เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้ แสงและรูปที่เห็นเกิดขึ้นและ หายไป 753
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

753-1
แสงและรูปที่เห็นเกิดขึ้นและ หายไป
เรา.. เมื่อครั้งยังเป็นโพธิสัตว์ ก็จําแสงสว่าง และการเห็นรูปทั้งหลายได้ ต่อมาแสงสว่างและรูป ได้หายไป เกิดความสงสัยว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย อนุรุทธะ ท. เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้ วิจิกิจฉา (ความลังเล) เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อน ก็เพราะมีวิจิกิจฉาเป็นเหตุ

อนุรุทธะ ท. เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้(ดังต่อไปนี้)
วิจิกิจฉา-๑ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีวิจิกิจฉาเป็นต้นเหตุ ครั้นสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อม หายไป. เราจักกระทําโดย ประการที่วิจิกิจฉาจะไม่บังเกิดขึ้น แก่เราได้อีก
วิจิกิจฉา-๑ อมนสิการ-๒ ถีนมิทธะ-๓ ความหวาดเสียว-๔ ความตื่นเต้น-๕ ความชั่วหยาบ-๖ ความเพียร ที่ปรารภ เกินไป-๗ ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป-๘ ตัณหาที่คอยกระซิบ-๙ ความสำคัญสภาวะว่า ต่างกัน-๑๐ และ ลักษณะ ที่เพ่งเล็งรูปเกินไป-๑๑ จะไม่เกิดแก่เรา (ทั้ง11อาการ) ได้อีก

ดูก่อนอนุรุทธะ เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา ว่าเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว จึงละแล้วซึ่งวิจิกิจฉาอันเป็น อุปกิเลส แห่งจิตเสีย
      รู้ว่า วิจิกิจฉา เป็นเครื่องเกาะจิตให้ เศร้าหมอง จึงละวิจิกิจฉา
      รู้ว่า อมนสิการ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละอมนสิการ
      รู้ว่า ถีนมิทธะ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละถีนมิทธะ
      รู้ว่า ความหวาดเสียว เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความหวาดเสียว
      รู้ว่า ความตื่นเต้น เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความตื่นเต้นตัวเ
      รู้ว่า ความชั่วหยาบ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความชั่วหยาบ
      รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความเพียรที่ปรารภเกินไป
      รู้ว่า ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความเพียรที่ย่อหย่อน เกินไป
      รู้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละตัณหาที่คอยกระซิบ
      รู้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความสำคัญสภาวะ ว่าต่างกัน
      รู้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้ เศร้าหมอง จึงละลักษณะที่เพ่งเล็งรูป เกินไป


ดูก่อนอนุรุทธะ ท. กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร(เป็นต้น เหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นธรรมชาติอันเรา เจริญแล้ว กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้ว แก่เราว่า "วิมุติของเราไม่กลับกําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มี อีก" ดังนี้
 
 


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
หน้า 75-80


753-1
ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้

          อนุรุทธะ ท.! นิมิตนั้นแหละ เธอพึงแทงตลอดเถิด. แม้เราเมื่อครั้งก่อน แต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็จําแสงสว่างและการเห็นรูป ทั้งหลายได้. ต่อมาไม่นาน แสงสว่างและการเห็นรูปของเรานั้นๆ ได้หายไป. 
เกิดความสงสัยแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทําให้แสงสว่างและ การเห็นรูปนั้นหายไป?

         อนุรุทธะ ท. เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้(ดังต่อไปนี้)

         (๑) วิจิกิจฉา (ความลังเล) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมี วิจิกิจฉา เป็นต้นเหตุครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อม หายไป. เราจักกระทําโดย ประการที่วิจิกิจฉาจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก....ฯลฯ....  (มีคําระหว่างนี้เหมือนท่อนต้นไม่มีผิด ทุกตอน ตั้งแต่คําว่า ต่อมาไม่นานจนถึงคําว่า เกิด ความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า-)

         (๒) อมนสิการ (ความไม่ทําไว้ในใจ คือไม่ใส่ใจ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของ ราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีอมนสิการเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ การเห็นรูป ย่อมหายไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉาและ อมนสิการจะไม่ เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

         (๓) ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงัน) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีถีนมิทธะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและ การเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะ จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เรา ได้อีก.

         (๔) ฉัมภิตัตตะ (ความสะดุ้งหวาดเสียว) แล บังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของ เราเคลื่อนแล้ว เพราะมีฉัมภิตัตตะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่าง และการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดผู้มุ่งหมายเอาชีวิตขึ้น ทั้งสองข้างทาง ความหวาดเสียวย่อมเกิดแก่เขาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น.
เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธ และฉัมภิตัตตะ จะไม่ เกิดแก่เราได้อีก.

         (๕) อุพพิละ (ความตื่นเต้น) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอุพพิละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. เหมือนบุรุษแสวงหาอยู่ ซึ่งขุมทรัพย์ขุมเดียว เขาพบพร้อมกันคราว เดียวตั้งห้าขุม ความตื่นเต้นเกิดขึ้น เพราะการพบนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นเราจักกระทําโดย ประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ และ อุพพิละ จะไม่เกิดแก่เรา ได้อีก.

         (๖) ทุฏฐุลละ (ความคะนองหยาบ) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีทุฏฐุลละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปย่อม หายไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ และทุฏฐุลละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

         (๗) อัจจารัทธวิริยะ (ความเพียรที่ปรารภจัดจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอัจจารัทธวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบด้วยมือทั้งสอง หนักเกินไป นกนั้นย่อมตายในมือ ฉะนั้น. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ  ทุฏฐุลละ และ อัจจารัทธวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

         (๘) อติลีนวิริยะ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) และเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีอติลีนวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อน แล้วแสงสว่างและ การเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบ หลวมมือเกินไป นกหลุด ขึ้นจากมือบินหนีเสียได้ ฉะนั้น. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ และอติลีนวิริยะ จะไม่เกิดแก่ เราได้อีก.

         (๙) อภิชัปปา (ความกระสันอยาก) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีอภิชัปปาเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปย่อมหาย ไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ และอภิชัปปา จะไม่ เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

         (๑๐) นานัตตสัญญา(ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้วเพราะมีนานัตตสัญญานั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิกา ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฎฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ อภิชัปปา และนานัตต สัญญา จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

        (๑๑) รูปานํ อตินิชฌายิตัตตะ (ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป) แล เกิดขึ้น แก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอตินิชฌายิตัตตะเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทําโดย ประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ อภิชัปปา นานัตตสัญญา และ รูปานํ อตินิชฌายิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เรา ได้อีก.

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) ว่าเป็น อุปกิเลส แห่งจิตแล้ว จึงละแล้วซึ่ง วิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เสีย.

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. เรานั้นเมื่อไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจํา แสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) ย่อมเห็นรูป แต่จําแสงสว่างไม่ได้ เป็นดังนี้ทั้งคืน บ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุ เป็นป๎จจัย ที่เราจําแสง สว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) เห็นรูปแต่จําแสงสว่างไม่ได้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืน และทั้งวันบ้าง?

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดเราไม่ทํา รูปนิมิตไว้ในใจ แต่ทํา โอภาสนิมิต ไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมจําแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป. สมัยใดเรา ไม่ทํา โอภาสนิมิตไว้ในใจแต่ทํารูปนิมิตไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูปแต่ จําแสงสว่างไม่ได้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้างตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจําแสงสว่าง ได้นิดเดียวเห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง จําแสงสว่างมากไม่มีประมาณเห็นรูปก็ มากไม่มี ประมาณบ้าง เป็นดังนี้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิด แก่เราว่า อะไรเป็นเหตุเป็นป๎จจัย ที่เราจําแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูป ก็นิดเดียวบ้าง จําแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณตลอด ทั้งคืนบ้าง ตลอด ทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง?

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดสมาธิของเราน้อย   สมัยนั้น จักขุก็มีน้อย ด้วยจักขุอันน้อย เราจึงจําแสงสว่างได้น้อย เห็นรูปก็น้อย. สมัยใดสมาธิ ของเรามากไม่มีประมาณ สมัยนั้นจักขุของเราก็มาก ไม่มีประมาณ ด้วยจักขุอันมาก ไม่มีประมาณนั้น เราจึงจําแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณเห็นรูป ได้มากไม่มีประมาณ ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนทั้งวันบ้าง.

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ในกาลที่เรารู้แจ้งว่า (ธรรมมี) วิจิกิจฉา (เป็นต้น เหล่านั้น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว และละมันเสียได้แล้ว กาลนั้นย่อมเกิด ความรู้สึกขึ้นแก่เราว่า "อุปกิเลสแห่งจิตของเราเหล่าใด อุปกิเลสนั้น ๆ เราละได้ แล้ว เดี๋ยวนี้ เราเจริญแล้ว ซึ่ง สมาธิโดยวิธีสามอย่าง."

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. เราเจริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันมีวิตกวิจาร ซึ่งสมาธิ อันไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ซึ่งสมาธิอันมี ปิติ ซึ่งสมาธิ อันหาปีติมิได้ ซึ่งสมาธิอันเป็นไปกับด้วยความยินดู และสมาธิอัน เป็นไปกับด้วย อุเบกขา.

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร(เป็นต้น เหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นธรรมชาติอันเราเจริญแล้ว กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า "วิมุติของเราไม่กลับกําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มี อีก" ดังนี้

................................................................................................................................

(สมาธิเจ็ดอย่าง ในที่นี้ คงเป็นของแปลกและยากที่จะเข้าใจสําหรับนักศึกษาทั่วๆ ไป เพราะแม้แต่ใน อรรถกถา ของพระบาลีนี้ ก็แก้ไว้ไม่ละเอียด ท่านแก้ไว้ดังนี้ :-

1. สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร ท่านไม่แก้ เพราะได้แก่ปฐมฌานนั้นเอง จะโดยจตุกกนัย หรือป๎ญจกนัยก็ตาม
2. สมาธิที่ไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ ได้แก่ ทุติยฌาน สมาธิใน ป๎ญจกนัย.
3. สมาธิที่ไม่มี วิตกไม่มี วิจาร ได้แก่ฌานทั้งสามเบื้องปลาย ทั้งใน จตุกกนัย และป๎ญจกนัย. 
4. สมาธิมีปีติ ได้แก่ทุกติก- ฌานสมาธิ. 
5. สมาธิไม่มีปีติ ได้แก่ทุก ทุกฌาน สมาธิ. 
6. สมาธิเป็นไปกับด้วยความ ยินดีได้แก่ติกจตุกกฌานสมาธิ. 
7. สมาธิเป็นไปกับด้วย อุเบกขา ได้แก่จตุตถฌานแห่งจตุกกนัย หรือ ป๎ญจมฌานแห่ง ป๎ญจกนัย.

--ปป๎ญจ. ภ. ๓. น. ๖๑๔. ผู้ปรารถนาทราบรายละเอียด พึงศึกษาจาก ตําราหรือผู้รู้สืบไป. สมาธิเหล่านี้ตาม  อรรถกถากล่าวว่าทรงเจริญ ในคืนวันตรัสรู้ที่ มหาโพธิ)



เรื่อง ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้ จากพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (โดยท่านพุทธทาส) อยู่ในเรื่อง อุปักกิเลสสูตร ที่ ๘ (ฉบับหลวง) หน้า ๒๓๓-๒๓๙ จึงนำมาเปรียบเทียบให้เห็น ความต่าง ในการแปล



ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๒๓๓- ๒๓๙


753-2 อุปักกิเลสสูตร  ที่  ๘

[๔๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.. (หน้า ๒๒๙)


................................................................................................................................

[๔๕๑] พ. ดีละๆ อนุรุทธ ก็พวกเธอผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษคือ ญาณทัสสนะอันประเสริฐ สามารถกว่าธรรมของมนุษย์ อันยิ่งเป็นเครื่องอยู่ สบายอันได้บรรลุแล้วหรือ ฯ

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตน ไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่าง และการ เห็นรูป อันนั้น ของพวกข้าพระองค์ ย่อมหายไปได้ พวกข้าพระองค์ยังไม่แทงตลอด นิมิตนั้น ฯ

[๔๕๒] พ. ดูกรอนุรุทธ พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล แม้เราก็เคยมาแล้ว เมื่อ ก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและ การเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเราย่อมหาย ไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่าง และการ เห็นรูป ของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้น แก่เราได้อีก ฯ


[๔๕๓]
ดูกรอนุรุทธ เรานั้นแลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ย่อมรู้สึก แสงสว่าง และ การเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้น ของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริ ดังนี้ว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่าง และการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า อมนสิการ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อมนสิการเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา และ อมนสิการ ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๔] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ถีนมิทธะ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป จึงหายไปได้เราจักทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะ ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๕] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ดังนี้ว่า ความหวาดเสียวแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาดเสียวเป็นเหตสมาธิของเรา จึงเคลื่อนเมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปจึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดมีคนปองร้ายเขาขึ้นที่สองข้างทาง เขาจึงเกิด ความหวาดเสียว เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือนกัน แล ความหวาดเสียวแลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาดเสียวเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และ ความหวาดเสียว ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๖] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความตื่นเต้นแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษ แสวงหาแหล่งขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่งขุมทรัพย์ เข้า ๕ แห่ง ในคราวเดียวกัน เขาจึงเกิดความตื่นเต้นเพราะพบแหล่งขุมทรัพย์ ๕ แห่งนั้นเป็นเหตุ ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความตื่นเต้นแลเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ก็ความ ตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็น รูป จึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว และความตื่นเต้น ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๗] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ความชั่วหยาบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความชั่วหยาบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และ การเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น และความ ชั่วหยาบ ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๘] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้ง ๒ จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้นต้องถึง ความตาย ในมือนั้นเอง ฉันใดดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภ เกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แลความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ และความเพียรที่ปรารภเกินไป ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๙] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียร ที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อน แล้วแสงสว่างและ การเห็นรูป จึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษจับนกคุ่มหลวมๆ นกคุ่มนั้นต้องบินไป จากมือเขาได้ ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือน กันแลความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป จึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป และความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๖๐] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบ แล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ สมาธิ ของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก ทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป และตัณหาที่คอยกระซิบ ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๖๑] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ความสำคัญสภาวะ ว่าต่างกันแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป จึงหายไปได้ เรานั้นจักทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา มนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อน เกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๖๒] ดูกรอนุรุทธ รานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อม รู้สึกแสงสว่างและการ เห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้น ของเราย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ แสงสว่าง และการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ลักษณะที่เพ่ง เล็งรูปเกินไปแล เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ก็ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้วแสงสว่างและ การเห็นรูป จึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิด
วิจิกิจฉา
-๑
อมนสิการ
-๒
ถีนมิทธะ-๓
ความหวาดเสียว-๔
ความตื่นเต้น-๕
ความชั่วหยาบ-๖
ความเพียรที่ปรารภเกินไป-๗
ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป-๘
ตัณหาที่คอยกระซิบ-๙
ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน-๑๐
และ ลักษณะที่เพ่งเล็งรูป เกินไป
-๑
ขึ้นแก่เราได้อีกฯ

[๔๖๓] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นแล

รู้ว่า วิจิกิจฉา เป็นเครื่องเกาะจิตให้ เศร้าหมอง
จึงละ วิจิกิจฉาตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า อมนสิการ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ อมนสิการตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ถีนมิทธะ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ถีนมิทธะตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความหวาดเสียว เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความหวาดเสียว ตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความตื่นเต้น เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความตื่นเต้นตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความชั่วหยาบ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความชั่วหยาบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความเพียรที่ปรารภเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ตัณหาที่คอยกระซิบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้ เศร้าหมอง
จึงละ ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

[๔๖๔] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแลแต่ไม่เห็นรูป
เห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง

ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง
เรานั้นจึงมีความดำริดังนี้ว่าอะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัย

ให้เรารู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแลแต่ไม่เห็นรูป
เห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง
ตลอดกลางคืน บ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง

ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า
สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้นเราย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป

ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป
สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง

ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและ กลางวันบ้างฯ


[๔๖๕] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึก แสงสว่าง เพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้สึกแสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณ มิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้ง กลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอ แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เรารู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูป ได้นิดหน่อย และรู้สึก แสงสว่างอย่างหา ประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหา ประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและ กลางวันบ้าง

ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใดเรามี สมาธินิดหน่อย สมัยนั้นเราก็มีจักษุ นิดหน่อย ด้วยจักษุนิดหน่อย เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้ นิดหน่อย ส่วนสมัยใดเรามีสมาธิหาประมาณมิได้

สมัยนั้นเราก็มีจักษุหาประมาณมิได้ ด้วยจักษุ หาประมาณมิได้ เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่าง หา ประมาณมิได้ และเห็นรูป หาประมาณ มิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน บ้าง ตลอดทั้งกลางคืน และ กลางวันบ้าง ฯ


ดูกรอนุรุทธ เพราะเรา


รู้ว่าวิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละวิจิกิจฉาตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าอมนสิการเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละอมนสิการตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าถีนมิทธะเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละถีนมิทธะตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความหวาดเสียวตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความตื่นเต้นเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความตื่นเต้นตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความชั่วหยาบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความชั่วหยาบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความเพียรที่ปรารภเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละตัณหาที่คอยกระซิบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความสำคัญสภาวะต่างกันเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความสำคัญ สภาวะว่าต่างกันตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็น เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

เรานั้นจึงได้มีความรู้ดังนี้ว่าเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองนั้นๆ ของเรา
เราละได้แล้วแล ดังนั้น เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้ ฯ

[๔๖๖] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้เจริญสมาธิมีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตกมีแต่ วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิ ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิมีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิ ไม่มีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคต ด้วยสุขบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคต ด้วยอุเบกขา บ้าง ฯ

ดูกรอนุรุทธ เพราะสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง ชนิดที่ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารบ้าง ชนิดที่มีปีติบ้าง ชนิดที่ไม่มีปีติบ้างชนิดที่สหรคตด้วยสุขบ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง เป็นอันเราเจริญ แล้วฉะนั้นแล ความรู้ความเห็น จึงได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ความเกิดใหม่ ย่อมไม่มี ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธจึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ อุปักกิเลสสูตร ที่ ๘

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์