เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้ คืออานาปานสติ 757
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

757
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้ คืออานาปานสติ
ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ 
ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มาก ซึ่งสมาธิไหนกันเล่า?

ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความ หวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้ มากซึ่ง อานาปานสติสมาธิ. 

ภิกษุ ท. ! แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ ด้วย วิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิต ของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน. 

ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่าหรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม 
แล้วนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. 
ภิกษุนั้นหายใจเข้าก็มีสติ หายใจออกก็มีสติ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจ ออกสั้น.
 
 

 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
หน้า98-103

757
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้


ภิกษุ ท. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิต ก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด สมาธินั้น

ภิกษุย่อมจะได้โดยไม่หนักใจ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย

ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม  ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิไหนกันเล่า?

ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความ หวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้ มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ. 

ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทําให้มาก ซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้?
 
ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่าหรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม แล้วนั่งคู้ขาเข้ามา
โดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. 

ภิกษุนั้นหายใจเข้า ก็มีสติ หายใจออก ก็มีสติ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจ เข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว. 

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจ ออกสั้น.

เธอย่อมทำการสําเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้าอยู่" ว่า"เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกาย ทั้งปวงหายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้ทำกายสังขาร ให้สงบระงับ อยู่หายใจเข้าอยู่" ว่า"เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบระงับอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม เฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจ ออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม เฉพาะซึ่ง จิตตสังขาร หายใจเข้าอยู่" ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะ ซึ่งจิตตสังขาร หายใจออกอยู่". 

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้สงบระงับ อยู่หายใจเข้าอยู่" ว่า"เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้สงบระงับอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้าอยู่"ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจ ออกอยู่".

เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทําจิตให้ ปราโมทย์บันเทิง อยู่หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้ทําจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ดํารงจิตให้ ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้าอยู่" ว่า "เราจักเป็นผู้ดํารงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทําจิตให้ ปลดปล่อยอยู่ หายใจเข้าอยู่"ว่า "เราจักเป็นผู้ทําจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่ เที่ยง หายใจเข้าอยู่" ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรม เป็นความ จางคลาย หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความจางคลาย หายใจออกอยู่" 

เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรม เป็นความดับ สนิท หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจออกอยู่". 

เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรม เป็นความสลัด กลับหลัง หายใจเข้าอยู่" ว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความ สลัดกลับหลัง หายใจออกอยู่".ดังนี้. 

ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ อยู่อย่างนี้แล ความหวั่น ไหวโยก โคลงแห่งกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมี ขึ้นไม่ได้.
---ฯลฯ--- 

ภิกษุ ท. ! แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก.
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิต ของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน. 

ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเรา ก็อย่าลำบาก ตาของเรา ก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไปทางเหย้าเรือน ของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
 
ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ต่อสิ่งที่ ไม่ปฏิกูลดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทําในใจ ในอานาปานสติ-สมาธินี้ ให้เป็น อย่างดี. 

ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลต่อสิ่ง ที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทําในใจ ในอานาปานสติ-สมาธินี้ ให้ เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ทั้งต่อสิ่ง ที่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทําในใจในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งต่อ สิ่งที่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทําในใจ นอานาปานสติ สมาธินี้ให้เป็นอย่างดี. 

ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจเสียเลยทั้งต่อสิ่งที่ ไม่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะเถิด ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น จงทําในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.  

(ต่อแต่นี้ มีตรัสทํานองนี้เรื่อยไปจนถึง ความหวังจะได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญา นาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จนกระทั่งความดับเย็นแห่งเวทนา เพราะความไม่ เพลิดเพลินในเวทนานั้น เป็นที่สุด ว่าผู้ต้องการพึงทําในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี).

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์