เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 เวสารัชชสูตร ทรงประกาศปฏิญญา "ตําแหน่งจอมโลก" บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร 750
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ทรงประกาศ ปฏิญญา "ตําแหน่งจอมโลก" บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร ๔ ประการ

๔ ประการเป็นไฉน

1. ธรรมเหล่านี้ๆ อันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นสัมมาสัมพุทธะอยู่ ไม่ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว
2. อาสวะเหล่านี้ๆ อันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นขีณาสพผู้สิ้นอาสวะอยู่ ยังไม่สิ้นรอบแล้ว
3. ธรรมเหล่าใด ที่ท่านกล่าวว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่ผู้เสพ ธรรมเหล่านั้นถึงเมื่อบุคคลเสพ อยู่ ก็หาอาจทำอันตรายไม่
4. ท่านแสดงธรรม เพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์นั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่บุคคล ผู้ประพฤติ ตามธรรมนั้น

ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล เป็น เวสารัชชญาณ สี่อย่าง ของตถาคต อันตถาคต ประกอบพร้อมแล้ว ปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศ พรหมจักร ให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.

พระสูตรนี้ ลงไว้ทั้งฉบับหลวง และ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เนื่องจากสำนวนแปลต่างกัน

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๗


เวสารัชชสูตร


         [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วย เวสารัชชญาณ เหล่าใด ย่อม ปฏิญาณฐานะ แห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักรเวสารัชชญาณ ของตถาคตมี ๔ ประการนี้
ความไม่ครั่นคร้าน แกล้วกล้าอาจหาญ พระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม
จก หมายถึงหัวหน้า

๔ ประการเป็นไฉน

๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มารพรหม หรือ ใครๆในโลก จักทักท้วงเรา โดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่าท่านปฏิญาณว่าเป็น พระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ยังไม่ตรัสรู้แล้ว เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึง ความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่

๒) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลกจักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็น พระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น แล้วเมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่

๓) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านกล่าวธรรม เหล่าใดว่า ทำอันตรายธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง เมื่อเรา ไม่เห็นนิมิต แม้นี้ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่

๔) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร. พรหม หรือ ใครๆ ในโลกจักทักท้วงเรา ด้วยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อ ประโยชน์ อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้น ไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม เมื่อเรา ไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้า อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าใด ปฏิญาณฐานะแห่ง
ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร เวสารัชชญาณของ ตถาคตมี ๔ ประการนี้แล

วาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เขาตระเตรียมไว้มาก และสมณพราหมณ์ ทั้งหลายอาศัย วาทะใด วาทะเหล่านั้นมาถึง พระตถาคตผู้แกล้วกล้า ผู้ล่วงวาทะเสียได้ ย่อมหายไป
ผู้ใดครอบงำธรรมจักรอันเป็นโลกุตตรประกาศแล้ว มีปรกติ อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า สัตว์ทั้งหลายย่อมนมัสการผู้เช่นนั้น ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ

จบสูตรที่ ๘



พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 121-122

ทรงมีเวสารัชชญาณสี่อย่าง

 

         ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เป็นเวสารัชชญาณสี่อย่างของตถาคต ที่ตถาคตประกอบ พร้อมแล้ว ปฏิญญาตำแหน่ง จอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลางบริษัท ท .ได้ สี่อย่างคือ

          (๑). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์  เทพ  มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักโจท ท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ธรรมเหล่านี้ๆ อันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นสัมมาสัมพุทธะอยู่ ไม่ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว" ดังนี้ ภิกษุ ท. ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้
(ไม่มีใครท้วงได้ ในฐานะที่ทรงเป็น สัมมาสัมพุทธะ)

          (๒). ตถาคต ไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์  เทพ  มาร พรหมหรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "อาสวะเหล่านี้ๆ อันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นขีณาสพผู้สิ้นอาสวะอยู่ ยังไม่สิ้นรอบแล้ว" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.
(ไม่มีใครท้วงได้ ในฐานะที่ทรงเป็น ผู้สิ้นอาสวะ)

          (๓). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์  เทพ  มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ธรรมเหล่าใด  ที่ท่านกล่าวว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่ผู้เสพ  ธรรมเหล่านั้นถึงเมื่อบุคคลเสพ อยู่ ก็หาอาจทำอันตรายไม่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แวว อันนั้น   จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.
(ไม่มีใครท้วงได้ อันเนื่องจากธรรมะของพระองค์ เสพได้ ไม่มีอันตราย)

          (๔). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร  พรหม หรือใครๆในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ท่านแสดงธรรม เพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์นั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่บุคคล ผู้ประพฤติ ตามธรรมนั้น" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความ เกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.
(ไม่มีใครท้วงได้ อันเนื่องจากธรรมะของพระองค์ เป็นทางสิ้นทุกข์แก่ผู้ประพฤติธรรม)

          ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล เป็น เวสารัชชญาณ สี่อย่าง ของตถาคต อันตถาคต ประกอบพร้อมแล้ว ปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศ พรหมจักร ให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์