พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ๓. /ธาตุสังยุต ๑. นานัตตวรรค หมวดว่าด้วยความต่าง หน้า ๑๖๙ - ๑๘๔)
๖. พาหิรธาตุนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุภายนอก
[๙๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ...
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ”
๗. สัญญานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา
[๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งสัญญา(ความจำได้) เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะ(ความดำริ) เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งฉันทะ(ความพอใจ) เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะ (ความเร่าร้อน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนา(การแสวงหา) เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่ง ปริฬาหะ
ความต่างแห่ง ธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งงกัปปะเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งฉันทะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่ง ปริเยสนา เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ เป็นอย่างไร
รูปสัญญา ๑ เกิดขึ้น เพราะอาศัยรูปธาตุ
รูปสังกัปปะ ๒ เกิดขึ้น เพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปฉันทะ ๓ เกิดขึ้น เพราะอาศัยรูปสังกัปปะ
รูปปริฬาหะ ๔ เกิดขึ้น เพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนา ๕ เกิดขึ้น เพราะอาศัยรูปปริฬาหะ ฯลฯ
ธัมมสัญญา เกิดขึ้น เพราะอาศัยธัมมธาตุ
ธัมมสังกัปปะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยธัมมสัญญา
ธัมมฉันทะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ
ธัมมปริฬาหะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยธัมมฉันทะ
ธัมมปริเยสนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ
ภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งสัญญา เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งฉันทะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะเป็นอย่างนี้”
@เชิงอรรถ :
๑ รูปสัญญา คือสัญญาที่ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙)
๒ รูปสังกัปปะ คือความดำริที่ประกอบด้วยจิต ๓ ดวง มีสัมปฏิจฉนจิต (จิตที่รับรู้อารมณ์) เป็นต้นสํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙)
๓ รูปฉันทะ คือความพอใจในรูปทั้งหลาย (สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙)
๔ รูปปริฬาหะ คือความเร่าร้อน เพราะเผาผลาญรูปทั้งหลาย (สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙)
๕ รูปปริเยสนา คือการแสวงหารูปที่เคยเห็นเคยคบ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙)
|