พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
หน้า 133-134
765-1
ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่สุด
พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนฟองไข่ของแม่ไก่อันมีอยู่ ๘ ฟอง หรือ ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง เมื่อแม่ไก่ นอนทับ กก ฟ๎กด้วยดีแล้ว บรรดาลูกไก่ ในไข่เหล่านั้น ตัวใด เจาะแทงทําลายเปลือกไข่ ด้วยจะงอยเล็บเท้า หรือจะงอยปาก ออกมาได้ ก่อนตัวอื่น โดยปลอดภัย เราควรเรียกลูกไก่ตัวนั้นว่าอย่างไร คือจะ เรียกว่าตัวพี่ ผู้แก่ที่สุด หรือ ตัวน้องผู้น้อยที่สุด?
"พระโคดมผู้เจริญ! ใคร ๆ ก็ควรเรียกมันว่าตัวพี่ผู้เจริญที่สุด เพราะมันเป็นตัวที่ แก่ที่สุดใน บรรดาลูกไก่ เหล่านั้น" พราหมณ์ทูลตอบ.
พราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้น เรานี้ขณะเมื่อหมู่สัตว์กําลังถูกอวิชชาซึ่งเป็นประดุจ เปลือกฟองไข่ ห่อหุ้มอยู่แล้ว ก็ทําลายเปลือกห่อหุ้ม คืออวิชชาออกมาได้ก่อน ใครๆ เป็นบุคคลแต่ผู้เดียวในโลกได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ
อันไม่มีญาณ
อะไรยิ่งไปกว่า.
พราหมณ์! เรานั้น เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก. ความเพียรเรา ได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติเราได้กําหนดมั่นแล้วไม่ลืมหลง กายก็รํางับแล้ว ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นแล้วเป็นหนึ่ง เราได้บรรลุ ปฐมฌาน ---ฯลฯ---
ทุติยฌาน---ฯลฯ--- ตติยฌาน---ฯลฯ ---จตุตถฌานแล้ว ก็น้อมจิตไป เฉพาะ ต่อ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ -ฯลฯ--- เป็นการทําลายเปลือกฟองไข่ ของ ลูกไก่ ออกจากฟองไข่ ครั้งแรก ก็น้อมจิตไปเฉพาะ ต่อ จุตูปปาตญาณ---ฯลฯ---
เป็นการ ทําลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ออกจากฟองไข่ ครั้งที่สอง ก็น้อมจิตไป เฉพาะ ต่อ อาสวักขยญาณ---ฯลฯ เป็นการทําลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ ออกจากฟองไข่ครั้งที่สาม ดังนี้.
๑.บาลี มหาวิภังค์ วินัยปิฎก ๑/๕/๓. ตรัสแก่เวรัญชพราหมณ์.
765-2
ทรงเป็นผู้ข่มอินทรีย์ได้
มาคัณฑิยะ ! จักขุ เป็นสิ่งซึ่งมีรูปเป็นที่ยินดี กําหนัดแล้วใน รูป อันรูปทําให้ บันเทิงพร้อมแล้ว จักขุนั้น อัน ตถาคต ทรมาน ควบคุม รักษา สํารวม ไว้ได้แล้ว
และตถาคตย่อมแสดงธรรม เพื่อการสํารวมจักขุนั้นด้วย.
มาคัณฑิยะ ! โสตะ เป็นสิ่งซึ่งมี เสียง เป็นที่ยินดี ฯลฯ ๓ ฆานะ เป็นสิ่งซึ่ง มี กลิ่น เป็นที่ยินดี ฯลฯ ชิวหา เป็นสิ่งซึ่งมี รส เป็นที่ยินดี ฯลฯ
กายะ เป็นสิ่งซึ่งมี โผฎฐัพพะ เป็นที่ยินดี---ฯลฯ--- ใจ เป็นสิ่งซึ่งมี ธรรมารมณ์ เป็น ที่ยินดี กําหนัดแล้วใน ธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ทําให้บันเทิงพร้อมแล้ว ใจนั้น อันตถาคต ทรมาน ควบคุม รักษาสํารวมไว้ได้แล้ว และตถาคตย่อมแสดงธรรม เพื่อ สํารวมใจ นั้นด้วย.
๑. คำที่ละด้วย ฯลฯ ดังนี้ ดูเนื้อความเต็มที่ได้จากในภาค ๒ ตอนว่าด้วยการตรัสรู้ คือฌาน ๔ และวิชชา ๓ เหมือนกันไม่มีแปลก, ในที่นี้จึงยกมาแต่ชื่อ ให้สะดวกแก่ผู้ศึกษา, ไม่ต้องอ่านคำซ้ำ ๆ กันอีกตั้งยาว ๆ ให้ยืดยาด.
๒. บาลี มาคัณฑิยสูตร ม.ม. ๑๓/๒๗๒/๒๗๙. ตรัสแก่มาคัณฑิยปริพพาชก ที่โรงบูชาไฟแห่งหนึ่ง.
๓. ที่ละ...ฯลฯ... เช่นนี้ เติมให้เต็มเหมือนในข้อจักขุเอาเองได้.
(ตถาคตควบคุม อายตนะทั้ง 6 ได้แล้ว)
จักษุ (ตา) -> รูป
โสตะ (หู) -> เสียง
ฆานะ (จมูก) -> กลิ่น
ชิวหา (ลิ้น) -> รส
กายะ (กาย) -> โผฏฐธัพพะ
ใจ -> ธรรมารมณ์
|