เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อาเนญชสัปปายสูตร กาม ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า 715
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

กาม ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และ กามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒  อย่าง นี้ เป็นบ่วงแห่งมาร  เป็นแดนแห่ง มาร เป็นเหยื่อแห่งมาร  เป็นที่หากินของมารในกามนี้  ย่อมมี อกุศล ลามก เหล่านี้ เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไปกามนั่นเองย่อมเกิด เพื่อเป็น อันตรายแก่ อริยสาวก ผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ 

เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส ในอายตนะ เมื่อมี ความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจ ไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน  เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณ อันจะเป็น ไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพ หาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะ ที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๑

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้า ๕๗

อาเนญชสัปปายสูตร 

          [๘๐]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมชื่อ กัมมาสธรรม  ของชาวกุรุในแคว้นกุรุ สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสแล้ว ฯ

          [๘๑]  พระมีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  กามไม่เที่ยง  เป็นของว่างเปล่า  เลือนหายไปเป็นธรรมดา  ลักษณะของกามดังนี้  ได้ทำความ ล่อลวง เป็นที่บ่นถึงของคนพาล  กามทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และ กามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้าทั้ง  ๒  อย่างนี้  เป็นบ่วงแห่งมาร  เป็นแดนแห่ง  มาร  เป็นเหยื่อแห่งมาร  เป็นที่หากินของมารในกามนี้  ย่อมมี อกุศลลามก เหล่านี้ เกิดที่ใจคือ  อภิชฌาบ้าง  พยาบาทบ้าง  สารัมภะบ้าง  เป็นไปกามนั่นเอง  ย่อม  เกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวก ผู้ตามศึกษา อยู่ในธรรมวินัยนี้ ฯ

          [๘๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้น  ดังนี้ว่า  กามทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และ กามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีใน ภพหน้า  ทั้ง  ๒  อย่างนี้เป็นบ่วงแห่งมาร  เป็นแดนแห่งมาร  เป็นเหยื่อ แห่งมาร  เป็นที่หากินของมาร  ในกามนี้  ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจ คืออภิชฌาบ้าง  พยาบาทบ้าง  สารัมภะบ้าง  เป็นไป  กามนั่นเอง ย่อมเกิดเพื่อเป็น อันตราย แก่อริยสาวก ผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้  ไฉนหนอ 

          เราพึงมีจิตเป็น มหัคคตะ อย่างไพบูลย์  อธิษฐานใจครอบโลกอยู่  เพราะเมื่อเรามีจิตเป็น มหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่  อกุศลลามกเกิดที่ใจ  ได้แก่อภิชฌาบ้าง  พยาบาทบ้าง  สารัมภะบ้างนั้นจักไม่มี  เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้ จิตของเราที่ไม่เล็กน้อยนั่นแหละ  จักกลายเป็นจิตหา ประมาณมิได้  อันเราอบรม  ดีแล้ว 

          เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้  เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่  จิตย่อม ผ่องใส ในอายตนะ  เมื่อมีความผ่องใส  ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ  หรือจะ น้อมใจ  ไปในปัญญาได้  ในปัจจุบัน  เมื่อตายไป  ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไป ในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่ ๑

          [๘๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  อริยสาวกพิจารณาเห็น  ดังนี้ ซึ่งกาม ทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีใน ภพหน้า  ซึ่งรูปบางชนิด และรูปทั้งหมด  คือ  มหาภูต  ๔  และรูปอาศัยมหาภูต  ทั้ง  ๔  เมื่อ อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ด้วยประการนี้  เป็นผู้มากด้วยปฏิปทา  นั้นอยู่  จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ 

          เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึง อาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน  เมื่อตายไป  ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไป  ในภพนั้นๆ  พึงเป็นวิญญาณ เข้าถึงสภาพ หาความหวั่นไหวมิได้  นั่นเป็นฐานะที่  มิได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่า  ปฏิปทามี อาเนญชสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่ ๒ ฯ

          [๘๔]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า  กามทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้าและกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  รูปทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า  ทั้ง  ๒  อย่างนี้  เป็นของไม่เที่ยง  สิ่งใดไม่เที่ยง  สิ่งนั้นไม่ควร ยินดี  ไม่ควรบ่นถึง  ไม่ควรติดใจ 

          เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้  เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่  จิตย่อม ผ่องใส ในอายตนะ  เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ  หรือจะน้อมใจ ไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน  เมื่อตายไป  ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ  พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่าปฏิปทามี อาเนญชสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่ ๓ 

          [๘๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า  กามทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า  รูปทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า  และอาเนญชสัญญา  สัญญาทั้งหมดนี้  ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั้นคือ อากิญจัญญายตนะ  อันดี  ประณีตเมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้  เป็นผู้  มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่  จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ 

          เมื่อมีความผ่องใส  ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ  หรือจะน้อมใจไป ใน ปัญญาได้ ในปัจจุบัน เมื่อตายไป  ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ  พึงเป็น วิญญาณ เข้าถึง ภพอากิญจัญญายตนะ  นั่น เป็นฐานะที่มีได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามี อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่ ๑ 

          [๘๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  อริยสาวกอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่ โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า  สิ่งนี้ว่างเปล่าจากตน หรือ จากความเป็น ของตน เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทา นั้นอยู่  จิตย่อมผ่องใส ในอายตนะเมื่อมีความผ่องใส  ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ  หรือจะน้อมใจไปใน ปัญญาได้ในปัจจุบัน  เมื่อตายไป  ข้อที่วิญญาณ  อันจะเป็นไป ในภพนั้นๆ  พึงเป็น วิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามี อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่ ๒

          [๘๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า  เราไม่มีในที่ไหนๆ  สิ่งน้อยหนึ่งของใครๆ  หามีในเรานั้นไม่  และ สิ่งน้อยหนึ่ง ของเรา ก็หามีในที่ไหนๆ  ไม่  ในใครๆ  ย่อมไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้ว อย่างนี้  เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่  จิตย่อมผ่องใสใน อายตนะ  เมื่อมีความผ่องใส  ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ  หรือจะน้อมใจไป ในปัญญาได้ในปัจจุบัน  เมื่อตายไป  ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพ อากิญจัญญายตนะ  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้ เราเรียกว่า  ปฏิปทามี อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่ ๓

          [๘๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า  กามทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญา  ทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพนี้  รูปทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และ อาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้  ย่อมดับไม่มีเหลือ ในที่ใด  ที่นั่นคือเนวสัญญานาสัญญายตนะอันดีประณีต 

          เมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้ว อย่างนี้  เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือจะน้อมใจ ไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน  เมื่อตายไป  ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไป ในภพนั้นๆ พึงเป็น วิญญาณเข้าถึงภพเนวสัญญานาสัญญายตนะ  นั่นเป็นฐานะ ที่มีได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามี เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติ เป็นที่สบาย

          [๘๙]  เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้  ท่านพระอานนท์ได้ทูลพระผู้มี พระภาค ดังนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้  ย่อมได้ อุเบกขา โดยเฉพาะด้วยคิดว่า  สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา  และ  จักไม่มีแก่เรา  เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่  และมีมาแล้วนั้นๆ  เสีย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนั้นพึง ปรินิพพานหรือหนอ  หรือว่าไม่พึงปรินิพพานฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรอานนท์  ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพ  นี้ก็มี  บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี 

          อา.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  อะไรหนอแล  เป็นเหตุ  เป็นปัจจัยให้ภิกษุบางรูป ปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี  บางรูปไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี

          [๙๐]  พ.  ดูกรอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้  ย่อมได้ อุเบกขา โดยเฉพาะด้วยคิดว่า  สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา  และจักไม่มีแก่เรา เราจะละ สิ่งที่กำลัง มีอยู่  และมีมาแล้วนั้นๆเสีย  เธอยินดี  บ่นถึง  ติดใจอุเบกขานั้นอยู่  เมื่อเธอยินดี  บ่นถึง  ติดใจอุเบกขานั้นอยู่  วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น  ยึดมั่นอุเบกขานั้น ดูกรอานนท์  ภิกษุผู้มีความยึดมั่นอยู่  ย่อมปรินิพพานไม่ได้

          อา.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา  จะเข้าถือเอาที่ไหน

          พ.  ดูกรอานนท์  ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ 

          อา.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์ขอทราบว่า  ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา  ชื่อว่า ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาหรือ 

          พ.  ดูกรอานนท์  ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา  ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุด ที่ควรเข้าถือเอาได้  ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้  คือ  เนวสัญญา  นาสัญญายตนะ 

          [๙๑]  ดูกรอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้  ย่อมได้ อุเบกขา โดยเฉพาะด้วยคิดว่า  สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา  และจักไม่มีแก่เรา  เราจะละ สิ่งที่ กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ  เสีย  เธอไม่ยินดี  ไม่บ่นถึง  ไม่ติดใจ  อุเบกขานั้น อยู่  เมื่อเธอไม่ยินดีไม่บ่นถึง  ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่  วิญญาณ ก็ไม่เป็นอันอาศัย อุเบกขานั้น  และไม่ยึดมั่นอุเบกขานั้น 

ดูกรอานนท์  ภิกษุผู้ไม่มีความยึดมั่น  ย่อมปรินิพพานได้      

          อา.  น่าอัศจรรย์จริง  พระพุทธเจ้าข้า  ไม่น่าเป็นไปได้  พระพุทธเจ้าข้า  อาศัยเหตุนี้เป็นอันว่า  พระผู้มีพระภาคตรัสบอกปฏิปทา เครื่องข้ามพ้นโอฆะ แก่พวกข้าพระองค์แล้ว  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน

          [๙๒]  พ.  ดูกรอานนท์  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้  ซึ่งกาม ทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีใน ภพหน้า  ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า ซึ่ง อาเนญชสัญญา ซึ่ง อากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา  ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้  ซึ่งอมตะ คือความ หลุดพ้น แห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น 

          ดูกรอานนท์  ด้วยประการนี้แล  เราแสดงปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติ เป็นที่สบายแล้ว  เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว เรา  แสดงปฏิปทา มีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นที่สบายแล้ว  อาศัยเหตุนี้ เป็นอันเราแสดง ปฏิปทา เครื่องข้ามพ้นโอฆะ  คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว 

          ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์  อาศัยความอนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ 

          ดูกรอานนท์  นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง  เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน  อย่าประมาท  อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง  นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ 

          พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอานนท์  ชื่นชมยินดี  พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์