เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  การเข้าวิมุตติ (ถอดคำบรรยายจากคลิป) 807
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

มรรควิธีที่จะบรรลุธรรม หรือทางทุกสายจะมาลงที่โพชฌงค์ 7 วิชชา และวิมุตติ ก็จะปรากฏ

 
 


การเข้าวิมุตติ (ถอดคำบรรยายจากคลิป)


มรรควิธีที่จะบรรลุธรรม หรือทางทุกสายจะมาลงที่โพชฌงค์ 7 วิชชา และวิมุตติ ก็จะปรากฏ

เวลาใคร เจริญสติปัฏฐาน 4 ในแบบ กายานุปัสสนา เวทนา จิตตา ธรรมา แบบใดก็ตาม ผลที่สุดจะมาลงที่โพชฌงค์ 7 ที่พระพุทธเจ้าอธิบายไว้เป็นมาตรฐาน ด้วยจิตที่ตั้งมั่น อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสังคะ จิตที่ตั้งมั่นแล้ว ที่สุดจางคลาย ดับไป ปล่อยวาง ก็จะเป็นจังหวะตรงนี้แค่นั้นเอง เมื่อปล่อยวางก็จะไม่เกาะจิตหรือวิญญาณดวงใหม่ ก็หลุดพ้น

ดังนั้นเวลานั่งสมาธิ ให้สนใจแค่ขณะจิตที่กำลังเกิด-ดับ พลิกไปพลิกมาแค่ตรงนี้ ไม่ต้องไปสนใจอะไรมากกว่านี้ พระศาสดาจึงบอกให้ละความเพลิน ให้เร็วดุจกระพริบตา ซึ่งจัดเป็นอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

เมื่อละความเพลิน จิตที่ผูกกับอารมณ์ไปนาน แล้วทำให้มันสั้นลง ๆ มาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหลือกระพริบตาเดียว หรือหลุดไปกระพริบตาเดียวแล้วกลับมาได้ แค่นี้เท่ากับได้ผ่านการตาย และการเกิด ของจิตหนึ่งจังหวะ ตาย-เกิด สองจังหวะ (แค่1 กระพริบตา เกิด 2 จังหวะ) เพราะมีการมา การไป ขณะหลุดไป ไม่ใช่ว่าจิตวิ่งไปอารมณ์โน้น  

เวลายังอยู่กับลมหายใจ แต่ใจไปอยู่กับความคิดใน สัญญา สังขาร จิตที่อยู่กับลม หายใจจะดับ พระพุทธเจ้าเรียกจุติ(ตาย) และจิตดวงใหม่จะเกิด เรียกอุบัติ(อุปาตะ) ไปเกาะใน อารมณ์นั้น  

สัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น ตัณหาเป็นเครื่องผูก เคยยึดถือจิตที่อยู่กับลมหายใจ แล้วจิตดวงนี้ดับไป แต่เพราะความเพลิน ความอยาก ความพอใจ ในจิต ยังมีอยู่ ก็คว้าจิตดวงใหม่ต่อไป เพราะจิตเกิด-ดับตลอดวัน ตลอดคืน เต็มทั่วทั้งโลกธาตุ จึงทำให้รู้สึกว่า มีมา มีไป ดังนั้นในขณะที่จิตมีการเคลื่อนไป มีตาย มีเกิด เมื่อเคลื่อนกลับมาอีก ก็มีตาย มีเกิด จังหวะ(สั้นๆ) แค่นี้ ที่พระศาสดาต้องการให้เราเห็น

ขณะที่ มีมา มีไป เรียกว่าไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยน ขณะแปรเปลี่ยนแสดงว่ามีดับ มีเกิด (สมุทัย กับ นิโรธ) พระศาสดาบอกว่าขณะที่เธอเพลิน เธอจะเห็นสมุทัยคือเกิด ขณะที่ละความเพลินเธอจะเห็นนิโรธ คือดับ

พระพุทธเจ้าอธิบายจังหวะนี้ อธิบายระหว่างกลางที่มันเกิด เรียกช่องว่างในที่คับแคบ อยู่ที่พระพุทธเจ้าจะหยิบตรงไหนมาอธิบาย

จิตไปเกาะอารมณ์แล้วไหลต่อไป พระองค์เรียก สัญโยฆะ แปลว่าจิตผูกติดกับอารมณ์
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน หรือเรียกว่า ชาติ หรือเรียกว่า วิญญาณนั้นเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในอารมณ์นั้นแล้ว และอะไร เป็นอารมณ์ ..

คือ 4 ธาตุนี้เป็นอารมณ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือเรียกว่า ฐิติ วิญญาณฐิติ แปลว่าฐานที่ตั้ง(ของวิญญาณ) ซึ่งพระองค์ อุปมาเปรียบเหมือนเมล็ดพืช ที่ปลิวตกลง ไปในผืนนา ปลิวตกลงไป โป๊ะ ภพเกิดแล้ว เมล็ดพืชงอกขึ้นมาเป็นต้น เรียกว่าชาติ ภพกับชาติ แยกกันตรงนี้

จิตรับรู้อารมณ์ปั๊บ ภพเกิด.. รู้ต่อไป เป็นชาติ คือผูกติดกับอารมณ์ไป หรือ เจริญ งอกงามไพบูลย์ในอามรณ์นั้น เมล็ดพืชก็งอกเป็นต้นขึ้นมา ซึ่งจะจบด้วย ชรา มรณะ

สิ่งใดเกิดแล้ว จะไม่ดับไม่มี จะมีความดับไปเป็นธรรมดา เมล็ดพืชเมื่องอกแล้ว ที่สุด ก็ต้องดับ นี่เป็นอาการจิตของเรา

ดังนั้นในขณะที่วิญญาณที่ดับจากลมหายใจไป ดับสนิท ช่วงเวลานี้ถ้าเราหยุดภาพ ณ เสี้ยววินาทีนี้ วิญญาณดวงเก่าก็ดับไปแล้ว รูปก็ไม่มี เพราะถ้าวิญญาณดับ รูปก็ต้องดับ วิญญาณดวงใหม่ก็ยังไม่เกิด นามธรรมใหม่ก็ยังไม่มี ณ เสี้ยววินาทีนี้ ห้วงเวลานี้ เป็นเวลาที่ไม่มีวิญญาณ และ ไม่มี นาม-รูป สภาวะนี้ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ที่ใดไม่มีวิญญาณ ไม่มีนามรูป เอเสวันโต ทุกขัสสะ นั่นแหละคือที่สุดของทุกข์

สภาวะนี้เป็นสุญญตา เป็นสภาวะที่ไม่มีขันธ์ 5 สภาวะว่างๆนี้ ไม่มีเกิดปรากฏ ไม่มีการเสื่อม ไม่มีการมาการไป ไม่มีการดับ  พระองค์เรียกว่า อสังขต คือธรรมชาติ ที่ไม่มีอะไรไปปรุงแต่งมันได้ นิ่งสนิท หรือ ความคงที่ หรือนิพพาน หรือความไม่ตาย

ความไม่ตายคือไม่มีแตกดับ ไม่แตกดับเพราะไม่มีการเกิด เมื่อไม่มีเกิด จึงไม่มีแตกสลาย มีอยู่ตลอดการตรงนี้ เป็น อสังขตธรรม ธรรมชาติที่ไม่มีอะไร ไปปรุงแต่งมันได้

ดังนั้นที่พระองค์บอกว่า วิชาวิมุตติ จะปรากฏ เมื่อเจริญโพชฌงค์ องค์สุดท้าย คือ อุเบกขาสังโพชฌงค์ พระองค์บอกเข้าไปเฝ้าดูให้ดีนะ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ได้สมาธิสังโพชฌงค์ ก็ให้เป็นอุเบกขาโพชฌงค์ ต่อ อย่าไปเป็นตัวสมาธิเสียเอง บอกให้เข้าเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี (เข้าไปเฝ้าดูจิตที่ตั้งมั่น)

จริงๆแล้วเราไม่ใช่ตัวจิตที่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นประกอบด้วยวิญญาณ กับอารมณ์ที่ตั้งมั่น ตรงนั้น ที่สุดวิญญาณจะจางคลาย พอเราเข้าไปเฝ้าดูแล้ว ดูให้เห็นอะไร พระองค์บอกให้เห็น วิเวก คือจิตที่ตั้งมั่น.. นิ่ง วิราคะ.. จางคลาย นิโรธ ความดับ (จิตที่ตั้งมั่น ที่สุดก็จางคลายแล้วดับ)

ณ เสี้ยววินาทีนี้ อินทรีย์แก่กล้าพอไม๊ ถ้าพอก็ปล่อยวาง ไม่หยิบ ไม่พอใจ ไม่ยึดถือเอาวิญญาณดวงใหม่ต่อไป ก็หลุดพ้น

เพราะหลุดพ้นก็ตั้งมั่น คือรู้สภาพเดิม(ตั้งมั่น)ของตนเอง
เพราะตั้งมั่นก็ ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน



โพชฌงค์ ๗


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์

๑๐. โพชฌงควิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑

[๕๔๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

[๕๔๓] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน

(1) ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่งระลึกได้
ระลึกได้ย่อยๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นานๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ 
นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์

(2)  ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา 
นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

(3)
  ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ปรารภแล้ว 
นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์

(4)
  ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่พระภิกษุ ผู้มีความเพียร อันปรารภแล้ว  
นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์

(5)
  กายก็ดีจิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติย่อมสงบระงับ
นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

(6)
  จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบายย่อมตั้งมั่น 
นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์

(7)
  ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น 
นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์