เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ทางสายกลาง คือมรรคมีองค์แปด 761
 
(เนื้อหาพอสังเขป)


ปฏิปทา 3 แบบ
    (๑) การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของ ชาวบ้าน เป็นของชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริย
    (๒) การประกอบ อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    (๒) ทางสายกลาง ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง เป็นทางอันประเสริฐ ประกอบด้วย องค์แปด

ความจริงอันประเสริฐคือทางสายกลาง
ภิกษุ ท. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ  ความตาย ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ ความพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้ สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบ ด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์

แดนเกิดของทุกข์ คือตัณหา
ภิกษุ ท. ! แดนเกิดของความทุกข์ คือ ตัณหา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความเพลิน อันเป็นเครื่องให้ เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ

 
 


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
หน้า117-120

สิ่งที่ตรัสรู้


         ภิกษุ ท.! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรข้อแวะด้วย สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร? คือ (๑) การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความ ใคร่ในกามทั้งหลาย อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้านเป็นของคนชั้น บุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ (๒) การประกอบความ เพียรในการทรมานตนให้ลำบาก อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ สองอย่างนี้แล

          ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่าง นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็น ข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ พร้อมเพื่อ นิพพาน. 

          ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่ง สองอย่าง นั้น เป็น อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติ  อันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการนี่เอง. แปดประการ คืออะไรเล่า? คือความเห็น ที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง 
การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึก ที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง

          ภิกษุ ท. ! นี้แล คือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะ
แล้วเป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้
อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อมเพื่อนิพพาน. 

          ภิกษุ ท. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ ๑ คือ ความเกิดก็ เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความ ประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ ความพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์

          กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบ ด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.

          ภิกษุ ท. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือ ตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจ ความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลิน อย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ตัณหาใน กามตัณหาในความมี ความเป็นตัณหา ในความไม่มี ไม่เป็น. 

          ภิกษุ ท. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือความสลัดทิ้ง ความสละคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น. 

          ภิกษุ ท. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ อันประกอบ ด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจา ที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียร ที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง. 

          ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์นี้ เราตถาคตกำหนดรู้รอบแล้ว. 

          ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์ เกิดขึ้นแก่เรา ว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรละเสีย เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของความทุกข์นี้เราตถาคตละได้แล้ว. 

          ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือ ของความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือ ของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง เกิดขึ้นแก่เรา ก็ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือ ของความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว.
 
          ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือของความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือข้อปฏิบัติที่ทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี, เกิดขึ้นแก่ เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของ ความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้เกิดมีแล้ว. 

          ภิกษุ ท. ! ตลอดกาลเพียงไร ที่ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสองในอริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่านี้ยังไม่เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ สะอาดด้วยดี ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะแล้วซึ่ง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์. 

          ภิกษุ ท.! เมื่อใด ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์ สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่านี้เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์