พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า124
764-1
การรู้สึกพระองค์ว่าได้ตรัสรู้แล้ว
ภิกษุ ท.! ก็เมื่อเราเป็นผู้มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็น ธรรมดา มีความโศกเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ด้วยตน ก็รู้จักโทษ แห่งสิ่งที่มีความเกิดแก่ เจ็บ ตาย โศก เศร้าหมองเป็นธรรมดา.
ครั้นรู้แล้ว จึงได้แสวงหานิพพาน อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่โศก ไม่เศร้าหมองเป็น ธรรมดา อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า อันเกษมจากโยคธรรม.
เราก็ได้บรรลุพระนิพพานนั้น.
อนึ่ง ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นได้เกิดแก่เราว่า "ความหลุดพ้นของเราไม่กลับ กำเริบ การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีก" ดังนี้.
๑. บาลี อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒,๓๒๓/๑๖๗. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี.
๒. บาลี ปาสราสิสูตร โอปัมมวรรค มู. ม. ๑๒/๓๒๓/๓๒๐.
764-2
วิหารธรรมที่ทรงอยู่ เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ
ภิกษุ ท. ! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศ๒แห่งวิหารธรรมอย่างเดียวกันกับ วิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อ ตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ.
เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ แล้ว เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาทิฎฐิ บ้าง -สัมมาทิฎฐิ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสังกัปปะ บ้าง -สัมมาสังกัปปะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวาจา บ้าง -สัมมาวาจาบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉากัมมันตะบ้าง -สัมมากัมมันตะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาอาชีวะ บ้าง -สัมมาอาชีวะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวายามะ บ้าง -สัมมาวายามะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสติ บ้าง -สัมมาสติ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสมาธิ บ้าง -สัมมาสมาธิ บ้าง
(มรรค ๘)
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ วิตก บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัญญา บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่ยังไม่เข้าไป สงบระงับ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่เข้าไปสงบ ระงับแล้ว บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ การบรรลุถึงฐานะ ที่ได้พยายามเพื่อจะ บรรลุถึงบ้าง ดังนี้.
๑. บาลี สูตรที่ ๑ วิหารวรรค มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖/๔๘. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ เชตะวัน หลังจากที่ ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลาครึ่งเดือน.
๒. คําว่า "ประเทศ" ในที่นี้ หมายถึงที่ตั้งแห่งความรู้สึกทางใจ เช่นเดียวกับแผ่นดินเป็นที่ตั้ง แห่งความเป็นอยู่ทางกาย.
การที่คงไว้ในรูปศัพท์เดิมเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้ผู้อ่านได้ ทราบเงื่อนงําแห่ง ภาษาบาลี ซึ่งไม่ค่อย จะปรากฏในภาษาไทย.
พระบาลีนี้พอจะแสดงให้เราทราบได้ว่าเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ พระองค์ ได้ทรงอยู่ด้วยวิหารธรรม ชนิดที่ทําให้รู้แจ้ง ชัดต่อเวทนาใน ลักษณะเช่นที่ กล่าวไว้ในสูตร
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 127
(อีกสูตรหนึ่ง ๑ ได้ตรัสโดยข้อความที่แปลกออกไปอีกบางประการ)
ภิกษุ ท.! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหารธรรมที่เรา เคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้แล้ว เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาทิฎฐิ บ้าง
-ความเข้าไปสงบระงับ แห่งมิจฉาทิฎฐิ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาทิฎฐิ บ้าง
-ความเข้าไปสงบระงับแห่งสัมมาทิฎฐิ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสังกัปปะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบระงับแห่งมิจฉาสังกัปปะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสังกัปปะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมาสังกัปปะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวาจา บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉาวาจา บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาวาจา บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมาวาจา บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉากัมมันตะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉากัมมันตะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมากัมมันตะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมากัมมันตะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาอาชีวะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉาอาชีวะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาอาชีวะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมาอาชีวะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวายามะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉาวายามะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาวายามะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมาวายามะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสติ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉาสติ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสติ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมาสติ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสมาธิ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉาสมาธิ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสมาธิ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมาสมาธิ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งฉันทะ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ วิตก บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งวิตก บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัญญา บ้าง
-ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัญญา บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก
และ สัญญา ที่ยังไม่เข้าไป สงบระงับ บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก
และ สัญญา ที่เข้าไปสงบ ระงับแล้ว บ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ การบรรลุถึงฐานะ
ที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึง บ้าง" ดังนี้.
๑. บาลี สูตรที่ ๒ วิหารวรรค มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๗/๕๐. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวันหลังจากที่ได้ประทับหลีกเร้นแล้ว เป็นเวลา ๓ เดือน.
จบภาค ๒.
|