เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  พราหมณสูตร ธรรมที่ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาหา 790
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

พราหมณ์ ทูลถามพระพุทธเจ้า
ธรรมจึงเป็นคุณชาติ อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาลควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรพราหมณ์
บุคคลผู้กำหนัด
ถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง เบียดเบียน คนอื่นบ้าง
เบียดเบียนตนเอง และคนอื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ที่เป็นไปทางจิตบ้าง
เมื่อละราคะได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนคนอื่น
ไม่คิดเบียดเบียนตนเอง และคนอื่นทั้งสองฝ่าย
ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต

บุคคลผู้โกรธ ถูกโทสะ ครอบงำแล้ว
เมื่อละโทสะได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมไม่คิดเบียดเบียน....
ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัส ที่เป็นไปทางจิต

บุคคลผู้หลงถูก ความหลง(โมหะ)ครอบงำ
เมื่อละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมไม่คิดเบียดเบียน....
ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัส ที่เป็นไปทางจิต


ดูกรพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติ
อันผู้ได้บรรลุ พึงเห็นเองไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๑๕๐


พราหมณสูตร

             [๔๙๓] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ย่อมตรัสว่า ธรรมอันผู้ได้บรรลุ จะพึงเห็นเองธรรมอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอแล ธรรมจึงเป็นคุณชาติ อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาลควรเรียกให้มาดู ควรน้อม เข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า



ดูกรพราหมณ์
บุคคลผู้กำหนัด ถูก ราคะ ครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว

ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง และคนอื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เมื่อละราคะได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนคนอื่น
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเอง และคนอื่นทั้งสองฝ่าย
ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต

ดูกรพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติอันผู้บรรลุ จะพึงเห็นเอง ...

 

ดูกรพราหมณ์
บุคคลผู้โกรธ ถูก โทสะ ครอบงำ มีจิตอันโทสะกลุ้มรุมแล้ว
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง และคนอื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เมื่อละโทสะได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนคนอื่น
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเอง และคนอื่นทั้งสองฝ่าย
ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัส ที่เป็นไปทางจิต

ดูกรพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ...

 

ดูกรพราหมณ์
บุคคลผู้หลงถูก ความหลง(โมหะ) ครอบงำ มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมแล้ว

ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง และคนอื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เมื่อละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนคนอื่น
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเอง และคนอื่นทั้งสองฝ่าย
ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต

ดูกรพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติ อันผู้ได้บรรลุ พึงเห็นเองไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน

พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วย หวังว่าคนมีจักษุ จักเห็นรูป ฉะนั้น

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ (พร้อมทั้ง บุตร ภริยา บริษัท และอำมาตย์) ขอถึงพระองค์ กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ

ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์