|
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 140
768-1
ทรงมีและทรงแสดง ยถาภูตญาณ ที่ทำให้แจ้ง อธิมุตติบท
อานนท์ ! ธรรมคือญาณเหล่าใด เป็นไปเพื่อกระทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่ง ซึ่งอธิมุตติบท (ธรรมที่ต้อง ปล่อยวางทุกอย่างทุกประการ) ท. เหล่านั้น
อานนท์ ! เราเป็นผู้แกล้วกล้า รู้เฉพาะในธรรมคือญาณเหล่านั้น เพื่อจะแสดง ซึ่งธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่ง อธิมุตติบท ท. เหล่านั้นโดยประการ ที่ผู้ปฎิบัติแล้ว จักรู้ อธิมุตติบทที่มีอยู่ ว่ามีอยู่ ที่ไม่มีอยู่ ว่าไม่มีอยู่ ที่เลว ว่าเลว ที่ประณีต ว่า ประณีต ที่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า ว่ามีสิ่งอื่นยิ่งกว่า ที่ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า ว่าไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่า หรือ อีกอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัติแล้วนั้นจักรู้สิ่งที่ควรรู้ หรือว่าจักเห็นสิ่งที่ควรเห็น หรือว่าจักทํา ให้แจ้งสิ่งที่ควรทํา ให้แจ้ง ดังนี้นั้น. ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้อยู่.
อานนท์ ! ญาณนั่น เป็นญาณที่ไม่มีญาณอื่นยิ่งกว่า ในบรรดาญาณ ท. นั่นก็คือ ยถาภูตญาณ ในอธิมุตติบท ท. นั้น ๆ
อานนท์ ! เรากล่าวว่า ญาณอื่นที่ยิ่งกว่าประณีตกว่า ญาณนั้น ย่อมไม่มี.
(ต่อจากนี้ ได้ทรงแสดงตถาคตพลญาณ ๑๐ ในฐานะที่เป็นยถาภูตญาณ อันไม่มีญาณ อื่นยิ่งกว่าในกรณีนี้ ดูรายละเอียดที่หน้า ๑๓๕ แห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หัวข้อว่า "ทรงมีตถาคตพล ญาณสิบ)
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 141-142
768-2
ทรงมี เวสารัชชญาณ สี่อย่าง
ภิกษุ ท.! เหล่านี้เป็น เวสารัชชญาณสี่ อย่างของตถาคต ที่ตถาคตประกอบ พร้อมแล้ว ปฏิญญาตำแหน่ง จอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลางบริษัท ท .ได้ สี่อย่างคือ
(๑). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ธรรมเหล่านี้ๆ อันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นสัมมาสัมพุทธะอยู่ ไม่ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญ อยู่ได้.
(๒). ตถาคต ไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม,หรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "อาสวะเหล่านี้ๆ อันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นขีณาสพผู้สิ้นอาสวะอยู่ ยังไม่สิ้นรอบแล้ว" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.
(๓). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ธรรมเหล่าใด ที่ท่านกล่าวว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่ผู้เสพ ธรรมเหล่านั้นถึงเมื่อบุคคลเสพอยู่ ก็หาอาจทำอันตรายไม่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.
(๔). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ท่านแสดงธรรม เพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์นั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่บุคคล ผู้ประพฤติตามธรรมนั้น" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความ ไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล เป็นเวสารัชชญาณสี่อย่างของตถาคต อันตถาคต ประกอบพร้อม แล้ว ปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ให้เป็นไปใน ท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.
|