เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 สังกัปปะ ถอดคำสาธยายธรรมจากคลิป รูป (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) สังกัปปะ 770
   
 
 


สังกัปปะ ถอดคำสาธยายธรรมจากคลิป
รูป(กามภพ รูปภพ อรูปภพ) สังกัปปะ



สังกัปปะ มีทั้งในกามธาตุ พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ มีทั้งฝั่งเนกขัมมะธาตุ ไล่ไปหมดเลย.. ดังนั้นเวลาพูดสังกัปปะ จะต้องบอกว่าสังกัปปราคะ(สังกัปปะ+ราคะ)
ถ้า ราคะในสังกัปปะ ในส่วนนี้เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ (สังกัปปะ+ราคะ)
ถ้า ราคะในสังกัปปะ ในส่วนรูป เป็นสังโยชน์เบื้องสูง คือรูปราคะ (รูป+ราคะ)

สังกัปปะมีในส่วนรูปด้วย คำว่ารูปในที่นี้ ไม่ใช่รูปเสียงกลิ่นรส เพราะรูปเสียงกลิ่นรส จัดอยู่ในส่วนของกาม

คำว่ารูป เป็นคำที่กว้าง แบ่งเป็น 3 ระดับ
1.รูป ในกามภพ (มนุษย์+เทวดากามภพ)
2.รูป ในรูปภพ (รูปที่ละเอียด ชั้นพรหมรูป)
3.รูป ในอรูปภพ (อากาสาขึ้นไป)

รูปจะดับจริงๆในชั้นอรูป ดังนั้นเมื่อพ้นจาก กามภพ(เทวดากามภพ) มาแล้ว รูปยังอยู่ แต่เป็นรูปที่ละเอียด เป็นพรหมกายิกา เป็นรูปสัญญา เป็นกายที่สำเร็จด้วยสัญญา

กายมี 3 ระดับ
กาย(รูป)สำเร็จด้วย มหาภูตธาตุสี่ (รูปภพ)
กาย(รูป)สำเร็จด้วย ใจ (ชั้นพรหม)
กาย(รูป)สำเร็จด้วย สัญญา (ชั้นอากาสาขึ้นไป)

ดังนั้นในส่วนรูป จะมีทั้งที่เป็น กามธาตุ ซึ่งในกามธาตุนี้จะมี อกุศล และ กุศล
อกุศล - นรก กำเนินเดรัจฉาน เปรตวิสัย
กุศล - มนุษย์ เทวดา*
ซึ่ง*เทวดา พวกนี้เป็นเทวดากามภพ พวกนี้มีรูปแต่เรียก กาม ซึ่งกามนี้มาจากสัมผัส 5 ช่องทาง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

ดังนั้นเมื่อขึ้นมา(จากกามภพ) สุขอันเกิดจาก เนกขัมมะ (หลีกออกจากกาม) คือหลีกออกจาก ก้อนนี้ คือรูปภพ เพื่อหลีกออกจากก้อนนี้คือ กามภพ

ดังนั้นรูปภพ จึงเกิดจากปฐมฌาน อาศัยวิเวก
ปฐมฌาน จะหลีกออกจาก ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ดังนั้น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นกามทั้งก้อนนี้ คือกามภพ หรือกามธาตุ อันนี้ หลีกออกจากอันนี้ แต่ยังอยู่ในรูปนะ

รูปในส่วนนี้(ชั้นพรหม) จึงเป็นส่วนที่ละเอียดกว่าเทวดาชั้นกามภพ ซึ่งเทวดาชั้นกามภพ ละเอียดกว่ามนุษย์

สุขของมนุษย์ระดับพระเจ้าจักรพรรดิ์ ยังเทียบไม่ได้ในเสี้ยวหนึ่งของสุขเทวดา กามภพ และสุขในเทวดากามภพก็เทียบไม่ได้ แม้เสี้ยวหนึ่งในสุขของเทวดารูปภพ แต่ก็ยังมีรูปอยู่

แต่พอมาพูดตรงนี้ จะใช้คำว่ารูป ระวังคำพูดตรงนี้ว่า มันจะไปซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นพอขึ้นตรงนี้(ชั้นพรหม) จึงใช้คำว่า รูปราคะ
พอวางรูปได้หมดเกลี้ยง สังกัปปะในอรูป(ชั้นอากาสา) จะเรียกว่า อรูปราคะ

เช่นโยมเป็นมนุษย์ตอนนี้ นั่งสมาธิ ได้สมาธิระดับอรูป ออกมาเสร็จ เดินเหิน ทำโน่นทำนี่ ก็คิดอยากเข้าสมาธิอรูปอีก เกิดการปรุงแต่งขึ้นมา(สังกัปปะ) เพื่อต้องการจะเข้าสมาธิอรูป การมีสังกัปปะตรงนี้เรียกว่า สังกัปปราคะ
จากนั้นก็มี ปริราหะ คือเร่าร้อน มีปริเยสนา แสวงหา.. อยากเข้าฌาน อยากเข้าอรูปสัญญา เมื่อเข้าได้ ก็เกิด ลาภา การได้มาซึ่ง อรูปสัญญา

มันจะเป็นรูปแบบเดียวกันตั้งแต่ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ

พระพุทธเจ้าจึงหยิบคำว่า สังกัปปะ ตัวเดียวขึ้นมา ก็ใส่ สังกัปปราคะ รูปราคะ อรูปราคะ

สังกัปราคะนั้นแหละ คือกามที่แท้จริงของคนเรา
แต่สังกัปปะตัวนี้ มาจาก กามธาตุ
สังกัปปะตัวนี้ มาจาก รูปธาตุ
สังกัปปะตัวนี้ มาจาก อรูปธาตุ

 

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์