เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อธิปไตยสูตร : อัตตาธิปไตย(ความคิดตนเอง) โลกาธิปไตย(คนส่วนมาก) ธรรมาธิปไตย(เหตุผล) 788
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อธิปไตย ในทางพุทธศาสนาหมายถึงอำนาจที่มีผลต่อการตัดสิน มี 3 อำนาจ คือ
อัตตาธิปไตย หมายถึงการตัดสินใจ
ที่ถือความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง
โลกาธิปไตย การถือ
ตามความคิดของคนส่วนมากเป็นที่ตั้ง

ธรรมาธิปไตย
(เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์)
เป็นผู้ทำความดีที่สุดแห่งกองทุกข์ ไม่มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว สิ้นแล้วซึ่ง ชาติชรา มรณะ โสกะ  ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส . เป็นผู้มีสติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว ไม่หลงลืม มีกายสงบระงับแล้ว จักไม่ระส่ำ ระสาย มีจิตที่เป็นสมาธิ แล้ว มีอารมณ์แน่วแน่ ละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรม ที่ไม่มีโทษ ทำตนให้บริสุทธิ์
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๑๓๙

อธิปไตยสูตร

         [๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน  คือ

อัตตาธิปไตย ๑
โลกาธิปไตย ๑
ธรรมาธิปไตย ๑


         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อัตตาธิปไตยเป็นไฉน (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรม วินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียก ดังนี้ว่า ก็เราออก บวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะ เหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น

ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสอุปายาสครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏ ก็การที่เราจะพึงแสวงหากามที่ละได้แล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต นั้น เป็นความเลวทรามอย่างยิ่ง

ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่ปรารภแล้ว จักไม่ย่อหย่อนสติ ที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำ ระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตน ให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย

...........................................................................................................................................

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โลกาธิปไตยเป็นไฉน (๒) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวช เป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุ แห่ง เสนาสนะ เราอกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง ความมี และความไม่มี เช่นนั้น

ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุด แห่งกอง ทุกข์ ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็การที่เราออกบวชเป็นบรรพชิตเช่นนี้ พึงตรึก กามวิตกก็ดี พึงตรึกพยาบาทวิตกก็ดี พึงตรึกวิหิงสาวิตกก็ดีก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่โต ในโลก สันนิวาสอันใหญ่โต ย่อมจะมีสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของ คนอื่นได้

สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แม้แต่ไกล แม้ใกล้ๆเราก็มองท่านไม่เห็น และ ท่านย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิต สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ก็พึงรู้เราดังนี้ว่า

ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ ถึงเทวดาที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิต ของคนอื่นได้ก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่าน ไม่เห็น และท่านย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิต เทวดาเหล่านั้นก็พึงรู้เราดังนี้ว่า

ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซีเขาเป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรม ที่เป็นบาปอกุศลอยู่

เธอย่อมสำเหนียกว่า ความเพียรที่เรา ปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่น แล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้ว จักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้เธอทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษบริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย

...........................................................................................................................................

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมาธิปไตยเป็นไฉน (๓) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวช เป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุ แห่งเสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มี เช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้วอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควร เรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตนอันวิญญูชน จะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อน สพรหมจารี ผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แลก็และการที่เราได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้วจะพึงเป็นผู้เกียจคร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ ข้อนั้นไม่เป็นการ สมควร แก่เราเลยดังนี้

เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เรา ปรารภแล้ว จักไม่ ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่น แล้ว จักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้ว จักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรม นั่นแหละให้เป็นใหญ่แล้ว ละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย
...........................................................................................................................................

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้แลฯ ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลก สำหรับผู้ทำบาปกรรม ดูกรบุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวของท่านเองย่อมจะรู้ได้ แน่ะผู้เจริญ ท่านสามารถ ที่จะทำความดีได้หนอ แต่ท่านดูหมิ่นตนเองเสีย 

อนึ่งท่านได้ปกปิดความชั่ว ซึ่งมีอยู่ในตนท่านนั้นซึ่งเป็นคนพาล ประพฤติตึงๆหย่อนๆ อันเทวดาและพระตถาคตย่อมเห็นได้ เพราะฉะนั้นแหละ คนที่มีตนเป็นใหญ่ ควรมีสติ เที่ยวไป คนที่มีโลกเป็นใหญ่ ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ และคนที่มีธรรมเป็นใหญ่ ควรเป็นผู้ประพฤติโดยสมควรแก่ธรรม มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจัง ย่อมจะไม่ เลวลง

อนึ่ง บุคคลใดมีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุ ผู้ทำที่สุดเสียได้แล้ว ถูกต้องธรรม อันเป็นที่สิ้นชาติ บุคคลผู้เช่นนั้น ย่อม เป็นผู้รู้แจ้งโลก มีเมธาดี เป็นมุนี ผู้หมดความ ทะยานอยากในธรรมทั้งปวง

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์