พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 137-140
767
ทรงทราบอินทรีย์อันยิ่งหย่อนของสัตว์
(คําอธิบาย ทสพลญาณ ข้อที่หก)
อุทายิ ! บุคคล ๔ จําพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก. สี่จําพวกเหล่าไหน เล่า? สี่จําพวก คือ :-
1 อุทายิ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ ความดําริอันซ่านไป (สรสงฺกปฺปา)ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ กลุ้มรุมเขาอยู่ เขาทน มีความ ดำริอันซ่านไปเหล่านั้น ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ไม่กระทําให้สิ้นสุดเสีย ไม่กระทํา ให้ถึงซึ่งความไม่มี
อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลนี้แล ว่า เป็น ผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส (สํยุตฺโต) หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลส (วิสํยุตฺโต) ไม่. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าว อย่างนั้น?
อุทายิ ! เพราะหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อน แห่งอินทรีย์(ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.
(ประเภท1 เมื่อความดำริอกุศลซ่านไป แต่ไม่ละไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป กิเลสยังมี)
...................................................................................
2 อุทายิ ! แต่ว่าบุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละเพื่อสลัดคืนซึ่ง อุปธิ ความดําริอันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ กลุ้มรุมเขาอยู่ เขาไม่ทน มีความดำริ อันซ่านไปเหล่านั้น เขาละอยู่ บรรเทาอยู่ กระทําให้สิ้นสุดอยู่ กระทําให้ถึงซึ่งความ ไม่มีอยู่
อุทายิ! เราย่อมกล่าวบุคคลแม้นี้ ว่า ยังเป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลสไม่ อยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่าง นั้น?
อุทายิ ! เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.
(ประเภท 2 เมื่อความดำริซ่านไป แต่เขาละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป แต่ยังมีกิเลสอยู่ )
..........................................................................
3 อุทายิ ! แต่ว่าบุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่ง อุปธิ เพราะการหลงลืมแห่งสติในกาลบางคราว ความดําริอันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วย อุปธิ ก็กลุ้มรุมเขาอยู่
อุทายิ ! (ระยะเวลาที่) สติ (จะกลับ)เกิดขึ้นก็ยังช้า(กว่าระยะเวลาที่) เขาทำ
ให้ความดำรินั้นละไป บรรเทาไป สิ้นสุดไป ถึงความไม่มีไปอย่างฉับพลัน ไปเสียอีก.
อุทายิ ! เปรียบเหมือนบุรุษหยดน้ําสองสามหยด ลงไปในกระทะเหล็ก ที่ร้อนเปรี้ยงอยู่ทั้งวัน (ระยะเวลาที่) น้ําหยดลงไป ยังช้า(กว่าระยะเวลาที่) น้ํานั้น ถึงซึ่งความเหือดแห้งหายไปอย่างฉับพลัน ฉันใด
อุทายิ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อละ เพื่อสลัดคืนอุปธิ เพราะการหลงลืมแห่งสติในกาลบางคราว ความดําริอัน ซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ ก็กลุ้มรุมเขาอยู่
อุทายิ ! (ระยะเวลาที่) สติ (จะกลับ) เกิดขึ้นก็ยังช้า(กว่าระยะเวลาที่) เขาทําให้ความดํารินั้นละไป บรรเทาไป สิ้นสุดไป ถึงความไม่มี ไปอย่างฉับพลัน ไปเสียอีก
อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลแม้นี้ ว่า ยังเป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส หาใช่ เป็นผู้ปราศจากกิเลสไม่ อยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไรเรา จึงกล่าวอย่างนั้น?
อุทายิ ! เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.
(ประเภท3 เมื่อความดำริซ่านไป สติที่จะเรียกกลับมา ช้ากว่าสติที่แล่นไป ถือว่ายังมีกิเลส ยังมีอุปธิ แม้หยดน้ำ ตกลงลงบนกะทะแล้วจะแห้งหายไปอย่างเร็วก็ตาม แต่ภพเกิดแล้ว)
..........................................................................
4 อุทายิ ! ก็แต่ว่า บุคคลบางคนในกรณีนี้ รู้แจ้งว่า "อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์" ดังนี้แล้ว เป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นแห่งอุปธิ
อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลนี้แล ว่าเป็นผู้ปราศจากกิเลส หาใช่เป็นผู้ ประกอบอยู่ด้วยกิเลสไม่. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น?
อุทายิ ! เพราะเหตุว่าเรารู้ความ ยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.
(ประเภท4 รู้แจ้งว่าอุปธิเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ หลุดพ้นแล้วจากอุปธิ ผู้ปราศจากกิเลสแล้ว)
อุทายิ ! บุคคล ๔ จําพวกเหล่านี้แล มีอยู่ในโลก.
หมายเหตุ: ข้อความที่กล่าวนี้ อาจจะเข้าใจยาก สําหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสํานวนบาลี จึงขอ สรุปความให้ดังนี้ :
พวกที่หนึ่ง ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ ครั้นเกิดสรสังกัปปะความคิดที่เป็นกิเลส เนื่องมาแต่อุปธิ เขาทนต่อสรสังกัปปะนั้น ไม่มีการละการบรรเทาซึ่งสังกัปปะ เขายังเป็นสํยุตตโต คือประกอบ อยู่ด้วยอุปธิ.
พวกที่สอง เมื่อเกิดสรสังกัปปะ เขาไม่ยอมทน แต่พยายาม เพื่อละเพื่อบรรเทา ซึ่งสังกัปปะ นั้น ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นสํยุตโตอยู่เช่นเดียวกัน.
พวกที่สาม ปฎิบัติเพื่อละอุปธิ เกิดสรสังกัปปะเมื่อเขาเผลอในบางคราว ยังไม่ทันทําสติ ให้เกิดขึ้น เขาละ สรสังกัปปะได้ แต่ก็ยังเป็นสํยุตโตอยู่นั่นเอง เพราะยังละอุปธิไม่ได้.
พวกที่สี่ รู้แจ้งด้วยป๎ญญา ถึงข้อที่อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์ แล้วหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นอุปธิ นี้เรียกว่าเป็นวิสํยุตโต ผู้ไม่ ประกอบอยู่ด้วยอุปธิ. สี่พวกนี้แสดงความต่าง แห่งอินทรีย์ ซึ่งทรงทราบได้ด้วยพระญาณ.
ยังมีบาลีอีกแห่งหนึ่ง ทํานองจะแสดงเรื่องอินท๎ ริยปโรปริยัตญาณด้วยเหมือนกัน หากแก่เรียกโดย ชื่ออื่น ว่าปุริสินท์ริยญาณ; แสดงอินทรีย์ของสัตว์ ๖ ประเภท คือ
พวกที่หนึ่ง อกุศลปรากฏ, กุศลไม่ปรากฏ แต่กุศลมูลมีอยู่ จึงไม่เสื่อมอีกต่อไป.
พวกที่สอง กุศลปรากฏ อกุศลไม่ปรากฏ แต่อกุศลมูลมีอยู่จึงเสื่อมต่อไป.
พวกที่สาม ไม่มีธรรม ขาวเลย มีแต่ธรรมดํา ตายไปอบาย.
พวกที่สี่ อกุศลปรากฏ กุศลไม่ปรากฏ กุศลมูลถูกถอน จึง เสื่อมต่อไป. พวกที่ห้า กุศลปรากฏ อกุศลไม่ปรากฏอกุศลมูลถูกถอน จึงไม่เสื่อมต่อไป.
พวกที่หก มีแต่ธรรมขาวโดยส่วนเดียวไม่มีธรรมดําเลย จักปรินิพพานในทิฎฐธรรม. ดังนี้ก็เป็นการ แสดงความต่างแห่งอินทรีย์ของสัตว์.
ผู้สนใจพึงอ่านรายละเอียดจากบาลี สูตรที่ ๘ ปฐมวรรค ทุติยป๎ณณาสก์ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๑/๓๓๓. -ผู้รวบรวม.
|