เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทรงพยายามในเนกขมัมจิต และอนุปุพพวิหารสมาบัติ ก่อนตรัสรู้ 758
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
  เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ
  ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ

แต่กระนั้น จิตของเราก็ยัง
  ไม่แล่นไป  ไม่เลื่อมใส  ไม่ตั้งอยู่ได้  ไม่หลุดออกไป ในเนกขัมมะ
  ทั้งๆที่เราเห็นอยู่ว่า นั่นสงบ


อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่า
โทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น
ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก
และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย
ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้ากระไร
   เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก
  ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึง

ข้อนั้นแหละ  จะทำให้จิตของเรา
พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ
โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ

บรรลุฌาน
อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑  บรรลุฌานที่ ๒ บรรลุฌานที่ ๓ บรรลุฌานที่ ๔ ตามลำดับ

บรรลุ อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด"
บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด"
บรรลุ อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไรๆไม่มี"
บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่เถิด

อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ใน เนวสัญญานา สัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เรา สืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทําให้จิต ของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้ รสเลย จิตของเรา จึงเป็นเช่นนั้น.

เห็นโทษในกามทั้งหลาย บรรลุฌาน ๑
เห็นโทษในวิตกธรรม บรรลุฌาน ๒
เห็นโทษในปีติ บรรลุฌาน ๓
เห็นโทษในอุเปกขาสุข บรรลุฌาน ๔

เห็นโทษในรูปทั้งหลาย บรรลุบรรลุอากาสา
เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะ บรรลุวิญญญาณัญจายตนะ
เห็นโทษในวิญญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะ
เห็นโทษในอากิญจัญญายตนะ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ  หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธ


 
 

 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า98-103



758-1

ทรงพยายามในเนกขมัมจิต และอนุปุพพวิหารสมาบัติ ก่อนตรัสรู้

(สมถะสมาธิ- หลีกออกจากกาม)
อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความรู้ได้ เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ปวิเวก(ความอยู่สงัดจากกาม)เป็นทางแห่งความสำเร็จดังนี้ แต่แม้กระนั้น จิตของเรา ก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในเนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่า
นั่นสงบ. 


อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.
..................................................................................

(สมาธิ ชั้นรูปสัญญาทั้ง๔ )
(สงบจากกาม จึง บรรลุฌานที่๑)

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายัง มองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้ากระไรเราได้เห็นโทษ ในกามทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะ ที่จะทำให้จิตของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรม คือฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตามอำนาจ แห่งสัญญาที่เป็นไปในทางกาม ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เราเหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้น เสีย ถ้ากระไรเรา เพราะสงบ วิตกวิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใส แห่งจิตใน ภายใน ทำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดแต่ สมาธิแล้ว แลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ. 

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.
..................................................................................

(สงบวิตกวิจาร จึงบรรลุฌานที่๒)
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง อวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของ เราจึง เป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก แล้วนำมา ทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพในอานิสงส์ นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของ เราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออก ไปในอวิตกธรรม โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่เห็น อยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ !  เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะสงบวิตกวิจาร เสียได้ จึงบรรลุฌาน ที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่ง จิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์ อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรม คือ ฌานที่ ๒ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่ง สัญญา ที่เป็นไป ในวิตกก็ยัง เกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยัง มีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.  

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะความจาง ไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติแลสัมปชัญญะ และพึงเสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออก ไปใน นิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ. 
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.
..................................................................................

(สงบจากปิติ จึงบรรลุฌานที่๒)
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในปีติ เป็นสิ่งที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง นิปปีตกฌาน เรายังไม่เคย ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ แล้วนำมา ทำการคิดนึกในข้อ นั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์ นั้นอย่าง ทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึง เลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแลเพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขา มีสติแล สัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๓ การทำในใจตามอํานาจ แห่งสัญญา ที่เป็นไปในปีติ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกําจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส แลโทมนัสในกาล ก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในอุเปกขาสุข เป็นสิ่งที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นํามาทําการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอทุกขมสุข เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเรา จึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเปกขาสุข แล้วนํามา ทําการคิดนึก ในข้อนั้น ให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว พึงเสพ นอานิสงส์นั้น อย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะ ที่จะทําให้จิตของเราพึง แล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอทุกขมสุขโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็น อยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่ง โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความ ที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
อานนท์ ! แม้เมื่อ เราอยู่ด้วย วิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่ง สัญญา ที่เป็นไป ในอุเบกขา ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิด ขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใด ก็ฉันนั้น.
..................................................................................

(พ้นรูปสัญญา กำหนดหมายในรูป จึงเข้าสมาธิ ชั้นอรูป)
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไร เรา เพราะผ่านพ้นรูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป)โดยประการทั้งปวงได เพราะความ ตั้งอยู่ ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา(ความกำหนดหมายอารมณ์ ที่กระทบใจ) เพราะไม่ได้ทำ ในใจ ซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่าง ๆ (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุ อากาสานัญจา ยตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้น แก่เราสืบไปว่า อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทําให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทําการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง อากาสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเรา จึงเป็นเช่นนั้น.



(เห็นโทษในรูปทั้งหลาย บรรลุอากาสา-)
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลาย แล้วนำมาทำ ทําการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ใน อากาสนัญจายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้น อย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทําให้จิตของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึง แล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในอากาสนัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่น สงบ.

อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากาสานัญจายตนะนี้ การทําในใจตาม อํานาจ แห่งสัญญา ที่เป็นไปในรูป ทั้งหลายก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการ อาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. 
....................................................................

(พ้นอากาสา- บรรลุวิญญานัญจา-)
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว  พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไป ใน วิญญาณัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทําให้จิต ของเรา เป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่ง ที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญา ณัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคย รู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากา สานัญจายตนะ แล้วนำมา ทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ใน วิญญาณัญจายตนะ แล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิต ของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน วิญญาณัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้ว อย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน วิญญาณัญจายตนะนั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ
อานนท์ ! เราแลผ่านพ้น อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุ วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า" "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้ การทำในใจ ตามอำนาจ แห่งสัญญาที่ เป็นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น. 
....................................................................

(พ้นวิญญานัญจา - บรรลุอากิญจัญญา-)
อานนท์ !  ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไร เพราะผ่านพ้นวิญญา ณัญจายตนะโดยประการ ทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุ อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไรๆไม่มี" แล้วแลอยู่เถิดดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิต ของเรา เป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในวิญญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์ แห่งอากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็น เช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษใน วิญญาณัญจายตนะ แล้วนำมาทำการ คิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ใน อากิญจัญญายตนะแล้วพึงเสพ ในอานิสงส์ นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน อากิญจัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้น แล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน อากิญจัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นวิญญา ณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทํา ในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ อากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจ แห่งสัญญา ที่เป็นไปในวิญญา ณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็น การอาพาธ (ในทางจิต)แก่เรา เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวางเพราะ อาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.
....................................................................

(พ้นอากิญจัญญา- บรรลุเนวสัญญา-)
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธ ข้อนั้นเสีย ถ้ากระไร เราเพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนะ๑ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เรา สืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทําให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเรา จึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษใน อากิญจัญญายตนะ แล้วนำมาทำ การคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ ในเนวสัญญานา สัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้น แหละจะเป็นฐานะ จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่นสงบ.

อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือ เนวสัญานาสัญญายตนะนี้ การทำในใจ ตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปในอากิญจัญญายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)แก่เราเหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา ผ่านพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุสัญญา เวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ ! แม้กระนั้นจิต ของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ. 
....................................................................

(พ้นเนวสัญญา- หลุดเข้าไปในสัญญาเวทยิตนิโรธ)
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้น แก่เรา สืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่า โทษ ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็น เช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานา สัญญายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ใน สัญญาเวท ยิตนิโรธ แล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำ ให้จิตของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่นสงบ.

อานนท์ เราแล ผ่านพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไรๆอีกต่อไป).

อนึ่งอาสวะทั้งหลายได้ ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจจ์สี่ )ได้ด้วยปัญญา


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์