เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ทุติยวรรคที่ ๒ (กุศลกรรมบถ ๑๐ ๒๐ ๓๐ ๔๐ ) ผู้ถูกทอดทิ้งในนรก และถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ 771
 
  (สรุปย่อจากพระสูตรนี้)  
  เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก
  ธรรม ๑๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๑๐) ธรรม ๑๐ ประการ (อกุศลกรรมบถ ๑๐)
  1. เรื่องการฆ่าสัตว์ 1. เรื่องการฆ่าสัตว์
     เว้นจากการฆ่าสัตว์ทำด้วยตนเอง    เป็นผู้ฆ่าสัตว์ทำด้วยตนเอง
     
  ธรรม ๒๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๒๐) ธรรม ๒๐ ประการ (อกุศลกรรมบถ ๒๐)
  1. เรื่องการฆ่าสัตว์ 1. เรื่องการฆ่าสัตว์
     เว้นจากการฆ่าสัตว์ทำด้วยตนเอง    เป็นผู้ฆ่าสัตว์ทำด้วยตนเอง
     ชักชวนผู้อื่น ไม่ให้ฆ่าสัตว์    ชักชวนผู้อื่นฆ่าสัตว์
     
  ธรรม ๓๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๓๐) ธรรม ๓๐ ประการ (อกุศลกรรมบถ ๓๐)
  1. เรื่องการฆ่าสัตว์ 1. เรื่องการฆ่าสัตว์
     เว้นจากการฆ่าสัตว์ทำด้วยตนเอง    เป็นผู้ฆ่าสัตว์ทำด้วยตนเอง
     ชักชวนผู้อื่น ไม่ให้ฆ่าสัตว์    ชักชวนผู้อื่นฆ่าสัตว์
     พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์    พอใจในการฆ่าสัตว์
     
  ธรรม ๔๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๔๐) ธรรม ๔๐ ประการ (อกุศลกรรมบถ ๔๐)
  1. เรื่องการฆ่าสัตว์ 1. เรื่องการฆ่าสัตว์
     เว้นจากการฆ่าสัตว์ทำด้วยตนเอง    เป็นผู้ฆ่าสัตว์ทำด้วยตนเอง
     ชักชวนผู้อื่น ไม่ให้ฆ่าสัตว์    ชักชวนผู้อื่นฆ่าสัตว์
     พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์    พอใจในการฆ่าสัตว์
     กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการฆ่าสัตว์    กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์
  กุศลกรรมบถ๑๐- ๔๐ และ อกุศลกรรมบถ๑๐-๔๐ ข้อ 2-9 แจกแจงเช่นเดียวกับข้อ 1
     
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้า ๒๗๗-๒๘๒



ทุติยวรรคที่ ๒
(กุศลกรรมบถ ๑๐ ๒๐ ๓๐ ๔๐ ประการ)
ผู้ถูกทอดทิ้งในนรกนรก และ ผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์


ธรรม ๑๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๑๐)

ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก

[๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้ง ไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้

ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ (อกุศลธรรมบถ ๑๐)
     เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
     ลักทรัพย์ ๑
     ประพฤติผิดในกาม ๑
     พูดเท็จ ๑
     พูดส่อเสียด ๑
     พูดคำหยาบ ๑
     พูดเพ้อเจ้อ ๑

     อยากได้ของผู้อื่น ๑
     มีจิตปองร้าย ๑
     มีความเห็นผิด ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ใน นรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ



ธรรม ๑๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๑๐)


ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน(กุศลธรรมบถ ๑๐) คือ เป็นผู้เว้นขาด
     จากการฆ่าสัตว์ ๑
     จากการลักทรัพย์ ๑
     จากการประพฤติผิดในกาม ๑
     จากการพูดเท็จ ๑
     จากการพูดส่อเสียด ๑
     จากการพูดคำหยาบ ๑
     จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑
     ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑
     มีจิตไม่ปองร้าย ๑
     มีความเห็นชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แลย่อม เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ



ธรรม ๒๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๒๐)


ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก

[๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ๒๐ ประการเป็นไฉน (อกุศลธรรมบถ ๒๐)คือ

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑


ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑

ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑

พูดเท็จด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑

พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑

พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑

พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑

อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑

คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการปองร้าย ๑

มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเห็นผิด ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ



ธรรม ๒๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๒๐)


ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ (กุศลธรรมบถ ๒๐)
เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ

เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากฆ่าสัตว์ ๑


เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑

เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑

เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑

เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑

เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำเพ้อเจ้อ ๑

ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑

ไม่คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑

เห็นชอบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ใน สวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ



ธรรม ๓๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๓๐)

ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก

[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ (อกุศลธรรมบถ ๓๐)เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ ในนรก เหมือนสิ่งของที่นำเขามาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑
พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑

ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑
พอใจในการลักทรัพย์ ๑

ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑
พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑

พูดเท็จด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑
พอใจการพูดเท็จ ๑

พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑
พอใจในการพูดส่อเสียด ๑

พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑
พอใจในการพูดคำหยาบ ๑

พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑

อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑
พอใจในการอยากได้ของผู้อื่น ๑

มีจิตคิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการปองร้าย ๑
พอใจในการปองร้าย ๑

มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเห็นผิด ๑
พอใจในความเห็นผิด ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ใน นรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ



ธรรม ๓๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๓๐)


ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ (กุศลธรรมบถ ๓๐) เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ

เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑


เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
พอใจในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑
พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑

เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑
พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑

เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑
พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑

เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑
พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑

เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑

ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑
พอใจในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑

มีจิตไม่ปองร้ายด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑
พอใจในการไม่ปองร้าย ๑

มีความเห็นชอบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑
พอใจในการเห็นชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ใน สวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ



ธรรม ๔๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๔๐)


ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก

[๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ (อกุศลธรรมบถ ๔๐) เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑
พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑
กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์ ๑


ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑
พอใจในการลักทรัพย์ ๑
กล่าวสรรเสริญการลักทรัพย์ ๑

ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑
พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑
กล่าวสรรเสริญการประพฤติผิดในกาม ๑

พูดเท็จด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑
พอใจในการพูดเท็จ ๑
กล่าวสรรเสริญการพูดเท็จ ๑

พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑
พอใจในการพูดส่อเสียด ๑
กล่าวสรรเสริญ การพูดส่อเสียด ๑

พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑
พอใจในการพูดคำหยาบ ๑
กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ ๑

พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑
กล่าวสรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ ๑

อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑
พอใจในการอยากได้ของผู้อื่น ๑
กล่าวสรรเสริญการอยากได้ของผู้อื่น ๑

มีจิตปองร้ายด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการปองร้าย ๑
พอใจในการปองร้าย ๑
กล่าวสรรเสริญการปองร้าย ๑

มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ๑
พอใจในความเห็นผิด ๑
กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ใน นรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ



ธรรม ๔๐ ประการ (กุศลกรรมบถ ๔๐)


ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ(กุศลธรรมบถ ๔๐) เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ ในสวรรค์ ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ

เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑


เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
พอใจในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑
พอใจในการเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๑
กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑

เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑
พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑
กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเท็จ ๑

เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑
พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑
กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑

เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑
พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑
กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑

เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑
กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑

ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑
พอใจในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑
กล่าวสรรเสริญการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑

มีจิตไม่ปองร้ายด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑
พอใจในการไม่ปองร้าย ๑
กล่าวสรรเสริญการไม่ปองร้าย ๑

มีความเห็นชอบด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ๑
พอใจในความเห็นชอบ ๑
กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์