เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ติตถสูตร ธรรมที่ไม่อาจถูกติเตียน ผัสสายตนะ ๖ ... มโนปวิจาร ๑๘ ... อริยสัจ ๔ ...ธาตุ ๖ 696
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ติตถสูตร
ทิฏฐิของเดียรถีย์

๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เข้าใจว่า สุข ทุกข์ หรือ อทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ล้วนแต่มีกรรม ที่ได้ทำไว้ แต่ก่อนเป็นเหตุ (ตนเองเป็นผู้กระทำ)
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เข้าใจว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ล้วนแต่มีการสร้าง สรร ของอิสรชนเป็นเหตุ (ผู้อื่นเป็นผู้กระทำ)
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เข้าใจว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ล้วนแต่หาเหตุ หาปัจจัยมิได้ (เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีสาเหตุ)

ทิฏฐิทั้ง ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคปฏิเสธทั้งหมด ด้วยเหตุว่า
เป็นทิฏฐิ ที่ปิดกั้นความเร็จในกิจที่ควรทำ หรือการประพฤติธรรมของผู้ลืมหลง
..............................................................

ธรรมที่ไม่มีใครติเตียนได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า ธาตุหก คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ธรรมที่เราแสดงว่า ผัสสายตนะ ๖ ... มโนปวิจาร ๑๘ ... อริยสัจ ๔ ...ธาตุ ๖
คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้ว เช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น


 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๗ – ๑๗๐

ติตถสูตร


             [๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างลัทธิสืบๆ มา ตั้งอยู่ใน อกิริยทิฐิ ๓ อย่าง

ทิฐิ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนีว่า สุข  ทุกข์ หรือ อทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้ แต่ก่อน เป็นเหตุ

๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีการสร้างสรรของ อิสรชนเป็นเหตุ

๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนมีแต่กรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อน เป็นเหตุเราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วถาม อย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรือ อทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้ แต่ก่อนเป็นเหตุจริงหรือ

ถ้าสมณพราหมณ์พวกนั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขา ว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ (ทำไว้ในอดีต) ท่านทั้งหลายจักต้อง ฆ่าสัตว์ จักต้อง ลักทรัพย์ จักต้องประพฤติกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จักต้องพูด เท็จ จักต้องพูดคำ ส่อเสียด จักต้องพูดคำหยาบ จักต้องพูดคำเพ้อเจ้อ จักต้องมากไป ด้วยอภิชฌา จักต้องมีจิตพยาบาท จักต้องมีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อ บุคคลยึดถือกรรม ที่ได้ทำไว้แต่ก่อน โดยความเป็น แก่นสาร ความพอใจหรือความ พยายามว่า กิจนี้ควรทำ หรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้ กรณียกิจ และอกรณียกิจ โดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตัว ย่อมจะสำเร็จไม่ได้ แก่ผู้มีสติ ฟั่นเฟือน ไร้เครื่องป้องกัน(ผู้ลืมหลง)
(ทิฐิเช่นนี้เท่ากับปิดกั้นความเร็จในกิจที่ควรทำ หรือการประพฤติธรรมของผู้ลืมหลง)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์ พวกนั้น ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ อย่างนี้แลเป็นข้อแรก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
(๒)
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีการสร้างสรรของอิสรชน เป็นเหตุ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์ พวกนั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ท่านทั้งหลาย มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรือ อทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคล เสวยนั้น ล้วนแต่มีการสร้างสรรของอิสรชน เป็นเหตุ จริงหรือ

ถ้าสมณพราหมณ์นั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะการ สร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ(จากผู้อื่นกระทำ) ท่านทั้งหลาย จักต้องฆ่าสัตว์ ฯลฯ จักต้องมีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดถือการ สร้างสรรของ อิสรชน ไว้ โดยความเป็นแก่นสาร ความพอใจ หรือความพยายาม ว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ ไม่ควรทำ ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ และ อกรณียกิจ โดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตน ย่อมจะสำเร็จไม่ได้ แก่ผู้มีสติ ฟั่นเฟือน ไร้เครื่องป้องกัน (ผู้ลืมหลง)
(ทิฐิเช่นนี้เท่ากับปิดกั้นความเร็จในกิจที่ควรทำ หรือการประพฤติธรรมของผู้ลืมหลง)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์ พวกนั้น ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ อย่างนี้แลเป็นข้อที่ ๒
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
(๓)
             ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่ หาเหตุหาปัจจัยมิได้ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านทั้งหลาย มีวาทะอย่างนี้มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้ จริงหรือ

ถ้าสมณพราหมณ์พวกนั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะหาเหตุหาปัจจัยมิได้ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ ฯลฯ จักต้องมี ความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดถือความไม่มีเหตุไว้ โดยความเป็น แก่นสาร ความพอใจ หรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ ย่อม จะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ และ อกรณียกิจ โดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณวาทะ ที่ชอบธรรม เฉพาะตน ย่อมจะสำเร็จไม่ได้ แก่ผู้ที่มีสติฟั่นเฟือน ไร้เครื่อง ป้องกัน (ผู้ลืมหลง)
(ทิฐิเช่นนี้เท่ากับปิดกั้นความเร็จในกิจที่ควรทำ หรือการประพฤติธรรมของลืมหลง)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์ พวกนั้น ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ อย่างนี้แลเป็นข้อที่ ๓

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
             ดูกรภิกษุทั้งหลายลัทธิเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้แล ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เรียง เข้า ย่อมอ้างถึง ลัทธิสืบๆมา ตั้งอยู่ใน อกิริยทิฐิ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนธรรมที่เราแสดงไว้นี้ แลคนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ก็ธรรมที่เราแสดงไว้แล้ว คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ เป็นไฉน


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า ธาตุหก คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ธรรมที่เราแสดงว่า
       ผัสสายตนะ ๖
...
       มโนปวิจาร ๑๘
...
       อริยสัจ ๔
...
       ธาตุ ๖

คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เรา ได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๖ เหล่านี้คือ ปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่าธาตุ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมองไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน ---โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ ดังนั้น ก็คำว่าธรรม ที่เราแสดงไว้ว่า ผัสสายตนะ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ ดังนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ อายตนะเป็นเหตุแห่งผัสสะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า ผัสสายตนะ ๖ คนอื่น ข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูก คัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ก็คำว่า ธรรมที่เราแสดง ไว้ ว่า มโนปวิจาร ๑๘ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน โดย สมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นรูปด้วยตาแล้ว
ย่อมเข้าไปไตร่ตรองรูป อันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส
เข้าไปไตร่ตรองรูป อันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส
เข้าไปไตร่ตรองรูป อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา

ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
เข้าไปไตร่ตรองธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส 
เพราะอาศัย คำที่เราได้กล่าวไว้ว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า มโนปวิจาร ๑๘ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ก็คำว่า

แจกแจง มโนปวิจาร ๑๘ (ความนึกหน่วงของใจ)
  อายตนะ๖ อายตนะภายนอก-ภายใน
กระทบกัน..เกิดความรู้สึก
รวม
เกิดอาการ
ตา โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
หู โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
จมูก โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
ลิ้น โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
กาย โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
ใจ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
      รวม ๑๘ อาการ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะถือมั่น ธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เราบัญญัติ ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับ ทุกข์ แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์  โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ
เพราะอวิชชา เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ  อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการ อย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำ ที่เราได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เรา แสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัว หมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้นเราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ฯ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์