เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต, ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท, ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ 754
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

754-1
กั้นจิตกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้
ภิกษุ ท. ! เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ มีความรู้สึกา กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อน ได้ดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวนก็จริง แต่โดยมากจิตของเรา เมื่อจะแล่นก็แล่นไปสู่กามคุณเป็นอดีต นั้น น้อยนักที่จะแล่นไป สู่กามคุณในปัจจุบัน หรืออนาคต ดังนี้. ภิกษุ ท. ความไม่ประมาท และสติ เป็นสิ่งซึ่งเราผู้หวังประโยชน์แก่ ตนเอง พึงกระทํา ให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณห้า อันเป็นอดีต

754-2
ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้

ภิกษุนั้นๆ ย่อมเจริญอิทธิบาท มีสมาธิอาศัย ฉันทะเป็น ปธานกิจ ว่าด้วยอาการอย่างนี้ ฉันทะของเราจัก ไม่ย่อ หย่อน จักไม่เข้มงวดเกิน จักไม่สยบอยู่ในภายใน จักไม่ส่ายไปภายนอก และเราเป็นผู้มีความรู้สึก ทั้งในกาลก่อน และกาลเบื้องหน้าอยู่ด้วย

754-3
ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้
ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
สุขโสมนัส ใดๆที่อาศัยรูป... เป็นรสอร่อยของรูป 
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทรมาน มีการแปรปรวน...เป็นโทษของรูป
การนําออกซึ่งความกําหนัด ความพอใจ...เป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูป 

 
 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์หน้า80

754-1 ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้

 

         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ อยู่ มีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อนได้ดับไป แล้วเพราะความแปรปรวนก็จริง แต่โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่นก็ แล่นไปสู่ กามคุณเป็นอดีตนั้น น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ความไม่ประมาท และสติ เป็นสิ่ง ซึ่งเราผู้หวังประโยชน์แก่ตนเองพึงกระทําให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะ กามคุณห้า อันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ แม้จิตของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อจะแล่น ก็คงแล่น ไปในกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมา และดับไปแล้วเพราะ ความ แปรปรวน(เหมือนกัน)โดยมาก น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณ ในปัจจุบัน หรืออนาคต.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ความไม่ประมาทและสติ จึงเป็นสิ่งที่ พวกเธอผู้หวัง ประโยชน์แก่ตัวเอง พึงกระทําให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะเหตุ กามคุณห้าอัน เป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้ว เพราะความ แปรปรวนนั้น.




754-2 ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้

 

         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความสงสัยเกิดขึ้นว่า อะไรหนอ เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ เพื่อความเจริญแห่ง อิทธิบาท?

          ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า ภิกษุ นั้นๆ ย่อมเจริญอิทธิบาท   อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ฉันทะของเรา ย่อมมีในลักษณะที่จักไม่ย่อหย่อน ที่จักไม่ เข้มงวดเกิน ที่จักไม่สยบอยู่ในภายใน ที่จักไม่ส่ายไปในภายนอก และเราเป็นผู้มี ความรู้สึกทั้งในกาลก่อน และกาลเบื้องหน้าอยู่ด้วย

         ก่อนนี้เป็นเช่นใดต่อไปก็เช่นนั้น ต่อไปเป็นเช่นใด ก่อนนี้ก็เช่นนั้น เบื้องล่าง เช่นใด เบื้องบนก็เช่นนั้น เบื้องบนเช่นใดเบื้องล่างก็เช่นนั้น กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่างด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้ว ไม่มีอะไรพัวพัน ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้. (ข้อต่อไปอีก ๓ ข้อก็เหมือนกัน แปลกแต่ชื่อแห่งอิทธิบาทเป็น วิริยะ จิตตะ วิมังสา เท่านั้น. พระองค์ทรงพบการ เจริญอิทธิบาท ด้วยวิธีคิดค้นอย่างนี้).


 

754-3 ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้

 

         ภิกษุ ท. ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
อะไรหนอเป็น
รสอร่อย ของรูป
อะไรเป็น โทษของรูป
อะไรเป็น
อุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป ?
อะไรหนอเป็น รสอร่อยของเวทนา ...สัญญา ... สังขาร...วิญญาณ
อะไรเป็น
โทษของเวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ
อะไรเป็น อุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ?

          ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยรูปแล้ว เกิดขึ้น สุขและโสมนัสนั้นและเป็น รสอร่อยของรูป  รูปไม่เที่ยง  เป็นทุกข์ทรมาน มีการแปรปรวนเป็นธรรมดาด้วยอาการใด อาการนั้นเป็น โทษของรูป
การนําออกเสียได้ ซึ่งความกําหนัด ด้วยอํานาจความพอใจ การละความกําหนัด ด้วยอํานาจความพอใจ ในรูปเสียได้ นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูปได้  (ในเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ก็นัยเดียวกัน).

          ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์  ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย ไม่รู้จักโทษว่าเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบาย เครื่องออก ตามที่เป็นจริง ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.

          ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล เรารู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามที่เป็นจริง เมื่อนั้น เราก็รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อม ทั้งมนุษย์.

          ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็น  เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้น ของเราไม่กลับกําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ มิได้มีอีก ดังนี้.

นอกจากการคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์นี้แล้ว ยังมีการคิดค้นอีก ๓ เรื่อง ด้วยวิธีการณ์ที่ บรรยายไว้เป็นคําพูดอย่างเดียวกันกับเรื่องนี้ ทุกระเบียบอักษร คือคิดค้นเรื่อง ธาตุสี่ (นิทาน.สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๔), เรื่อง อายตนะภายในหก (สฬา.สํ.๑๘/๘/๑๓), และเรื่อง อายตนะภายนอกหก (สฬา.สํ.๑๘/๙/๑๔).  -ผู้รวบรวม.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์