พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 135-137
766-1
ทรงมีตถาคตพลญาณสิบอย่าง
ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยพลญาณ ๑๐ อย่าง และ ประกอบด้วยเวสารัชชญาณ ๔ อย่าง จึง ปฎิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.
สารีบุตร ! เหล่านี้เป็นตถาคตพล ๑๐ อย่าง ของตถาคต ที่ตถาคต ประกอบพร้อมแล้วปฎิญญา ตําแหน่ง จอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลายได้,
สิบอย่างคือ:
(๑) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งสิ่งเป็นฐานะ (คือมีได้เป็นได้) โดยความ เป็นสิ่งมีฐานะ ซึ่งสิ่งไม่เป็นฐานะ (คือไม่มีได้ไม่เป็นได้) โดยความเป็นสิ่งใช่ฐานะ นี้เป็นตถาคตพลของตถาคต
(๒) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบาก (คือผล) ของการทํากรรมที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ทั้งโดยฐานะและโดยเหตุ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต
(๓) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งปฏิปทาเครื่องทําผู้ปฏิบัติให้ไปสู่ ภูมิ ทั้งปวงได้ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต
(๔) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งโลกนี้อันประกอบด้วยธาตุมิใช่อย่างเดียว ด้วยธาตุต่างๆ กัน นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต
(๕) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอธิมุติ (คือฉันทะและอัธยาศัย) อันต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลาย นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต
(๖) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์ เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.
(๗) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย นี่ก็เป็นตถาคตพล ของตถาคต
(๘) ตถาคต ย่อมระลึกได้ ซึ่งขันธ์อันตนเคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีชนิดต่าง ๆ กัน คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง--ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต
(๙) ตถาคต ย่อมเห็นสัตว์ ท. ด้วยทิพยจักขุอันหมดจด ก้าวล่วงจักขุมนุษย์ เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนอยู่บังเกิดอยู่---ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพล ของตถาคต
(๑๐) ตถาคต ย่อมทําให้แจ้ง เจโตวิมุติ ป๎ญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะเพราะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ได้๔---ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต
สารีบุตร ! เหล่านี้แล เป็นตถาคตพลสิบอย่าง ของตถาคต ที่ตถาคต ประกอบแล้ว ย่อมปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 137
766-2
ทรงมีตถาคตพลห้าอย่าง
ภิกษุ ท.! เราถึงแล้วซึ่งอภิญญาโวสานบารมี ในธรรม ท. ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน จึงปฏิญญา
ภิกษุ ท.! ตถาคตพละของตถาคต ๕ อย่างเหล่านี้ อันเป็นกําลังที่ตถาคตประกอบ พร้อมแล้ว จึงปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรให้เป็นไป ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.
ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า? ห้าอย่างคือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ป๎ญญาพละ.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล ตถาคตพละของตถาคต ๕ อย่าง อันเป็นกําลัง ที่ตถาคต ประกอบ พร้อมแล้ว จึงปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศ พรหมจักรให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย
|