|
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
หน้า121-122
762
การตรัสรู้คือการทับรอยแห่งพระพุทธเจ้าในอดีต
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดพบรอยทางซึ่งเคยเป็น หนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้นจึงเดินตามทางนั้นไป เมื่อ เดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่ กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์
ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชา หรือแก่ มหาอำมาตย์ของพระราชาว่า "ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิดข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยว ไปในป่าทึบได้เห็นรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว
ข้าพระเจ้าได้ เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนคร ซึ่งเป็น ราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ท. แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ ด้วย สวนสมบูรณ์ ด้วย ป่าไม้สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาค น่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า !" ดังนี้
ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น จึงปรับปรุง สถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร สมัยต่อมานครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่ง และรุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์นี้ ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว
ภิกษุ ท. ! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั่นคืออริยอัฎฐัง- คิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ภิกษุ ท. ! นี้ แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายในกาลก่อนเคย ทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น เมื่อดำเนินไปตามซึ่งหนทางนั้นอยู่ เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ
ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรา มรณะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
(ข้อความต่อไปจากนี้ ได้ตรัสถึงชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ-สฬายตนะน ามรูป-วิญญาณ สุดลงเพียงสังขาร โดยอาการทั้งสี่, ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะ เหมือนกัน ทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันนธรรมนั้นๆ เท่านั้น).
|