ปรากฏนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้ปรากฏ ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็น ผู้ปรากฏ มียศ แต่เป็นผู้ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบประพฤติธรรม อันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอ ในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้น (ทำการปฏิบัติ แต่ภายในเท่านั้น) ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ปรากฏ นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และ คิลานปัจจย เภสัชบริขาร ส่วนภิกษุอื่น เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจย เภสัช บริขาร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะการได้นั้นดูกรภิกษุทั้งหลายแม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะการได้ ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัย เภสัชบริขาร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรม อันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา สรรเสริญเธอ ในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะการได้นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นพหูสูต ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นพหูสูต อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็น พหูสูต นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นพหูสูต ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็น พหูสูต แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติ แต่ภายใน เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพหูสูตนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นพระวินัยธร ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราเป็นพระวินัยธร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็น พระวินัยธร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพระวินัยธร นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นพระวินัยธร ถึงแม้ภิกษุ ไม่ใช่เป็นพระวินัยธร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรม อันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา สรรเสริญ เธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษ นั้นทำการปฏิบัติ แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความ เป็นพระวินัยธรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษ เป็นพระธรรมกถึก ส่วนภิกษุอื่น เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพระธรรมกถึกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึง ความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นพระธรรมกถึก ถึงแม้ภิกษุ ไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรม อันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา สรรเสริญเธอ ในที่นั้นๆสัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติ แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความ เป็นพระธรรมกถึกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่า เป็นวัตร ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่ใช่ เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุ ไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรม อันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา สรรเสริญเธอ ในที่นั้นๆสัตบุรุษนั้น ทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษ เป็นผู้ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตนข่ม ผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตร นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควรคนทั้งหลาย ก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรมฯ [๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ ......................................................... [๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่โคนไม้ เป็นวัตร ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร อสัตบุรุษ นั้น จึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะ ความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้อยู่โคนไม้ เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลาย ก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือสัปปุริส ธรรม ฯ [๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่าช้า เป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่ เป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่ ป่าช้า เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุ ไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าช้า เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญ เธอ ในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้น ทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าช้า เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร... เป็นผู้ถือการนั่ง เป็นวัตร... เป็นผู้ถือการนั่งตามลำดับอาสนะเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือ การฉัน ในอาสนะเดียวเป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ถือ การฉัน ในอาสนะเดียวเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ถือ การฉันในอาสนะเดียว เป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้ถือ การฉัน ในอาสนะเดียว เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึง ความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้ถือการฉัน ในอาสนะเดียว เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่ เป็นผู้ถือการฉัน ในอาสนะเดียวเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบประพฤติธรรม อันสมควร คนทั้งหลาย ก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายใน เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ถือการฉันในอาสนะเดียว เป็นวัตรนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษสงัดจากกามสงัด จาก อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้ ปฐมฌานสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ ใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยปฐมฌาน สมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้ปฐมฌานสมาบัติ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุใดๆ เหตุ นั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหา แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยปฐมฌานสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจ ภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่ สมาธิอยู่...เข้าตติยฌาน...เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับ โสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้ จตุตถฌาน สมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้จตุตถฌานสมาบัติ อสัตบุรุษนั้น จึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยจตุตถฌานสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้จตุตถฌานสมาบัติ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกัน ด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหา แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยจตุตถฌานสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเข้า อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับ ปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่น เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ อสัตบุรุษนั้น จึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คืออสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาค ก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุ ใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่น จากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหา แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วย อากาสานัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษล่วง อากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้ วิญญาณัญจายตน สมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุ ใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหา แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษล่วง วิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่งอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้ อากิญจัญญายตน สมาบัติ อสัตบุรุษ นั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุ ใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษทำความไม่มีตัณหา แต่ภายใน เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษล่วง อากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อสัตบุรุษนั้น จึงยกตนข่มผู้อื่น ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คืออสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติพระผู้มีพระภาค ก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญ กันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่น จากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำความ ไม่มีตัณหาแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วย เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สัตบุรุษล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา จึงมีอาสวะสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลย่อมไม่สำคัญ อะไรๆย่อมไม่สำคัญที่ไหนๆ และไม่สำคัญด้วยเหตุไรๆ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม ยินดีพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ สัปปุริสสูตร ที่ ๓