พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๔
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๖๘- ๓๘๐
๗. สฬายตนวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ
{๖๑๗}[๓๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้วพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง สฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
{๖๑๘} ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบ
อายตนะภายใน ๖
อายตนะภายนอก ๖
หมวดวิญญาณ ๖
หมวดผัสสะ ๖
มโนปวิจาร๑ ๑๘
สัตตบท๒ ๓๖
ในธรรมเหล่านั้นเธอทั้งหลาย อาศัยธรรมนี้แล้ว จงละธรรมนี้เสีย และพึงทราบ สติปัฏฐาน ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพอยู่ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ พระอริยศาสดานั้น อันเราเรียกว่าเป็น สารถี ผู้สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยม กว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุทเทสแห่งสฬายตนวิภังค์
{๖๑๙}[๓๐๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า พึงทราบอายตนะ ภายใน ๖ เพราะอาศัยเหตุ อะไรเราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น คือ
๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา) (จักขุ+อายตนะ)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)๑
คำที่เรากล่าวไว้ว่า‘พึงทราบอายตนะภายใน๖’นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้เราจึงกล่าวไว้ (๑)
๑ มโนปวิจาร แปลว่า ความนึกหน่วงทางใจ หมายถึงวิตกและวิจาร (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๔/๑๘๙)
๒ สัตตบท แปลว่า ทางดำเนินไปของสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยวัฏฏะและวิวัฏฏะ
ในที่นี้แบ่งออกเป็น ๒ คือ
(๑) วัฏฏบท ทางดำเนินไปสู่วัฏฏะ ๑๘ ทาง (๒) วิวัฏฏบท ทางดำเนินไปสู่วิวัฏฏะ ๑๘ ทาง รวมวัฏฏบทกับวิวัฏฏบทเข้าด้วยกัน เรียกว่า สัตตบท ๓๖ ประการ (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๔/๑๘๙)
{๖๒๐} เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า พึงทราบอายตนะ ภายนอก ๖ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) (รูป+อายตนะ)
๒. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
๓. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
๔. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
๕. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือสัมผัส)
๖. ธัมมายตนะ (อายตนะคือธรรมารมณ์)
คำที่เรากล่าวไว้ว่าพึงทราบอายตนะภายนอก๖ นั่นเพราะอาศัยเหตุนี้เราจึงกล่าวไว้ (๒)
{๖๒๑} เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า พึงทราบหมวด วิญญาณ ๖ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้เราจึงกล่าวไว้ (๓)
๑ ดูเทียบ ม.มู.(แปล) ๑๒/๙๙/๙๔
{๖๒๒} เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า พึงทราบหมวด ผัสสะ ๖ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น คือ
๑. จักขุสัมผัส (สัมผัสทางตา)
๒. โสตสัมผัส (สัมผัสทางหู)
๓. ฆานสัมผัส (สัมผัสทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัส (สัมผัสทางลิ้น)
๕. กายสัมผัส (สัมผัสทางกาย)
๖. มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้เราจึงกล่าวไว้ (๔)
{๖๒๓} เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า พึงทราบ มโนปวิจาร ๑๘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว
ย่อมนึกหน่วงรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (รูปน่ารัก น่าใคร่ น่าปราถนา)
ย่อมนึกหน่วงรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (รูปไม่น่ารัก)
ย่อมนึกหน่วงรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมนึกหน่วง ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขาไว้ ความนึกหน่วงฝ่าย โสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖ ย่อมมีด้วย ประการฉะนี้ คำที่เรากล่าวไว้ว่า พึงทราบมโนปวิจาร ๑๘ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ (๕)
(มโนปวิจาร มโน..ก็คือใจ.. ป แปลว่าทั่วถึง จาร.. แปลว่าไตร่ตรอง (วิจารณ์แปลว่าแล่นไป) นั่นคือมโนแล่นไปในผืนนา แล้วเจริญงอมงามไพบูลย์ ใตร่ตรองในผืนนาอย่างทั่วถึง เหมือนเวลา หลุดไปคิด เราก็จะคิดต่อ เริ่มเกิดเป็นชาติ หรือเกิดสัญโญฆะ ผูกติดกับอารมณ์หรือการใตรตรอง พิจารณาอย่างทั่วถึงในผืนนา ถอดคำพูดจากการสาธยายธรรม โดย พอจ.คึกฤทธิ์ อาทิตย์ 6 ตค.62
{๖๒๔}[๓๐๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า พึงทราบสัตตบท ๓๖ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง กล่าวไว้ เช่นนั้น คือ โสมนัสอาศัยเรือน๑ ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ๒ ๖โทมนัสอาศัย เรือน ๖ โทมนัสอาศัย เนกขัมมะ ๖ เบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖
(สัตตบท คือทางไปของสัตว์ 36ทาง)
๑ โสมนัสอาศัยเรือน หมายถึงโสมนัสอาศัยกามคุณ (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๖/๑๙๐)
๒ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ หมายถึงโสมนัสอาศัยวิปัสสนา (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๖/๑๙๐)
{๖๒๕} ในสัตตบท ๓๖ นั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูป ที่พึงรู้แจ้ง ทางตา ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รักประกอบด้วยโลกามิส(ยังอิงกับทางโลก) โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึก(ได้) ถึงรูปที่ตนเคยได้มาก่อน อันล่วงลับดับ แปรผันไปแล้วโสมนัส เช่นนี้ เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
๒. สมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะ ซึ่งเสียงที่พึงรู้แจ้ง ทางหู ...
๓. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เห็นการได้เฉพาะ ซึ่งกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
๔. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะ ซึ่งรสที่พึงรู้แจ้ง ทางลิ้น
๕. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะ ซึ่งโผฏฐัพพะที่พึง รู้แจ้งทางกาย
๖. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะ ซึ่งธรรมารมณ์ ที่พึง รู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจชวนให้รัก ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของ อันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ตนเคยได้มาก่อน อันล่วงลับดับแปรผัน ไปแล้ว โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือนโสมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการนี้
{๖๒๖} ในสัตตบท ๓๖ นั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแล ไม่เที่ยงเห็น ความแปรผัน ความคลายกำหนัด(น่าจะกำลังจางคลายมากกว่า) และความดับนั่น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบ๑ อย่างนี้ว่า รูปในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็น ธรรมดา
๒. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่เสียงทั้งหลายนั่นแล
๓. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล
๔. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รสทั้งหลายนั่นแล
๕. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่โผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล
๖. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ทราบความที่ธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล ไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความเป็นจริง ด้วย ปัญญาอันชอบ๑ อย่างนี้ว่า ‘ธรรมารมณ์ ในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ โสมนัสเช่นนี้ เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ โสมนัสอาศัย เนกขัมมะ ๖ ประการนี้ (เป็นบุคคลผู้เคยสดับ ใช้ปัญญาพิจารณา)
๑ ปัญญาอันชอบ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๖/๑๙๐)
{๖๒๗}[๓๐๗] ในสัตตบท ๓๖ นั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูป ที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ประกอบด้วย โลกามิส โดยความเป็นของอันตน ไม่ได้เฉพาะ หรือ หวนระลึกถึงรูป ที่ตนไม่เคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับแปรผันไปแล้ว โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
๒. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ที่พึงรู้แจ้ง ทางหู
๓. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ที่พึงรู้แจ้ง ทางจมูก
๔. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ที่พึงรู้แจ้ง ทางลิ้น
๕. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ที่พึงรู้แจ้ง ทางกาย
๖. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะ ซึ่งธรรมารมณ์ที่พึง รู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รักประกอบด้วยโลกามิส โดยความเป็น ของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ ที่ตนไม่เคยได้มาก่อนอันล่วงลับดับ แปรผันไปแล้ว โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือนโทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการนี้
{๖๒๘} ในสัตตบท ๓๖ นั้น โทมนัสอาศัย เนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โทมนัสย่อมเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแล ไม่เที่ยงเห็น ความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อน และในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน เป็นธรรมดา’ แล้วตั้งความปรารถนาใน อนุตตรวิโมกข์๑ ว่า ‘ในกาลไรเราจักบรรลุ อายตนะ๒ ที่พระอริยะทั้งหลาย ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้’ เพราะความปรารถนาเป็น ปัจจัย โทมนัสจึงเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้ตั้งความปรารถนา ในอนุตตรวิโมกข์ด้วยประการ ฉะนี้ โทมนัสเช่นนี้ เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
๑ อนุตตรวิโมกข์ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล คือ การตั้งความปรารถนาในอรหัตตผล (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๗/๑๙๑) ๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๖๖ (อาเนญชสัปปายสูตร) หน้า ๗๓ ในเล่มนี้
๒. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบ ความที่เสียงทั้งหลายนั่นแล ...
๓. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบ ความที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
๔. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบ ความที่รสทั้งหลายนั่นแล ...
๕. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบ ความที่โผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล...
๖. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบ ความที่ธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล ไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่น ตามความเป็นจริงด้วย ปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า ‘ธรรมารมณ์ ในกาลก่อน และในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ แล้วตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ว่า ‘ในกาลไร
เราจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้’ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสจึง เกิดขึ้นแก่เขาผู้ตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ด้วยประการฉะนั้น โทมนัส เช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัส อาศัยเนกขัมมะ
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการนี้
{๖๒๙}[๓๐๘] ในสัตตบท ๓๖ นั้น อุเบกขาอาศัยเรือน๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะเห็นรูปทางตา อุเบกขา๒ จึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชน ผู้โง่เขลา งมงายผู้ยัง ไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับเป็นคนกิเลสหนา อุเบกขาเช่นนี้ยัง ล่วงพ้นรูป ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
๒. เพราะฟังเสียงทางหู ...
๓. เพราะดมกลิ่นทางจมูก ...
๔. เพราะลิ้มรสทางลิ้น ...
๕. เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย...
๖. เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ อุเบกขาจึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชน ผู้โง่เขลางมงาย ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบากผู้ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับเป็นคนกิเลสหนา อุเบกขาเช่นนั้น
ยังล่วงพ้นธรรมารมณ์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเรือน อุเบกขาอาศัย เรือน ๖ ประการนี้
๑ อุเบกขาอาศัยเรือน ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่ไม่ล่วงพ้นรูปารมณ์เป็นต้น ในเมื่ออารมณ์ที่น่า ปรารถนาไปสู่คลอง ในทวารทั้ง ๖ ก็ยังคงติดอยู่ในรูปารมณ์เป็นต้นนั้นดุจแมลงจับที่งบน้ำอ้อย ติดอยู่ (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๘/๑๙๑-๙๒)
๒ อุเบกขา ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาในอัญญาณ (ความไม่รู้) (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๘/๑๙๑)
{๖๓๐} ในสัตตบท ๓๖ นั้น อุเบกขาอาศัย เนกขัมมะ๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแล ไม่เที่ยงเห็น ความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน เป็นธรรมดา’ อุเบกขาเช่นนี้นั้นย่อมล่วงพ้นรูปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัย เนกขัมมะ
๒. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความ ที่เสียงทั้งหลายนั่นแล ...
๓. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความ ที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
๔. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความ ที่รสทั้งหลายนั่นแล ...
๕. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความ ที่โผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
๖. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ทราบความ ที่ธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล ไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบ
อย่างนี้ว่า‘ ธรรมารมณ์ ในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็น
๑ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ เกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ไม่ยินดี ยินร้ายในอารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ผู้ไม่ลุ่มหลงในเพราะการไม่พิจารณา ในเมื่ออารมณ์ ที่น่าปรารถนาเป็นต้นไปสู่คลองในทวารทั้ง ๖ (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๘/๑๙๒)
ทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ อุเบกขาเช่นนี้นั้นย่อมล่วงพ้นธรรมารมณ์ได้ เพราะฉะนั้น เราจึง เรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะอุเบกขา อาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการนี้ คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบสัตตบท ๓๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
{๖๓๑}[๓๐๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลาย อาศัยธรรมนี้แล้ว จงละ ธรรมนี้เสีย’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย (ดูผังประกอบ)
(1) ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายจงอาศัยพึ่งพิงโสมนัส อันอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น แล้ว จงละ จงก้าวล่วง โสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละก้าวล่วงโสมนัสเหล่านั้น มีได้ด้วยอาการอย่างนี้ (พระองค์ให้โสมนัสเนกขัมมะ๖ เพื่อละโสมนะที่อาศัยเรือน๖.. เอาเนกขัมมะ มาจัดการเรือน) จากผัง คือ 2 ละ 1
(2) ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงโทมนัส อันอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วง โทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วงโทมนัสเหล่านั้นมีได้ ด้วยอาการ อย่างนี้ จากผัง คือ 4 ละ 3
(3) ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขา อันอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วง อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วงอุเบกขาเหล่านั้นมีได้ ด้วยอาการ อย่างนี้ จากผัง คือ 6 ละ 5
(4) ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงโสมนัส อันอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วง โทมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วงโทมนัสเหล่านั้น มีได้ด้วย อาการอย่างนี้ จากผัง คือ 2 ละ 4
ภิกษุทั้งหลาย ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิง อุเบกขา อันอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง โสมนัส เหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ จากผัง คือ 6 ละ 2
...................................................................................................................................
{๖๓๒}[๓๑๐] ภิกษุทั้งหลาย
อุเบกขา ที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกัน ก็มี
อุเบกขา ที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกัน ก็มี
อุเบกขาที่มี ประเภทต่างกัน อาศัย อารมณ์ต่างกัน ก็มี เป็นอย่างไร
คือ อุเบกขาในรูปก็มี อุเบกขาในเสียงก็มี อุเบกขาในกลิ่นก็มี อุเบกขาในรสก็มี อุเบกขาใน โผฏฐัพพะก็มี
นี้จัดเป็นอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกัน
อุเบกขาที่เป็น ประเภทเดียวกัน อาศัย อารมณ์เดียวกัน เป็นอย่างไร
คือ
อุเบกขาที่อาศัย อากาสานัญจายตน(ฌาน)* ก็มี
อุเบกขาที่อาศัย วิญญาณัญจายตน(ฌาน)* ก็มี
อุเบกขาที่อาศัย อากิญจัญญายตน(ฌาน)* ก็มี
อุเบกขาที่อาศัย เนวสัญญานาสัญญายตน(ฌาน)* ก็มี นี้จัดเป็นอุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกัน
(* บาลี ไม่มีคำว่าฌาน)
ในอุเบกขา ๒ ประการนั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขา ที่เป็นประเภทเดียวกันอาศัย อารมณ์เดียวกัน แล้วจงละ จงก้าวล่วงอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกัน นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง อุเบกขานี้มีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิง อตัมมยตา๑ แล้วจงละ จงก้าวล่วงอุเบกขา ที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกันเสีย การละ การก้าวล่วงอุเบกขานี้มีได้ด้วย
อาการอย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ในสัตตบท ๓๖ นั้น ‘เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้แล้ว จงละธรรมนี้เสีย’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
๑ อตัมมยตา หมายถึง เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตา (พอจ.คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง)
{๖๓๓}[๓๑๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า พึงทราบ สติปัฏฐาน ๓ ที่พระอริยเสพซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็น ศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ* เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
*(เตือนภิกษุผู้ที่ออกไปเผยแผ่ศาสนาว่าจะต้องเจอบุคคล3 พวกนี้ และควรวางจิตอย่างไร)
๑ อตัมมยตา แปลว่า ความไม่มีตัณหา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาที่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจาก ความยึดมั่น คือตัณหานั้น (ม.อุ.อ. ๓/๓๑๐/๑๙๔)
{๖๓๔} ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาในโลกนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัย ความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่เธอ ทั้งหลายนี้เป็นไปเพื่อสุข แก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และ ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ในข้อนั้น ตถาคต ไม่มีใจยินดี ไม่ชื่นชม และไม่ถูก (โทสะ) รั่วรด มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๑ ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควร เพื่อสั่งสอนคณะ
{๖๓๕} อีกประการหนึ่ง ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความ เอ็นดู จึงแสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่เธอทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุข แก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น บางพวกไม่ฟัง ไม่เงี่ย โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา บางพวกฟังด้วยดี เงี่ยโสต สดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ในข้อนั้น ตถาคตก็ไม่มี ใจยินดี ไม่ชื่นชม ไม่มีใจยินดีก็มิใช่ ไม่ชื่นชม ก็มิใช่ เว้นความมีใจยินดี และความไม่มีใจ ยินดีทั้ง ๒ อย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๒ ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอน คณะ
{๖๓๖} อีกประการหนึ่ง ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความ เอ็นดู จึงแสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่เธอทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุข แก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสต สดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอน ของศาสดา ในข้อนั้นตถาคต มีใจยินดี ชื่นชม และไม่ถูก(ราคะ) รั่วรด* มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๓ ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดา ควรเพื่อสั่งสอน คณะ คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พระอริยะเสพธรรม คือ สติปัฏฐาน ๓ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
* (ไม่ถูกครอบงำ)
{๖๓๗}[๓๑๒] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พระอริยศาสดานั้นอันเราเรียกว่า เป็นสารถีผู้ สามารถฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึง กล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย
ช้างที่ควรฝึก อันควาญช้างบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
ม้าที่ควรฝึก อันคนฝึกม้าบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
โคที่ควรฝึก อันคนฝึกโคบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ ตลอดทิศทั้ง ๘ (วิโมก ๘) คือ (สามารถรบได้ทุกทิศ)
(1) ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้เป็นทิศที่ ๑
(2) ผู้มีสัญญาในอรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกได้ นี้เป็นทิศที่ ๒
(3) เป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้เป็นทิศที่ ๓
(4) เพราะ ก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ นี้เป็นทิศที่ ๔
(5) เพราะก้าวล่วง อากาสานัญจายตนฌาน ได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุวิญญา ณัญจายตนฌาน อยู่ด้วยใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็นทิศที่ ๕
(6) เพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนฌาน ได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากิญ จัญญา ยตนฌาน อยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีอะไรสักหน่อยหนึ่ง นี้เป็นทิศที่ ๖
(7) เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนฌานได้ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญา นาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๗
(8) เพราะก้าวล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึกอันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้วิ่งย่อมวิ่งไปได้ ตลอดทิศทั้ง ๘ นี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า พระอริยศาสดานั้น อันเราเรียกว่า เป็นสารถี ผู้สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึก ได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลายนั่น เพราะอาศัย เหตุนี้เราจึงกล่าวไว้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มี พระภาค ดังนี้แล
สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗ จบ |