เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ติกรรณสูตร ติกรรณพราหมณ์ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค สนทนาวิชชา๓ ของพราหมณ์และอริยวินัย 796
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ติกรรณ-พราหมณ์ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสถามว่า วิชชา๓ ของพราหมณ์เป็นเช่นใร

วิชชา ๓ แบบของพราหมณ์
ติ. พราหมณ์ในโลกนี้
   1. เป็นอุภโตสุชาติ ข้างฝ่ายมารดา และ บิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิสะอาดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้าน ติเตียนได้ ด้วยอ้างถึงชาติ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์
   2.รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์ นิฆัณฑุ คัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์ อิติหาสเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท
   3. เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์ โลกายตะ และตำราทายมหาปุริสลักษณะ

วิชชา ๓ ในอริยวินัย
(บรรลุฌาน ๑-๔)
ดูกรพราหมณ์ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริย ทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

(บรรลุ บุพเพนิวาสานุสติญาณ)
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่ การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็น อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง.... ด้วยประการฉะนี้ วิชชาข้อแรก เป็นอันเธอได้บรรลุ แล้ว ดังนี้

(บรรลุ จุตูปปาตญาณ-ทิพย์จักษุ)
ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตาม กรรม ด้วยประการฉะนี้ วิชชาข้อที่สอง ย่อมเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้

(บรรลุอาสวักขยญาณ)
ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี เมื่อจิตหลุดพ้น แล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี วิชชา ข้อที่สาม ย่อมเป็นอัน เธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๑๕๗ – ๑๖๐

ติกรรณสูตร

         [๔๙๘] ครั้งนั้นแล ติกรรณพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

         ครั้นแล้วพูดสรรเสริญคุณของพราหมณ์ ผู้ได้วิชชาเฉพาะพระพักตรของพระผู้มี พระภาค ว่า พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

         ดูกรพราหมณ์ พวกพราหมณ์ย่อมบัญญัติพราหมณ์ ว่าได้วิชชา ๓ อย่างไร

         ติ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาติ ข้างฝ่ายมารดา และ บิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิสะอาดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษไม่มีใครจะคัดค้าน ติเตียนได้ ด้วยอ้างถึงชาติ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์ นิฆัณฑุ คัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์ อิติหาสเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจ ตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์ โลกายตะ และตำราทายมหาปุริส ลักษณะ

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พวกพราหมณ์ย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา ๓ อย่างนี้แล

         พ. ดูกรพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา ๓ อย่าง หนึ่งก็แหละ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง

         ติ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย ย่อมมีอย่างไร ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ตามทีผู้ได้ วิชชา ๓ มีใน อริยวินัย
...............................................................................................

(บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

         พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้ากระนั้นจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ติกรรณพราหมณ์ ทูลรับพระผู้มี พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริย ทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
...............................................................................................

(บรรลุ บุพเพนิวาสานุสติญาน-ระลึกชาติในอดีต)

         ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่ การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสา นุสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้างห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้

         ครั้นจุติจากภพ นั้นแล้ว ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้ชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณ อย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ วิชชาข้อแรก เป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ (๑)
...............................................................................................

(บรรลุ จุตูปปาตญาณ-ทิพย์จักษุ)

         อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับ ของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ฉะนั้น ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า

         สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อแตกกาย ตายไป ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 

         ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบ ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฐิ เมื่อแตกกายตายไปได้ เข้าถง สุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ วิชชาข้อที่สอง ย่อมเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ (๒)
...............................................................................................

(บรรลุ อาสวักขยญาณ-รู้ว่าจิตหลุดพ้น)

         อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับ ของภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาเหล่านี้ อาสวะนี้เหตุเกิด อาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิต ย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้น แล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี วิชชาข้อที่สาม ย่อมเป็นอัน เธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ (๓)

         อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน กับของ ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้นฯ จิตของพระโคดม องค์ใด ซึ่งมีศีลไม่ลุ่มๆ ดอนๆ มีปัญญาและมีความเพ่งพินิจ เป็นจิตมี ความชำนาญ เป็น เอกัคคตา เป็นสมาธิดีแล้วพระโคดมพระองค์นั้น แลบัณฑิตกล่าวว่า บรรเทา ความมืดได้ เป็นนักปราชญ์ ได้วิชชา ๓ ละทิ้งมัจจุ เกื้อกูลแก่เทวดา และมนุษย์ ละบาปธรรมเสียได้ทุกอย่างสาวกทั้งหลาย ย่อมนมัสการพระโคดม พระองค์นั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา ๓ ไม่หลงใหลอยู่ ผู้ตื่นแล้ว มีสรีระเป็นครั้งสุดท้าย

ผู้ใดตรัสรู้ ปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์ทั้งอบาย บรรลุถึงธรรมเป็นที่สิ้นชาติ เป็นมุนี ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นพราหมณ์ผู้ได้ วิชชา ๓ โดยวิชชา ๓ นี้เรากล่าวผู้นั้นว่า ได้วิชชา ๓ เราย่อมไม่กล่าวถึงคนอื่น ตามถ้อยคำ ที่คนอื่นกล่าวว่า ได้วิชชา ๓

         ดูกรพราหมณ์ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างนี้แล

         ติ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ก็แหละผู้ได้ วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างหนึ่ง

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  วิชชา ๓ ในอริยวินัยนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์