พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ๓./
ธาตุสังยุต ๑. นานัตตวรรค หมวดว่าด้วยความต่าง หน้า ๑๖๙ - ๑๘๔)
๒. สนิทานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ
[๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย
......
(อกุศลวิตก)
กามวิตก มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
พยาบาทวิตก มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
วิหิงสาวิตก มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร
(กาม)
กามสัญญา (ความหมายรู้กาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัย กามธาตุ
กามสังกัปปะ (ความดำริในกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา
กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสังกัปปะ
กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพราะกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามฉันทะ
กามปริเยสนา (การแสวงหากาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามปริฬาหะ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหา กามปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทางคือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
กามธาตุ -> กามสัญญา -> กามสังกัปปะ -> กามฉันทะ -> กามปริฬาหะ -> กามปริเยสนา
(พยาบาท)
พยาบาทสัญญา (ความหมายรู้พยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัย พยาบาทธาตุ
พยาบาทสังกัปปะ (ความดำริในพยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสัญญา
พยาบาทฉันทะ (ความพอใจในพยาบาท)
เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสังกัปปะ
พยาบาทปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพราะพยาบาท)เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทฉันทะ
พยาบาทปริเยสนา (การแสวงหาพยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทปริเยสนา
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหา พยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
พยาบาทธาต> พยาบาทสัญญา> พยาบาทสังกัปปะ> พยาบาทฉันทะ>พยาบาทปริฬาหะ> พยาบาทปริเยสนา
(เบียดเบียน)
วิหิงสาสัญญา (ความหมายรู้ความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
วิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา
วิหิงสาฉันทะ (ความพอใจในความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาสังกัปปะ
วิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพราะความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาฉันทะ
วิหิงสาปริเยสนา (การแสวงหาความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาปริฬาหะ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหา วิหิงสาปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
(วิหิงสาแปลว่าเบียดเบียน)
วิหิงสาธาตุ> วิหิงสาสัญญา> วิหิงสาสังกัปปะ > วิหิงสาฉันทะ >วิหิงสาปริฬาหะ >วิหิงสาปริเยสนา
ภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟ ติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง หากเขาไม่รีบดับด้วยมือ และด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ พึงถึงความพินาศ ย่อยยับ
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ไม่รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งอกุศล-สัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด ความคับแค้น
ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังทุคติได้
เนกขัมมวิตก (ความตรึกในการออกบวช) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อพยาบาทวิตก (ความตรึกในความไม่พยาบาท) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตก (ความตรึกในความไม่เบียดเบียน) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เนกขัมมวิตก มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อพยาบาทวิตก มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตก มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร
คือ
(ดำริออกจากพยาบาท)
เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้น เพราะอาศัย เนกขัมมธาตุ
เนกขัมมสังกัปปะเกิดขึ้น เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา
เนกขัมมฉันทะเกิดขึ้น เพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ
เนกขัมมปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ
เนกขัมมปริเยสนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
เนกขัมมธาตุ>เนกขัมมสัญญา>เนกขัมมสังกัปปะ>เนกขัมมฉันทะ>เนกขัมมปริฬาหะ>เนกขัมมปริเยสนา
(ดำริออกจากพยาบาท)
อพยาบาทสัญญาเกิดขึ้น เพราะอาศัย อพยาบาทธาตุ
อพยาบาทสังกัปปะเกิดขึ้น เพราะอาศัย อพยาบาทสัญญา
อพยาบาทฉันทะเกิดขึ้น เพราะอาศัย อพยาบาทสังกัปปะ
อพยาบาทปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัย อพยาบาทฉันทะ
อพยาบาทปริเยสนาเกิดขึ้น เพราะอาศัย อพยาบาทปริฬาหะ
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหา อพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทางคือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
อพยาบาทธาตุ>อพยาบาทสัญญา>อพยาบาทสังกัปปะ>อพยาบาทฉันทะ>อพยาบาทปริฬาหะ >อพยาบาทปริเยสนา
(ดำริออกจากเบียดเบียน)
อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้น เพราะอาศัย อวิหิงสาธาตุ
อวิหิงสาสังกัปปะเกิดขึ้น เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา
อวิหิงสาฉันทะเกิดขึ้น เพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ
อวิหิงสาปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ
อวิหิงสาปริเยสนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหา อวิหิงสาปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
อวิหิงสาธาตุ>อวิหิงสาสัญญา>อวิหิงสาสังกัปปะ>อวิหิงสาฉันทะ>อวิหิงสาปริฬาหะ>อวิหิงสาปริเยสนา
---------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง เขารีบดับคบหญ้านั้น ด้วยมือ และด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ จึงไม่ถึง ความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง อกุศลสัญญา ที่เกิดขึ้นไม่ สม่ำเสมอ
สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังสุคติได้”
|