พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๖๙ - ๑๘๔
๒. ทุติยวรรคหมวดที่ ๒
๑. สัตตธาตุสูตร ว่าด้วยธาตุ ๗
[๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. อาภาธาตุ
๒. สุภธาตุ
๓. อากาสานัญจายตนธาตุ
๔. วิญญาณัญจายตนธาตุ
๕. อากิญจัญญายตนธาตุ
๖. เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ
๗. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ
ธาตุมี ๗ ประการนี้
.....................................................................................
@เชิงอรรถ
อธิบายโดย อรรถกถาจารย์- พุทธโฆษะ จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค (ไม่ใช่คำของตถาคต)
๑ อาภาธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุคือแสงสว่าง ซึ่งเป็นชื่อของอาโลกกสิณ ได้แก่ฌานพร้อม ทั้งอารมณ์ที่ทำให้ปีติเกิดขึ้น เพราะบริกรรมโดยเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ อาภาธาตุอาศัย ความมืด จึงปรากฏได้@(สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๑)
๒ สุภธาตุ ในที่นี้หมายถึงฌานพร้อมทั้งอารมณ์ที่เกิดขึ้น เพราะบริกรรมโดยเพ่งสุภกสิณ สุภธาตุอาศัยความไม่งามจึงปรากฏได้ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๑)
๓ อากาสานัญจายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดอากาศ คือความว่างอันหาที่สุด มิได้เป็นอารมณ์เป็นขั้นที่ ๑ ของอรูปฌาน อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปสมาบัติ จึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๖)
๔ วิญญาณัญจายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ วิญญาณัญ จายตนธาตุอาศัยอากาสานัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
๕ อากิญจัญญายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดความไม่มีอะไรเหลือเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนธาตุอาศัยวิญญาณัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
๖ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่เข้าถึงภาวะที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
๗ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ในที่นี้หมายถึงความดับขันธ์ ๔ ขันธ์ เป็นชื่อของนิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ อาศัยนิโรธสมาบัติ จึงปรากฏได้ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๒)
.....................................................................................
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้อาศัยอะไรจึงปรากฏได้”
“ภิกษุ อาภาธาตุ อาศัยความมืด จึงปรากฏได้
สุภธาตุ อาศัยความไม่งาม จึงปรากฏได้
อากาสานัญจายตนธาตุ อาศัยรูปสมาบัติ จึงปรากฏได้
วิญญาณัญจายตนธาตุ อาศัยอากาสานัญจายตนสมาบัติ จึงปรากฏได้
อากิญจัญญายตนธาตุ อาศัยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ จึงปรากฏได้
เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ จึงปรากฏได้
สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ อาศัยนิโรธสมาบัติจึงปรากฏได้”
.....................................................................................
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ
อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลจะเข้าถึงธาตุเหล่านี้ได้อย่างไร”
“ภิกษุ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้ เป็นสัญญาสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึง ได้เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ เป็นสังขาราวิเสสสมาบัติ๑ ที่บุคคลจะเข้าถึงได้ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ เป็นนิโรธสมาบัติที่บุคคล จะเข้าถึงได้”
@เชิงอรรถ :
@๑ สังขาราวิเสสสมาบัติ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติที่มีสังขารอันละเอียดยังคงเหลืออยู่ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๒)
|