เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อุปนิสาสูตรที่ ๑ วิปฏิสาร - อวิปฏิสาร ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว
749
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อุปนิสาสูตรที่ ๑
  
 วิปฏิสาร (ความร้อนใจ หรือความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากการกระทำผิด)
   
อวิปฏิสาร (ความร้อนใจ ถูกขจัดไป)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อวิปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ) ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปฏิสารไม่มี.. บุคคลผู้มีอวิปฏิสาร วิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อความปราโมทย์ไม่มี...ปีติอันบุคคลผู้มีความปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อปีติไม่มี.. ปัสสัทธิ อันบุคคลผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อปัสสัทธิไม่มี.. สุข อันบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อสุขไม่มี.. สัมมาสมาธิ อันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี..ยถาภูตญาณทัสน อันบุคคล ผู้มีสัมมาสมาธิวิบติขจัด เสียแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี... นิพพิทา อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อนิพพิทาไม่มี... วิราคะอั นบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อวิราคะไม่มี...วิมุตติญาณทัสนะ อันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้ นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กะพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความ บริบูรณ์ฉันใด

อวิปฏิสาร
ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่อ อวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่า มีเหตุ
อันบุคคลผู้มี วิปฏิสาร วิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติ
ขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้าที่ ๒๙๑


อุปนิสาสูตรที่ ๑


            [๒๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ) ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อความปราโมทย์ไม่มี...ปีติชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีความปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อปีติไม่มี.. ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อปัสสัทธิไม่มี.. สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อสุขไม่มี.. สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี..ยถาภูตญาณทัสนชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีสัมมาสมาธิวิบติขจัด เสียแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี... นิพพิทาชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อนิพพิทาไม่มี... วิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อวิราคะไม่มี...วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้ นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กะพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความ บริบูรณ์ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสาร ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี วิปฏิสาร วิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัด เสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปฏิสาร ของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล.. ย่อมเป็นธรรม มีเหตุสมบูรณ์
เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่.. ความปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรม มีเหตุสมบูรณ์
เมื่อความปราโมทย์มีอยู่.. ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความปราโมทย์ ย่อมเป็นธรรมมี เหตุสมบูรณ์
เมื่อปีติมีอยู่...ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปัสสัทธิมีอยู่.. สุขของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์
เมื่อสุขมีอยู่... สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่.. ยถาภูตญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ย่อม เป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่.. นิพพิทาของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์

 


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์