เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  นิพเพธิกสูตร สังกัปปะราคะคือกามของคนเรา 714
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

เธอทั้งหลายพึงทราบ
 กาม (๑) เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม
 เวทนา (๒) เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา
 สัญญา (๓) เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา
 อาสวะ (๔) เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ
 กรรม (๕) เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม
 ทุกข์ (๖) เหตุแห่งทุกข์ ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
     รูป ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักยั่วยวนชวนให้กำหนัด ..เสียง.. กลิ่น ..รส ..โผฏฐัพพ สิ่งเหล่านี้ไมใช่กาม แต่เรียกว่า กามคุณ ความกำหนัดไปตามอารมณ์นั้นๆ ชื่อว่า กาม อารมณ์อันวิจิตร ทั้งหลายในโลก ย่อมตั้ง อยู่ตามสภาพของตน เธอย่อมกำจัดความ พอใจในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
     เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน.. คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกามทั้งหลาย
     ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน.. คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ก็อย่างหนึ่ง
     วิบากแห่งกามเป็นไฉน.. บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจาก ความใคร่นั้นๆเป็นส่วนบุญ หรือ เป็นส่วนมิใช่บุญ
     ความดับแห่งกามเป็นไฉน.. คือความดับแห่งกามเพราะผัสสะดับ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๖๕ – ๓๖๙


๙. นิพเพธิกสูตร


             [๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่เป็นปริยาย เป็นไปในส่วนแห่ง การชำแรก กิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วน แห่งการชำแรกกิเลสนั้น เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบ กาม(๑) เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม

เธอทั้งหลายพึงทราบ เวทนา(๒) เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่ง เวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา

เธอทั้งหลายพึงทราบ สัญญา(๓) เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่ง สัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา

เธอทั้งหลายพึงทราบ อาสวะ(๔) เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่ง อาสวะ ความดับแห่งอาสวะปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ

เธอทั้งหลายพึงทราบ กรรม(๕) เหตุเกิดแห่งกรรมความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่ง กรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม

เธอทั้งหลายพึงทราบ ทุกข์ (๖) เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่าง แห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม นั้น เราอาศัยอะไร กล่าว

...........................................................................................................................................................


กาม (๑)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้คือ

รูป ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รักยั่วยวนชวนให้กำหนัด
..เสียง ที่พึงรู้แจ้งด้วยหู.. กลิ่น ที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก..รส ที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น..โผฏฐัพพะ ที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รักยั่วยวนชวนให้กำหนัด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่า กามคุณ ในวินัยของพระอริยะเจ้า ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิต นี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถ แห่งความดำริของบุรุษชื่อว่า กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยสามารถ แห่งความดำริของบุรุษชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตร ทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน ส่วนว่าธีรชนทั้งหลาย ย่อมกำจัดความ พอใจในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกามทั้งหลาย
ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็น อย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่งกามในโผฏฐัพพะ เป็นอย่างหนึ่งนี้ เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม
วิบากแห่งกามเป็นไฉน คือการที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจาก ความใคร่นั้นๆให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญ หรือ เป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกาม
ความดับแห่งกามเป็นไฉน คือความดับแห่งกามเพราะผัสสะดับ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกามเหตุเกิดแห่งกาม ความต่าง แห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกาม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึง ความดับ แห่งกาม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

...........................................................................................................................................................

เวทนา (๒)

             ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึง ความดับ แห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา
ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นไฉน คือสุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนา ที่เจือ ด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วย อามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วย อามิสมีอยู่ นี้เรียกว่าความต่างแห่งเวทนา
วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้น จากเวทนานั้นๆให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญนี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา
ก็ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับ แห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นข้อ ปฏิบัติ ที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวก ย่อมทราบชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความ ดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับ เวทนานี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ


...........................................................................................................................................................

สัญญา (๓)

             ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับ แห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา

เหตุเกิดแห่งสัญญาเป็นไฉน คือผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา
ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน คือสัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่นเป็นอย่าง หนึ่ง สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะ เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในธรรมารมณ์เป็น อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างแห่งสัญญา
ก็วิบากแห่งสัญญาเป็นไฉน คือเราย่อมกล่าวสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล(เพราะว่า) บุคคลย่อมรู้สึก โดยประการใดๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆ ว่า เราเป็นผู้มีความรู้สึก อย่างนั้น นี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา
ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งสัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับ แห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แลคือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทา ที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญาความ ต่างแห่ง สัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง สัญญาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไป ในส่วนแห่ง การชำแรกกิเลส ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

...........................................................................................................................................................


อาสวะ (๔)

             ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับ แห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ก็เหตุเกิดแห่งอาสวะเป็นไฉน
คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ
ก็ความต่างแห่งอาสวะเป็นไฉน คืออาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี ที่เป็นเหตุให้ ไปสู่กำเนิด สัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่เปรตวิสัยก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษย์ โลกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไป สู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ
ก็วิบากแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ การที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจาก อวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า วิบากแห่งอาสวะ
ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน คือความดับแห่งอาสวะ ย่อมเกิดเพราะความดับแห่ง อวิชชา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะปฏิปทา ที่ให้ถึงความดับ แห่งอาสวะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด  พรหมจรรย์อันเป็นไป ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวฯ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้นเราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรมบุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

...........................................................................................................................................................


กรรม (๕)

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มีที่ให้วิบาก ในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลก ก็มีที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ
กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรมเป็นไฉนคือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่ง ผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่าง แห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นอริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไปในส่วนแห่งความ ชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง ทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ แห่งกรรมดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

...........................................................................................................................................................


ทุกข์ (๖)

             ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่าง แห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ แห่งทุกข์ ดังนี้นั้นเราอาศัยอะไรกล่าว แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้พยาธิ ก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
ก็ความต่าง
แห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์
ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉนคือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ มีจิตอันทุกข์ อย่างใด กลุ้มรุม ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความ หลง ก็หรือบางคน ถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใด กลุ้มรุมแล้ว ย่อมแสวงหา เหตุปลดเปลื้องทุกข์ ในภายนอก ว่าใครจะรู้ทางเดียว หรือ สองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ว่ามีความหลงใหลเป็นผล หรือว่ามีการแสวงหาเหตุ ปลดเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์
ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ความดับแห่งทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับ แห่งตัณหา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่าง แห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์อย่างนี้
ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิด แห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึง ความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรก กิเลส

จบสูตรที่ ๙

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์